You just deeply listen, then you will find the joy. Don't think, only accept as it be enough.
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
Medicine in Buddhism
Medical Theories in Buddhism
Nowaday, people suffer from diseases throughout the world. They have to heal through medicines given by various doctors in the hospitals. This is very dangerous for life in which we don't know how to handle and cure. All Diseases are natural, just knowing subducing and handling them in proper way, they automatically go at the right time, sometime doing nothing, just sitting quietly only.
According to Chinese medicine, diseases are caused by seven internal and six external elements. The internal elements are extreme levels of happiness, anger, anxiety, a ruminating mind, sadness, fear, and shock. The external elements are coldness, summer-heat, dryness, heat, dampness, and wind. The seven internal elements, also referred to as emotions, are believed to cause illness because they directly impair the healthy functioning of the five main organs of human beings. Extreme levels of either happiness or fear damage the heart, anger harms the liver, anxiety harms the lungs, a ruminating mind affects the spleen, and shock hurts the kidneys. According to Chinese medicine, a healthy and balanced emotional life is essential in maintaining one’s physical health.
Various Buddhist sutras describe the causes of disease in a similar manner. For example, The Sutra of Buddha’s Diagnosis mentions that there are ten causes and conditions of sickness. These reasons are: 1) sitting for too long a period without moving, 2) eating too much, 3) sadness, 4) fatigue, 5) excessive sexual desire, 6) anger, 7) postponing excrement, 8) postponing urination, 9) holding the breath, and 10) suppressing gas. Approaching the causes of disease from a slightly different angle, The Discourse of Great Equanimity and Insightful Meditation points out six origins for disease. They are described as: 1) an imbalance of the four elements (earth, water, fire, and wind), 2) irregular dietary habits, 3) incorrect meditation methods, 4) disturbances by spirits, 5) demon possession, and 6) the force of bad karma.
Illness that originates from most of these origins can be cured if people improve their diet, become more aware of their bodies’ natural processes, and get plenty of rest. However, the last three causes 4) – 6) are related to karma, and one must work on improving his/her character and purifying his/her mind in order to be cured. A person afflicted for the last three reasons needs to spend time in spiritual practice, repentance, and doing good deeds. Only then will his/her illness begin to go away. The Mahaprajnaparamita Sastra states that illness is caused either by internal or external causes and conditions. Still, Visuddhimagga mentions additional causes of disease, but they are too numerous to list here. All of the theories on the various causes of illness can be grouped into two main categories: A) the imbalance of the four elements and B) the presence of three poisons of greed, anger, and ignorance.
The Buddha truly deserved to be regarded as the grand patriarch of Buddhist medicine. He was capable of curing diseases not only of the body but also of the mind, which were his specialty. Today, when a patient seeks a physician’s care for a physical ailment, the physician typically only pays attention to the painful symptoms in the body, ignoring both the causes and the suffering in the mind. By not investigating and discovering the true roots of the disease, they only accomplish a fraction of real healing. They do very little to heal the patients’ unhappiness, for they do not recognize and understand the true cause of the human life cycle of birth, aging, illness, and death. They do not take into account that karma and mental constructs have something to do with the origins of illness.
The Buddha’s realization of what induces the perpetual cycle of rebirth and the stages of aging, illness, and death, enabled him to guide others to live with ultimate physical and mental health. The Buddha eliminated disease by going to the heart of the cause and drawing upon his knowledge of the proper remedy. In Anguttara-nikaya, the Buddha explained that an imbalance of chi3, an overabundance of phlegm, and an increase or decrease in the body’s temperature could be treated with clarified butter, honey, and oil-based food respectively.
Regarding mental health, greed, anger, and ignorance are understood as the three gravest psychological diseases. The Buddha taught that greed could be cured by the contemplation of impurity, anger by the contemplation and practice of kindness, and ignorance by the contemplation of the true nature of all things and the cultivation of wisdom. These are the medications that the Buddha encouraged everyone to use in order to heal the diseases of both body and mind.
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554
ความเบิกบานอยู่ในเพลง
คีตทำนองนั้นทำให้ใจชุ่มชื่น
เพราะเพลงได้บดบังความทุกข์ใดๆ ให้หยุดอยู่
ทำให้จิตเข้าถึงภาวะเบิกบานได้ขณะหนึ่ง ฟังสิ!
ยังมีอีกที่คีตทำนองเหล่านี้จะทำให้ท่านเข้าถึงความเบิกบานได้
ฟังนะ!
เพราะเพลงได้บดบังความทุกข์ใดๆ ให้หยุดอยู่
ทำให้จิตเข้าถึงภาวะเบิกบานได้ขณะหนึ่ง ฟังสิ!
ยังมีอีกที่คีตทำนองเหล่านี้จะทำให้ท่านเข้าถึงความเบิกบานได้
ฟังนะ!
วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554
ความรัก ความเกลียด : เหรียญสองหน้า
เหรียญ ๒ หน้า ความรักและความเกลียด
ความรักและความเกลียดนั้นเป็นเหมือนด้านตรงข้ามของเหรียญ เมื่อรักมากจงระมัดระวังให้ดีว่า เหรียญอาจพลิกได้ มีคนจำนวนมากมายที่ทำร้ายคนที่ตนรักมากได้ ความรักจึงมักมีรหัสแห่งความรุนแรงแฝงตัวอยู่ ทุกวันนี้มีแต่ผู้คนสอนให้รักกัน แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นทั่วทั้งโลกเกิดอะไรขึ้น มีแต่ความรุนแรงกันอยู่ทั่วทุกผืนแผ่นดิน สิ่งที่คุกรุ่นรุนแรงนี้อยู่ในตัวของผู้คนที่นำพาความรักไปในโลกในฐานะของผู้ที่มีความหวังดีต่อโลก อะไรเล่าที่ทำลายความรัก ก็การสอนเรื่องความรักนั่นแหละที่ทำลายความรักเสียเอง
เมื่อดูให้ชัดแล้ว ความเกลียดเสียอีกที่บริสุทธิ์อยู่ ความรักนั้นไม่อาจคงความบริสุทธิ์ของมันได้อีกต่อไป มันปนเปื้อน สังเกตดูในขณะที่คุณเกลียดนั้น มันช่างเป็นความจริง ใสบริสุทธิ์ ไม่ปรุงแต่ง ไม่สวมหน้ากากใดๆ เป็นความเกลียดจริง แต่เมื่อคุณรัก ไม่แน่ว่าเบื้องหลังความรักนั้นเป็นความรักที่บริสุทธิ์หรือไม่ ส่วนมากมักเป็นเพียงมายา นับเป็นเวลาหลายพันปี ไม่ว่าจะเป็นศาสนา การเมือง ครูทั้งหลาย พากันสอนแต่สิ่งเดียวกัน นั่นคือ ความรัก ให้รักศัตรูของท่าน รักเพื่อนบ้านของท่าน รักครอบครัวของท่าน รักในพระเจ้า นับแต่เริ่มต้นที่สิ่งนี้ได้ถูกถ่ายทอดกันมา มันเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดเกี่ยวกับคำสอนเรื่องความรัก พวกเขากลัวต่อความรักที่แท้จริงของคุณ เนื่องจากความรักที่แท้จริงนั้นเป็นเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุม ท่านจึงถูกครอบงำด้วยความรักอย่างที่พวกเขาสอน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะการที่สอนเรื่องความรักทำให้คนกลายเป็นเด็กที่เชื่อฟัง เป็นการล่อด้วยขนมหวาน ไม่ให้สังคมต่อต้านโลก ไม่ให้คนเป็นตัวของตัวเอง ผู้คนถูกคำสอนเรื่องความรักเข้าครอบครองจนไม่ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วนั่นแหละที่เป็นต้นตอของความเกลียดที่แฝงตัวอยู่อีกด้านหนึ่ง ความเกลียดนี้จะแสดงผลออกมาอย่างแนบเนียนภายในภาพของความรัก
เชื่อไหมว่า นับแต่มีการสอนเรื่องความรักมา โลกเกิดสงครามนับครั้งไม่ถ้วน มันเป็นเรื่องต้องทบทวน ก็เพราะว่า ท่านมิใช่เป็นผู้ครอบครองความรัก ท่านถูกความรักท่วมทับต่างหาก เนื่องจากทุกๆ สังคมต้องการให้ท่านอยู่ภายในการควบคุมได้ ทุกสังคมกลัวต่อธรรมชาติดั้งเดิมของท่าน กลัวต่อธรรมชาติของท่าน พวกเขาจึงได้ตัดปีกของท่านเสียแต่เริ่มต้น สิ่งที่เป็นธรรมชาติดั้งเดิมนั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องอันตรายในตัวท่าน ก็คือธรรมชาติแห่งความรัก ถ้าหากท่านครอบครองความรักได้ ท่านจะต่อต้านโลกทั้งโลก
ให้ทราบว่า ถ้าท่านมีความรักที่แท้ สังคมยอมไม่ได้ เพราะความรักที่แท้จะทำลายสังคมจอมปลอมทันที นี่จึงเป็นอันตรายสำหรับสังคม เพราะสังคมไม่ต้องการเห็นความรักที่แท้ปรากฏขึ้นพวกเขาจึงเด็ดปีกความรักเสียตั้งแต่ต้น ไม่ให้ความรักงอกเงย แม้แต่เป็นความรักก็เป็นเพียงความรักกระดาษ เป็นปีกที่กุดเท่านั้น บินไม่ได้ รักไม่ได้ เหมือนนกที่ถูกเด็ดปีกเสียตั้งแต่ต้น ก็ไม่นึกว่าตนเองบินได้ เข้าใจว่านั่นเป็นปีกที่สมบูรณ์ หากมีนกตัวไหนที่เข้ามาก็จะถูกสอนให้ถูกเด็ดปีก เนื่องจากจะได้ไม่ต้องเสียพลังบินให้เหนื่อย
การที่นกมีปีกบินไปนั้น เป็นสิ่งที่รับไม่ได้สำหรับคนที่เลี้ยงมัน คนทั้งหลายที่ถูกเด็ดปีกแห่งความรักก็เช่นกัน ถ้าเขามีความรักที่แท้ คนจะรับไม่ได้กับการมีอิสระเช่นนั้น มีแต่ความเกลียดที่ไม่มีใครแทรกแซงมัน เพราะตัวของมันนั้นอันตรายอยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วง จึงไม่ถูกมนุษย์สั่งสอนให้เกลียด แท้จริงมันคืออีกด้านหนึ่งของความรักนั่นเอง เมื่อไม่รัก คนก็จะเกลียดโดยปริยาย เป็นอีกหนึ่งอารมณ์ที่ตรงกันข้าม การสอนให้รักก็เพราะต้องการให้ความเกลียดดำรงอยู่ภายในนั้น ถ้ามิฉะนั้นความเกลียดจะหายไปถ้าปล่อยให้ความรักเจริญเติบโตโดยตัวของมันเอง เมื่อความรักเบ่งบานเต็มที่แล้ว ความรักจะกลายเป็นเมตตา ซึ่งไม่ใช่ความรักอีกต่อไป แต่เป็นความรู้แจ้งในความรู้สึก ที่ไม่มีทั้งรักทั้งเกลียด นี่คือความรู้แจ้ง
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554
ตามจิต เห็นจิต
รหัสยวิทยา : ภาษาแห่งความลึกซึ้ง
ปรัชญาวัชรยาน
ก่อนอื่นต้องทราบว่า คำว่า รหัสยวิทยา และวัชรยาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยเนื้อแท้ของปรัชญานี้ได้แก่ สิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยภาษาธรรมดา เกินเหตุผลธรรมดา แต่ต้องสัมผัสได้ด้วยประสบการณ์ตรง แนวทางของปรัชญานี้จึงเป็นอาศัยการปฏิบัติที่เน้นความรู้สึกสัมผัสเป็นตัวเข้าถึงสภาวะที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า ความจริงแท้ ยกตัวอย่างเช่นการอธิบายเรื่องรสของมะม่วง ให้กับผู้ไม่เคยกินมะม่วงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นต้องอาศัยการได้ทานมะม่วงจึงจะรู้ได้ สำหรับเป้าหมายของปรัชญาวัชรยานหรือรหัสยาน ก็คือ การได้เข้าถึงสภาวะที่ไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสอง (Duality) โดยผ่านการปฏิบัติที่เรียกว่า “เห็นแจ้ง” (Right Understanding)
การเข้าถึงความรู้ในคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น สามารถเข้าถึงได้ ๓ ทาง ได้แก่
๑) การใช้ระบบทางกาย เรียกว่า สุตตมยปัญญา
๒) การใช้ระบบความคิด เรียกว่า จินตามยปัญญา
๓) การใช้ระบบประสบการณ์ตรง เรียกว่า ภาวนามยปัญญา
รหัสยวิทยาก็ดี วัชรยานก็ดี ตันตระก็ดี ใช้วิธีการเข้าถึงความจริงที่เรียกว่า รหัสยวิทยาหรือฌานวิทยา แล้วแต่จะเรียก การที่จะเข้าถึงความจริงแท้นั้น ต้องทราบว่า ระดับของความจริงก่อน มิฉะนั้นอาจเข้าใจไม่ตรงกัน ระดับของความจริงมี ๔ ระดับ ได้แก่
๑. ความจริงระดับกายภาพ หรือ สัมผัส
๒) ความจริงระดับความคิด หรือ เหตุผล
๓) ความจริงระดับความรู้สึก หรือ อารมณ์
๔) ความจริงระดับการดำรงอยู่ หรือ ภวันตะ
รหัสยวิทยาคือการปฏิบัติโดยใช้ความรู้สึกที่เข้มข้นในการเข้าถึงการดำรงอยู่ (Being) โดยผ่านการปฏิบัติที่เรียกว่า ภาวนา เท่านั้นจึงจะเข้าถึงได้ ซึ่งจะเป็นตัวเข้าถึงความว่าง หรือความไม่มีตัวตน เป็นแต่สักว่าการดำรงอยู่เท่านั้น คำว่า ภาวนาในที่นี้คือการพัฒนาอารมณ์ให้ถึงความจริงแท้ ปัญหาก็ขึ้นอยู่ว่า การภาวนานั้นมีวิธีการอย่างไร จึงเป็นศาสตร์ว่าด้วยการภาวนาของแต่ละศาสนา แต่ละลัทธิ ตัวนี้นี่เองที่เข้าใจตรงกันว่า ฌานวิทยาหรือภาวนามยปัญญา
สำหรับวัชรยานนั้นเป็นชื่อที่เรียกแนวการปฏิบัติและระบบแนวคิดของพระพุทธศาสนาที่นำเอาตันตระคือความลึกลับทางจิต จักรวาล และพิธีกรรมมาใช้เพื่อการเข้าถึงประสบการณ์ตรงนั้น และเพื่อเข้าถึงความจริงแท้นั้น ความลึกลับบางประการที่ซ่อนอยู่ภายใต้รหัสยภาษาและพิธีกรรม เป็นเรื่องยากแก่การพิสูจน์ว่า คาถาอาคม มนตรา ธารณี เหล่านั้นจะทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์อย่างไร ความลึกลับมิใช่เป็นเรื่องแปลก ไม่มีอะไรธรรมดายิ่งไป กว่าการถือว่าบางสิ่งลึกลับ เนื่องจากมีสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์อีกมาก ความสงสัยเหล่านี้มิได้ถูกขจัดออกไป ยุคหนึ่งผู้คนอาจเข้าใจแต่ก็ไม่อาจ หายสงสัย ความสงสัยต่อความลึกลับเหล่านี้คือ ปรากฏการณ์ทางจิตที่มีอยู่ แต่ สัมผัสไม่ได้ การแสวงหาความจริงในสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมันเองเป็นหน้าที่ของ นักปรัชญาทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ความคิดทางปรัชญาก็ไม่อาจเข้าถึงลักษณะ ของความจริงที่มีอยู่นั้นได้ แม้บางครั้งจะสามารถบอกออกไปได้ แต่ก็ไม่สามารถ บอกถึงแก่นแท้ของอารมณ์ของสิ่งเหล่านั้นได้ มีแต่ปรัชญาศาสนาที่จะเข้าถึง อารมณ์นั้นได้ และความลึกลับนี้เองเป็นเสน่ห์ของศาสนาอย่างแท้จริง
ความลึกลับนี้ครอบคลุมถึงเส้นที่ละเอียดที่สุดของจิตที่ไม่ได้ปิด ความมีอยู่ของความลึกลับ ตันตระที่สูงย่อมมีกฎที่เคร่งครัด ปฏิบัติเป็นโยคี ถ้าไม่ ปฏิบัติเป็นโยคีก็ไม่อาจสัมผัสกับความลึกลับและไม่อาจเข้าถึงตันตระได้
ความลึกลับนั้นในทางพระพุทธศาสนาก็มีความเชื่ออย่างนี้ว่า
๑. เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ แต่ไม่เปิดเผยเผยแก่บุคคลโดยทั่วไป นอกจากผู้มีปัญญา เพราะถ้าผู้ไม่มีปัญญานำไปใช้อาจเกิดโทษได้
๒. ศัพท์สำเนียงในโลก มีพลังอำนาจอันลึกลับอยู่ เป็นเทศนาของ พระไวโรจนะ แต่ผู้คนถูกอวิชชาครอบงำจึงไม่อาจรู้ได้
๓. ความลึกลับและลึกซึ้งของพระดำรัสของพระพุทธเจ้า จำเป็นต้อง ศึกษาตีตามหานัยยะที่จริงของรหัสยภาษา มิใช่ดูตามตัวอักษร
๔. ทรงอาศัยพลังอำนาจจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ซึ่งเกิดจาก การเชื่อมระหว่างจิตและสัญลักษณ์เพื่อต่อสู้กับกิเลส การอาศัยกำลังตนเอง ไม่อาจเอาชนะได้
อีกนัยหนึ่งของความลึกลับทางรหัสยภาษา เราจะเห็นว่า พระสาวกของ พระพุทธเจ้าในยามที่ทรงอาพาธก็จะให้พระสาวกรูปใดรูปหนึ่งสวดพระสูตร บางสูตรให้ฟัง อาศัยพลังแห่งพระสูตรนั้นจะขจัดอาพาธลงได้ นี่ก็เป็นตัวอย่าง ของการใช้ความเชื่อมระหว่างพระสูตรกับจิตเพื่อรักษากายได้ ความลึกลับและ พลังอำนาจแฝงที่มีอยู่ถ้าหากรู้จักวิธีนำมาใช้ก็ย่อมเป็นประโยชน์ดุจดังวิทยา- ศาสตร์ใครจะรู้ว่า อากาศนี้สามารถนำพาคลื่นเสียงไปได้ และอื่น ๆ อีกมาก ที่ยัง ไม่ถูกค้นพบ
อีกประการหนึ่ง ความลึกลับและพลังอำนาจเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกัน หลายส่วน กล่าวคือ
๑. จิตที่มีการฝึกฝนสมาธิ
๒. คำศักดิ์สิทธิ์
๓. สัญลักษณ์
๔. การปฏิบัติพิเศษทางพิธีกรรม
๕. เทพเจ้า
๖. บทเพลงสรรเสริญ
๗. การเต้นรำถวายเทพเจ้า (พระธยานิพุทธเจ้า)
การปฏิบัติเช่นนี้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างจิตกับการแสดงออกภายนอก มีผลปรากฏ ตั้งแต่สมัยที่อียิปต์เจริญขึ้นมาเป็นยุคที่ใช้มนตร์ในการประกอบ พิธีกรรมมากมายทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษ
สำหรับพุทธตันตระนั้น เป็นทางลัดที่จะเชื่อมระหว่างตนเองกับเทพเจ้า และพระพุทธเจ้า เป็นการเชื่อมกายภายในกับพลังเทพเจ้า ไม่ใช่กายหยาบ มนตร์ พิธีกรรมและพลังพิเศษทางจิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธตันตระที่จะ ทำให้ผู้คนศรัทธา เชื่อว่าในพลังของมนตราจะทำให้เข้าถึงการหลุดพ้นด้วย
พลังของผู้ปฏิบัติตามแนวของตันตระจะได้มาจากครูผู้ฝึกฝน ความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ถ่ายทอดและศิษย์ย่อมมีโอกาสในการถ่ายพลังจากอาจารย์ไป สู่ศิษย์ การปฏิบัติตันตระนำมาซึ่งพลังแห่งศักยภาพของเทพเจ้าที่ผ่านจากบุคคล หนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งได้ แต่ที่โดยทั่วไปไม่อาจทำได้ เพราะว่าสติและประสบการณ์แห่งศักยภาพนั้นถูกบดบังด้วยมายา เกี่ยวกับความมีสองสภาวะ อยู่ในตนเองและโลกแห่งสมมติด้วย วิธีการของตันตระย่อมต่างไปจากนิกาย อื่นๆ ของพระพุทธศาสนาที่ห้ามความต้องการและความปรารถนาว่าเป็นอุปสรรค ที่ยิ่งใหญ่ต่อการบรรลุธรรม
ในขณะที่แสวงหาความหลุดพ้นจากภาวะที่ขัด แย้งกันภายในสองประการ จะทำให้ไม่ทราบถึงการแยกจากประสบการณ์ ทางการรับรู้จากกายหรือความจริงทางความคิด ที่สำคัญที่สุดคือความเหมือนกันกับโลกตะวันตกที่เน้นถึงจินตนาการทางบวกและความเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ที่มีส่วนในการพัฒนาจิต และความเป็นหนึ่งเดียวทางจิต ในที่นี้การบรรลุทางจิต ที่สูงอยู่บนพื้นฐานของพิธีกรรมแห่งจิตที่สร้างตนขึ้น
พุทธประวัติในอาณาจักร ตอน ๓
สิทธัตถะดาบสไปสู่เมืองไพศาลี เพื่อพบกับอาฬาระกาลามะนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียง และสมัครเป็นลูกศิษย์ศึกษาอยู่ที่นี่ระยะหนึ่ง แต่ว่าพระองค์ยังไม่ทรงพอพระทัยในคำสอนและหลักการของท่าน จึงลาอาจารย์ท่านนี้เดินทางไปสู่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ณ ที่นี้พระองค์พบกับพระเจ้าพิมพิสาร และได้ให้สัญญาว่าจะกลับมาแสวงธรรมแก่ท่านเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
จากนั้นพระองค์ได้พบกับนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อว่าอุททกดาบสรามบุตร และพระองค์ก็ยังไม่พอพระทัยยังไม่พบทางตรัสรู้ด้วยวิธีการของท่านดาบส จากที่นี้พระองค์เสด็จไปสู่อุรุเวลาก็พบกับปัญวัคคีย์ ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ และอัสสชิ ณ ตำบลอุราเวลาเสนานิคมแห่งนี้ที่พระองค์ประทับนั่งลงบำเพ็ญทุกกรกิริยา จนกระทั่งพระองค์พบว่าการทรมานตนนั้นไม่ใช่หนทางนำไปสู่การหลุดพ้นแต่อย่างใด หลังจากที่พระทรงอดอาหารได้ ๔๙ วัน
พระองค์จึงเปลี่ยนมาทานอาหารเช่นเดิม โดยการนำมาถวายของนางสุชาดา ลูกสาวของเจ้าของที่บริเวณนั้น และแล้วพระองค์จึงประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ด้วยการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องบรรลุธรรมให้ได้ โดยการเปล่งพระวาจาว่า “ไม่ว่าเอ็นกระดูกของเราจะสิ้นไป แม้ว่าเลือดในกายของเราจะสิ้นไป เราจะไม่ลุกจากที่นี้ไปไหน ถ้ายังไม่ตรัสรู้” ในราตรีนั้นเองพระองค์ได้ปฏิบัติสมาธิ และได้ญาณ ๓ ประการคือ ปุพเพนิวาสนุสติญาณในยามแรก ต่อมาก็ตรัสรู้ธรรมชาติการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ในยามที่สอง และในยามที่สาม พระองค์ได้ตรัสรู้ความความเกี่ยวเนื่องกันของสรรพสิ่ง (ปฏิจสมุปบาท) และกันพร้อมทั้งอริยสัจ ๔ และความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวง (อาสวักขยญาณ)
พระองค์จึงกลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ในตอนตรัสรู้แรกๆ พระองค์ไม่ทรงปรารถนาที่จะสั่งสอนธรรมของพระองค์แก่ผู้ใด พระองค์ทรงไม่แน่พระทัยว่า ผู้คนจะเจ้าใจธรรมของพระองค์และจะไม่ยอมรับ จนสหัมปติพรหมได้ทรงมาอาราธนาให้ทรงเทศนาสั่งสอน พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศหลักธรรมของพระองค์ เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก ณ สวนเป็นที่อยู่ของกวางเรียกว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่สารนาถ ใกล้เมืองพาราณสี พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา นั่นคือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัจวัคคีย์แก่ปัญจวัคคีย์ผู้ซึ่งอยู่ที่นั่น พระองค์ตรัสบอกพวกเขาว่า ทุกท่านควรปฏิบัติทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) และควรเว้นทางสุดโต่งสองสายคือ ทางที่ย่อหย่อน (กามสุขัลลิกานุโยค) และทางที่ตึงเกินไป (อัตตกิลมัตถาลิกานุโยค) และแล้วพระองค์ก็จึงทรงอธิบายทางสายกลางหรือทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ (อริยอัฏฐังคิกมรรค) ให้ทราบ ซึ่งประกอบไปด้วย ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) การพูดจาชอบ (สัมมาวาจา) การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) การเลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) จากนั้นพระองค์ทรงอธิบายถึงอริยะสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ และทางที่นำไปสู่การดับทุกข์
วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554
พุทธประวัติในอาณาจักร
ในศตวรรษที่ ๖ ถือได้ว่า เป็นช่วงสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศาสนาของอินเดีย
พุทธศาสนาเกิดขึ้นในยุคนี้เช่นเดียวกันและอาจกำหนดว่าเป็นยุคสุดท้ายของศาสนาพราหมณ์ก็ว่าได้
พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนาเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นใหญ่ในตระกูลศาสกยะ
พระองค์ครองกรุงกบิลพัสดุ์มีอาณาเขตขยายไปทางตอนเหนือ และบางส่วนทางตอนใต้ของเนปาล
มเหสีของพระองค์พระนามว่ามหามายา ในคืนหนึ่งพระนางทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกโพธิสัตว์มาจากทางตอนเหนือ หลังจากกระทำปทักษินพระนางครบ ๓ รอบแล้วจึงเข้าสู่พระครรภ์ในเดือนอาสาฬหะวันประเพณีวันสุดท้ายในเมืองกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระนางก็ทรงพระครรภ์ หลังจากนั้น ๑๐ เดือน
พระนางก็ปรารถนาไปเยี่ยมพระบิดาและพระมารดา ณ กรุงเทวทหะ จนกระทั่งถึงระหว่างทางก็ประสูติพระโอรสใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินี หลังจากนั้น ๗ วันพระนางมหามายาก็ทิวงคต
พระราชโอรสได้รับการเลี้ยงดูจากพระน้านางมหาปชาบดีโคตรมี พระองค์ได้พระนามว่าสิทธัตถะ
เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้ ๕ วัน บ้างก็เรียกพระองค์ว่าโคตมะถือเอาตามชื่อโคตร
เนื่องจากพระองค์ประสูติในตระกูลศากยะจึงได้พระนามว่าศากยสิงหะด้วย
อาจารย์ของพระองค์ชื่อว่าวิศวามิตร ภายใต้การแนะนำพร่ำสอนของอาจารย์ เจ้าชายสิทธัตถะได้เรียนศิลปวิทยาต่างๆ (ศิลปวิทยา ๑๘ แขนง) จบภายในเวลาอันสั้น
ต่อมาพระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของทัณฑปาณิแห่งโกลิยวงค์ พระองค์และพระมเหสีทรงประทับอยู่อย่างสะดวกสบายอย่างยิ่งด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ จนกระทั่งต่อมาพระองค์ก็ให้กำเนิดพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล เจ้าชายสิทธัตถะประทับในพระราชวังจนถึงพระชนม์มายุได้ ๒๙ พรรษา
พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลังประจำ ๓ ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เพื่อที่จะให้พระโอรสไม่ประสบพบเห็นสิ่งไม่สวยไม่งามทั้งคนแก่คนเจ็บ คนตาย และสมณะด้วยเกรงว่าจะเป็นดั่งคำพยากรณ์ของโหรหลวง
พระราชบิดาจึงจัดแจงทุกสิ่งทุกอย่างล้ำเลิศพิสดารด้วยสิ่งสวยงามในโลกพึงมีเพื่อให้พระโอรสหลงไหล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะปรารถนาที่จะเสด็จประพาสอุทยาน พระเจ้าสุทโธทนะให้จัดแต่งสวนให้เห็นแต่สิ่งสวยงามไว้ดั่งเช่นกาลก่อน แต่แล้วระหว่างทางพระองค์ก็ได้พบเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ที่มีผมหงอกขาว, คนเจ็บ,คนตาย และสมณะ
ด้วยอาศัยภาพที่ปรากฏจากเทวทูตทั้ง ๔ ยังความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของพระองค์ ทรงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้ถาวรของสิ่งที่เป็นอย่างโลก พระองค์ตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะออกจากโลกนี้และต้องการที่เข้าไปสู่ป่าเพื่อจะแสวงหาทางหลุดพ้นจากความไม่เที่ยงแท้เหล่านี้ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะเมื่อพระองค์พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงเสด็จออกจากพระราชวังในตอนกลางคืนโดยทรงม้ากัณฑกะ และมีนายฉันนะติดตามไปด้วย เมื่อข้ามเขตแดนของศากยะโกลิยะและมัลละ พระองค์ได้เสด็จถึงอนุเวลาเสนานิคม ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาในตอนรุ่งเช้า ณ ที่นี้นี่เองพระองค์ตรัสบอกให้ฉันนะกลับไป แล้วพระองค์จึงเสด็จไปพระองค์เดียว และได้พบกับนายพรานที่นุ่งผ้าสีเหลือง พระองค์จึงได้แลกฉลองพระองค์กับเสื้อผ้าของนายพรานผู้นั้น
สิทธัตถะดาบสไปสู่เมืองไพศาลี เพื่อพบกับอาฬาระกาลามะนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียง และสมัครเป็นลูกศิษย์ศึกษาอยู่ที่นี่ระยะหนึ่ง แต่ว่าพระองค์ยังไม่ทรงพอพระทัยในคำสอนและหลักการของท่าน จึงลาอาจารย์ท่านนี้เดินทางไปสู่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ณ ที่นี้พระองค์พบกับพระเจ้าพิมพิสาร และได้ให้สัญญาว่าจะกลับมาแสวงธรรมแก่ท่านเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
จากนั้นพระองค์ได้พบกับนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อว่าอุททกดาบสรามบุตร และพระองค์ก็ยังไม่พอพระทัยยังไม่พบทางตรัสรู้ด้วยวิธีการของท่านดาบส จากที่นี้พระองค์เสด็จไปสู่อุรุเวลาก็พบกับปัญวัคคีย์ ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ และอัสสชิ ณ ตำบลอุราเวลาเสนานิคมแห่งนี้ที่พระองค์ประทับนั่งลงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
จนกระทั่งพระองค์พบว่าการทรมานตนนั้นไม่ใช่หนทางนำไปสู่การหลุดพ้นแต่อย่างใด หลังจากที่พระทรงอดอาหารได้ ๔๙ วัน พระองค์จึงเปลี่ยนมาทานอาหารเช่นเดิม โดยการนำมาถวายของนางสุชาดา ลูกสาวของเจ้าของที่บริเวณนั้น และแล้วพระองค์จึงประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ด้วยการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องบรรลุธรรมให้ได้ โดยการเปล่งพระวาจาว่า “ไม่ว่าเอ็นกระดูกของเราจะสิ้นไป แม้ว่าเลือดในกายของเราจะสิ้นไป เราจะไม่ลุกจากที่นี้ไปไหน ถ้ายังไม่ตรัสรู้”
ในราตรีนั้นเองพระองค์ได้ปฏิบัติสมาธิ และได้ญาณ ๓ ประการคือ ปุพเพนิวาสนุสติญาณในยามแรก ต่อมาก็ตรัสรู้ธรรมชาติการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ในยามที่สอง และในยามที่สาม พระองค์ได้ตรัสรู้ความความเกี่ยวเนื่องกันของสรรพสิ่ง (ปฏิจสมุปบาท) และกันพร้อมทั้งอริยสัจ ๔ และความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวง (อาสวักขยญาณ)
พระองค์จึงกลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
คิดนอกกรอบกับประวัติพระพุทธศาสนา
คิดนอกกรอบกับประวัติพระพุทธศาสนา
โดย ยศพล สัจจะธีระกุล
การศึกษาประวัติพระพุทธศาสนาอาจเป็นยาขมและเรื่องเหลือเชื่อสำหรับคนรุ่น
ใหม่เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องของเหตุการณ์ในอดีตไกลตัวนับพันๆปีแล้ว เรื่องราวที่ได้ร้อยเรียงเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและพระอัครสาวกองค์สำคัญๆยังสอดแทรกปรากฏการณ์ที่มนุษย์โลกยุคใหม่เข้าถึงผ่านจินตนาการของตนได้ยากหรืออาจถึงขั้นมองว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้(อธิบายด้วยหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้) ทำให้ความเคลือบแคลงสงสัยที่เกิดขึ้นนั้นมีผลต่อทัศนคติและความเชื่อที่นำไปสู่การไม่ยอมรับในความอยู่จริงของพระพุทธเจ้าหรือมองไม่เห็นประโยชน์จากประวัติศาสตร์นั้นไม่มากก็น้อย ในทางตรงกันข้ามหากประวัติพระพุทธศาสนาสามารถสื่อสารให้ผู้ศึกษาคล้อยตามได้อย่างสนิทใจและเกิดทัศนคติที่ดีก็ย่อมถือว่าเหตุการณ์ในอดีตนั้นเป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานเพื่อขยายผลต่อยอดต่อๆไป
การเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนานี้ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นเรื่อง
ละเอียดอ่อนที่ผู้เรียบเรียงประวัติจะต้องนำเสนอเหตุการณ์สำคัญๆตามความเป็นจริงจากหลักฐานในพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่ไม่ขัดแย้งกันเอง หรืออ้างอิงจากศิลาจารึกรวมถึงโบราณสถานต่างๆที่ได้ขุดค้นพบและผ่านกระบวนการศึกษาวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่อาจไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาเป็นการส่วนตัว แต่สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการเรียบเรียงเนื้อหาที่จะนำเสนอจะต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในแง่มุมขององค์ความรู้ของโลกปัจจุบันหรือผู้สนใจใฝ่รู้ทั่วไป(Outside - in)
อย่างไรก็ดี ประวัติเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาตามทัศนะของผู้เขียนนี้ควรผ่านการ
ตรวจรับรองจากองค์กร สถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการโดยตรงมากกว่าจะเปิดกว้างแก่ผู้คนทั่วไปซึ่งสนใจจะนำเสนอด้วยวัตถุประสงค์ต่างกันไปทั้งที่เปิดเผยและแฝงเร้นอยู่เบื้องหลัง นอกจากนั้นยังจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าประวัติพระพุทธศาสนานั้นจะต้องสามารถเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อพระศาสดาและพุทธศาสนาได้มากขึ้นโดยยึดกลุ่มผู้ศึกษาเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความคิดเห็น(นอกกรอบ)ว่าสารัตถะเกี่ยวกับประวัติ
พระพุทธศาสนานั้นควรจัดทำหลาย version ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ศึกษาเรียนรู้(อายุ เพศ อาชีพ คติความเชื่อทางศาสนาเดิม)แล้วควรมีการจัดจำแนกให้เป็นแนวทางคล้ายกับพระไตรปิฎกกล่าวคือ ควรจำแนกเนื้อหาสาระออกเป็น 3 ส่วนที่มีความเชื่อมโยงกัน ได้แก่
1.ส่วนแรกเป็นการมุ่งสร้างศรัทธาในพระบรมศาสดาจึงควรเป็นสารัตถะทางโลกหรือสมมติสัจจะที่สามารถสื่อสารให้เข้าถึงผู้ศึกษาเพื่อป้องกันข้อสงสัยตามองค์ความรู้และสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน เช่น ประวัติพระบรมศาสดาตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงปัจฉิมวัยแบ่งเป็น 3 ภาคคือ
ภาคมนุษย์(เจ้าชายสิทธัตถะ) ภาคอนาคาริกหรือพระโพธิสัตว์ และ ภาคพระพุทธเจ้า
โดยเฉพาะควรเน้นการนำเสนอให้เห็นถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้แต่ละภาคนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ประวัติการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคพุทธกาลทั้งที่ประสบผลสำเร็จ
และไม่ประสบความสำเร็จอันเป็นที่มาของพระสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้อง(ความจริงที่ต้องยอมรับตามกฎธรรมชาติแต่ต้องมีสาเหตุประกอบ) โดยเฉพาะกรณีของพระอานนท์พุทธอนุชา ที่ถือว่าเป็นผู้ทรงจำพระพระธรรมคำสอน(พระสูตร)ของพระพุทธเจ้าได้มากที่สุดจนเป็นที่มาของการปฐมสังคายนารวบรวมเป็นพระสุตตันตปิฎกเนื่องจากได้ถวายการรับใช้พุทธอุปัฏฐากพระบรมศาสดาอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องมานับสิบปีแต่กว่าจะบรรลุอรหัตผลได้ต่อเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 3 เดือน หรือสาเหตุที่ทำให้สามารถบรรลุอรหัตผลอย่างรวดเร็วเพียงการตรึกธรรมครั้งแรกจากพระพุทธองค์ของพระภิกษุบางรูป เป็นต้น
2.ส่วนที่สองควรเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสถานภาพของพระพุทธศาสนาหลังยุค
พุทธกาลทั้งยุครุ่งเรือง ยุคเสื่อม ยุคฟื้นฟู และยุคล่มสลายจากชมพูทวีปตามหลักฐานข้อเท็จจริง เป็นต้น สำหรับประวัติศาสตร์ในส่วนนี้ถือเป็นบทเรียนและประสบการณ์ที่มีคุณค่าแก่การสืบทอดพระพุทธศาสนาที่คนรุ่นใหม่พึงเรียนรู้ถึงความสำเร็จและความล้มเหลว รวมถึงการปรับตัวตามสถานการณ์เพื่อการดำรง
อยู่ของพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ต่างๆจนเป็นที่มาของความเสื่อม เป็นต้นซึ่งความจริงที่เกิดขึ้นในอดีตนี้นอกจากจะเป็นการเรียนรู้ถึงเหตุการณ์ต่างๆแล้วยัง
เป็นสิ่งเตือนสติแก่พุทธศาสนิกได้อย่างดีว่าความสำเร็จและความเสื่อมของพระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? และจะใช้เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้อีก(Preventive Action) ต่อไปได้อย่างไร?
3.ส่วนที่สามควรนำเสนอเกี่ยวกับวิธีการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนและพระศาสนา
ในยุคพุทธกาลและหลังพุทธกาลซึ่งเป็นส่วนที่นำเสนอเกี่ยวกับความจริงตามนัยของพุทธศาสนา(ปรมัตถสัจจะ) รวมถึงที่มาของการแตกแขนงออกเป็นฝ่ายเถรวาทและมหายาน โดยเนื้อหาในส่วนนี้ควรประมวลหลักธรรมคำสอนที่ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่แตกต่างไปจากลัทธิศาสนาอื่นให้ชัดเจนเพื่อให้คนรุ่นใหม่ทั้งในและนอกพระพุทธศาสนาได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของหลักธรรมคำสอนที่ต้องใช้ปัญญากำกับศรัทธา ได้รับรู้ถึงจุดยืนที่ไม่เป็นพิษภัยแก่ลัทธิศาสนาใดๆนอกจากนี้ ควรสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงคติความเชื่อของลัทธิเทวนิยม และอเทวนิยมเพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถแยกแยะได้ว่าหลักพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร? และลัทธิความเชื่อนอกพระพุทธศาสนาที่นำมาปนเปื้อนหรือแปลกปลอมเข้ามาในปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไรและเป็นภัยแก่พระศาสนาได้อย่างไร ? เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประวัติพระพุทธศาสนาจะเป็นเพียงข้อมูลหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์ที่ไม่ต่างจากประวัติศาสตร์สาขาอื่นๆ แต่สำหรับชาวพุทธแล้วควรถือว่าการเรียนรู้ประวัติพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องนั้นเปรียบเป็นบันไดขั้นแรกของการทำความเข้าใจที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การเสริมสร้างศรัทธาที่มีต่อพระบรมศาสดาและสถาบันพระศาสนาก่อนที่จะศึกษาเรียนรู้ต่อยอดให้เกิดปัญญาในขั้นสูงขึ้นไปเป็นลำดับตามกระบวนการปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ และประเด็นสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือ จะต้องเป็นการนำเสนอเฉพาะความจริงแท้ มีประโยชน์ และเหมาะสมกับกาลเทศะให้สอดคล้องกับหลักการสอนของพระพุทธเจ้าในอภยราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์(พระวาจาที่พระตถาคตตรัสและไม่ตรัส)
ดังนั้น เรื่องราวใดและเหตุการณ์ใดที่จะนำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยหรือไม่
เกิดประโยชน์แม้จะเป็นความจริง หรือเพียงต้องการสร้างความพึงพอใจให้ผู้อื่นก็พึงพิจารณาทบทวนหรือแยกนำเสนอในส่วนที่เหมาะสมกับผู้มีปัญญาที่สามารถตรึกธรรมระดับนั้นให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้ และด้วยความคิดนอกกรอบข้างต้นนี้ผู้เขียนจึงคาดหวังว่าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาจะได้รับการชำระเช่นเดียวกับการสังคายนาพระไตรปิฎกเพื่อให้พระพุทธศาสนามีความบริสุทธิ์ตรงตามความเป็นจริงและเกิดคุณค่าแก่ผู้ศึกษาเรียนรู้สมกับที่มีผู้กล่าวว่า ‘ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสันติภาพและนำสู่ความสุขอย่างยั่งยืน ’ ที่ชาวพุทธทุกคนควรภูมิใจและร่วมกันพิทักษ์ปกป้องให้คงอยู่กับสังคมโลกโดยไม่นิ่งดูดาย.
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
อาณาจักรอินเดียโบราณ
ขอนำเสนอบทความแปลลงให้เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ เป็นหนังสือที่แสดงถึงอาณาจักรต่างๆ ของประเทศอินเดียที่เกี่ยวข้องกับ
พระพุทธศาสนาในอดีต กลับมาครั้งนี้น่าจะให้ผู้สนใจได้ติดตามกันนะครับผม
บทที่ ๑
การอุบัติขึ้นของพุทธศาสนา
ประมาณศตวรรษที่ ๖ ก่อนศริตศักราช ประเทศอินเดีย (แต่เดิมเรียกว่า ชมพูทวีป)
ถูกแบ่งเป็นส่วนใหญ่ๆ เรียกกันว่าชนบทหรือมหาชนบท
ในคัมภีร์บาลีอังคุตตรนิกายแห่งพระไตรปิฎกให้รายละเอียดดินแดนของอินเดียไว้ มีถึง ๑๖ แคว้น (โสฬส มหาชนบท)
แคว้นต่าง ๆ เหล่านี้ เจริญรุ่งเรืองระหว่างสมัยของฮินดูกูชและโคธาวรี เป็นช่วงระยะไม่นานก่อนถึงสมัยของพุทธเจ้า
แคว้นเหล่านั้นก็คือ กาสี (คือเมืองพาราณสีในปัจจุบัน) โกศล (โอธะ) อังคะ (พิหารตะวันออก) มคธ (พิหารทางใต้)
วัชชี (วริจีพิหารทางเหนือ) มัลละ (เมืองโครักขปุร) เจตี (อยู่ระหว่างจุมนาและนารมทา)
วังสะ (อยู่ที่วัสสะบางส่วนของเมืองอัลลาหะบาด) คุรุ (ถาเนสวรเดลีและมิรัต)
ปัลจาละ (อยู่เขตบาเรลลี เขตยาถูนและและเขตฟารุกขะบาด) มัชชะ (เจปุระ)
สุรเสนะ (มถุรา) อัสสกะ (เมืองอัสมะกะติดไปทางโคธาวรี) อวันตี (อยู่ที่มัลวะ)
คันธาระ (อยู่ที่เมืองเปชวารและระวัลปินดิ) กัมโพธะ (แคชเมียรส่วนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้และบางส่วนของอัฟกานิสถาน)
ในหนังสือจุลนิเทสได้เพิ่มแคว้นกาลิงคะ แต่ไม่มีแคว้นคันธาระ ทั้งยังเพิ่มแคว้นโยนกไว้อีกด้วย ในชนวาสภสูตรแห่งฑีฆนิกาย
ได้จัดชนบทไว้เป็นคู่ ๆ ได้แก่ กาสี-โกศล วัชชี-มัลละ เจตี-วังสะ กุรุ-ปัจจาละ และมัชชะ-สุรเสนะ
ส่วนคัมภีร์มหาวัสตุของฝ่ายสันสฤกตก็มีชื่อเช่นเดียวกันเพียงแต่ไม่มีชื่อแคว้นคันธาระและกัมโพชะอยู่ด้วย
แต่กลับมีแคว้นสีพีและทัสสณะในปัญจาบ (หรือเมืองราชปุตนะ) ไว้แทน และยังมีเมืองทางอินเดียตอนกลางไว้ตามลำดับ ทางฝ่ายคัมภีร์ของศาสนาเชน ภัคควตีสูตร ก็บันทึกรายชื่อของมหาชนบททั้ง ๑๖ เอาไว้ มีความแตกต่างกันเพียงกันเล็กน้อย
ยกตัวอย่างเช่น แคว้นอังคะ, ภังคะ (ก็คือวังสะ), มคหะ ก็คือมคธ), มลยะ, มาละวากะ, อาชชะ, วาชชะ (ก็คือวัสสะ), โกชชะ, ปาธหะ (หรือปาณฑยะ หรือปุณดระ), ลาธะ (ลาฏะ หรือราธะ), พัชชี (วัชชี), โมลิ (ก็คือมัลละ), กาสี (กาษี), โกศล, อวาหะและแคว้นสัมภุตตระ
จะเห็นได้ว่า บางเมืองมีชื่อต่างกันนิดหน่อย บางเมืองก็ไม่เหมือนกัน สันนิษฐานว่าคัมภีร์ของศาสนาเชนนี้ มีมาหลังคัมภีร์ทางพุทธศาสนา อาจบางทีคัมภีร์ทางศาสนาเชนได้ระบุเมืองใหม่ๆ ที่อยู่ทางตะวันออกไกลและทางใต้ของอินเดียเข้าด้วย ดังนั้น จะถือเอาคัมภีร์ทางฝ่ายพุทธศาสนานั้นถูกต้องกว่า เกี่ยวกับการแบ่งเขตการปกครองในยุคนั้น ก่อนที่ยุคสมัยชนกะจะล่มสลายไป ในส่วนที่เกี่ยวข้องกันนี้ มหาโควินทะสูตรแห่งฑีฆนิกาย ระบุว่าอินเดียถูกแบ่งออกเป็นเมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองกาลิงคะ (ทานตะปุละ) อัสสกะ (โปตนะ) อวันตี (มหิสสติ) โสวีระ (โรรุกะ) วิเทหะ (มิถิลา) อังคะ (จัมปา) และกาสี (พาราณสี)
แคว้นที่กล่าวไว้ข้างบนทั้งหมดนั้นเจริญรุ่งเรืองในสมัยที่พระพุทธเจ้าและศาสดามหาวีระศาสดาศาสนาเชนมีพระชนม์ชีพอยู่ ในบรรดาแคว้นเหล่านั้นมีอยู่ ๔ แคว้นที่มีอำนาจเหนือกว่าแคว้นอื่นๆ และต่างก็พยายามที่จะแผ่ขยายอำนาจไปสู่แคว้นใกล้เคียง แคว้นใหญ่ทั้ง ๔ นั้นคือ แคว้นมคธะ, โกศล, วัสสะ และอวันตี แคว้นทั้งสี่นี้ปกครองโดยกษัตริย์ แต่ก็มีแคว้นที่ปกครองแบบรัฐสภาด้วย
เช่น แคว้นวัชชะ,มัลละ และปาวา
นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีเมืองเล็กๆ อีกที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภาเช่น แคว้นศากยะแห่งนครกบิลพัสถุ์, โกลิยะแห่งเทวทหะและรามคาม ภัคคัสแห่งเทือกเขาสุมสุมาระ, บูริสแห่งอัลลกัปปะ, กาลามะแห่งเกสปุตตะและโมลิยะแห่งปิปผลิวนะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)