วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาณาจักรอินเดียโบราณ



ขอนำเสนอบทความแปลลงให้เป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ เป็นหนังสือที่แสดงถึงอาณาจักรต่างๆ ของประเทศอินเดียที่เกี่ยวข้องกับ
พระพุทธศาสนาในอดีต กลับมาครั้งนี้น่าจะให้ผู้สนใจได้ติดตามกันนะครับผม



บทที่ ๑
การอุบัติขึ้นของพุทธศาสนา



ประมาณศตวรรษที่ ๖ ก่อนศริตศักราช ประเทศอินเดีย (แต่เดิมเรียกว่า ชมพูทวีป)
ถูกแบ่งเป็นส่วนใหญ่ๆ เรียกกันว่าชนบทหรือมหาชนบท
ในคัมภีร์บาลีอังคุตตรนิกายแห่งพระไตรปิฎกให้รายละเอียดดินแดนของอินเดียไว้ มีถึง ๑๖ แคว้น (โสฬส มหาชนบท)
แคว้นต่าง ๆ เหล่านี้ เจริญรุ่งเรืองระหว่างสมัยของฮินดูกูชและโคธาวรี เป็นช่วงระยะไม่นานก่อนถึงสมัยของพุทธเจ้า
แคว้นเหล่านั้นก็คือ กาสี (คือเมืองพาราณสีในปัจจุบัน) โกศล (โอธะ) อังคะ (พิหารตะวันออก) มคธ (พิหารทางใต้)
วัชชี (วริจีพิหารทางเหนือ) มัลละ (เมืองโครักขปุร) เจตี (อยู่ระหว่างจุมนาและนารมทา)
วังสะ (อยู่ที่วัสสะบางส่วนของเมืองอัลลาหะบาด) คุรุ (ถาเนสวรเดลีและมิรัต)
ปัลจาละ (อยู่เขตบาเรลลี เขตยาถูนและและเขตฟารุกขะบาด) มัชชะ (เจปุระ)
สุรเสนะ (มถุรา) อัสสกะ (เมืองอัสมะกะติดไปทางโคธาวรี) อวันตี (อยู่ที่มัลวะ)
คันธาระ (อยู่ที่เมืองเปชวารและระวัลปินดิ) กัมโพธะ (แคชเมียรส่วนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้และบางส่วนของอัฟกานิสถาน)




ในหนังสือจุลนิเทสได้เพิ่มแคว้นกาลิงคะ แต่ไม่มีแคว้นคันธาระ ทั้งยังเพิ่มแคว้นโยนกไว้อีกด้วย ในชนวาสภสูตรแห่งฑีฆนิกาย
ได้จัดชนบทไว้เป็นคู่ ๆ ได้แก่ กาสี-โกศล วัชชี-มัลละ เจตี-วังสะ กุรุ-ปัจจาละ และมัชชะ-สุรเสนะ

ส่วนคัมภีร์มหาวัสตุของฝ่ายสันสฤกตก็มีชื่อเช่นเดียวกันเพียงแต่ไม่มีชื่อแคว้นคันธาระและกัมโพชะอยู่ด้วย
แต่กลับมีแคว้นสีพีและทัสสณะในปัญจาบ (หรือเมืองราชปุตนะ) ไว้แทน และยังมีเมืองทางอินเดียตอนกลางไว้ตามลำดับ ทางฝ่ายคัมภีร์ของศาสนาเชน ภัคควตีสูตร ก็บันทึกรายชื่อของมหาชนบททั้ง ๑๖ เอาไว้ มีความแตกต่างกันเพียงกันเล็กน้อย
ยกตัวอย่างเช่น แคว้นอังคะ, ภังคะ (ก็คือวังสะ), มคหะ ก็คือมคธ), มลยะ, มาละวากะ, อาชชะ, วาชชะ (ก็คือวัสสะ), โกชชะ, ปาธหะ (หรือปาณฑยะ หรือปุณดระ), ลาธะ (ลาฏะ หรือราธะ), พัชชี (วัชชี), โมลิ (ก็คือมัลละ), กาสี (กาษี), โกศล, อวาหะและแคว้นสัมภุตตระ

จะเห็นได้ว่า บางเมืองมีชื่อต่างกันนิดหน่อย บางเมืองก็ไม่เหมือนกัน สันนิษฐานว่าคัมภีร์ของศาสนาเชนนี้ มีมาหลังคัมภีร์ทางพุทธศาสนา อาจบางทีคัมภีร์ทางศาสนาเชนได้ระบุเมืองใหม่ๆ ที่อยู่ทางตะวันออกไกลและทางใต้ของอินเดียเข้าด้วย ดังนั้น จะถือเอาคัมภีร์ทางฝ่ายพุทธศาสนานั้นถูกต้องกว่า เกี่ยวกับการแบ่งเขตการปกครองในยุคนั้น ก่อนที่ยุคสมัยชนกะจะล่มสลายไป ในส่วนที่เกี่ยวข้องกันนี้ มหาโควินทะสูตรแห่งฑีฆนิกาย ระบุว่าอินเดียถูกแบ่งออกเป็นเมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองกาลิงคะ (ทานตะปุละ) อัสสกะ (โปตนะ) อวันตี (มหิสสติ) โสวีระ (โรรุกะ) วิเทหะ (มิถิลา) อังคะ (จัมปา) และกาสี (พาราณสี)




แคว้นที่กล่าวไว้ข้างบนทั้งหมดนั้นเจริญรุ่งเรืองในสมัยที่พระพุทธเจ้าและศาสดามหาวีระศาสดาศาสนาเชนมีพระชนม์ชีพอยู่ ในบรรดาแคว้นเหล่านั้นมีอยู่ ๔ แคว้นที่มีอำนาจเหนือกว่าแคว้นอื่นๆ และต่างก็พยายามที่จะแผ่ขยายอำนาจไปสู่แคว้นใกล้เคียง แคว้นใหญ่ทั้ง ๔ นั้นคือ แคว้นมคธะ, โกศล, วัสสะ และอวันตี แคว้นทั้งสี่นี้ปกครองโดยกษัตริย์ แต่ก็มีแคว้นที่ปกครองแบบรัฐสภาด้วย
เช่น แคว้นวัชชะ,มัลละ และปาวา

นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีเมืองเล็กๆ อีกที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภาเช่น แคว้นศากยะแห่งนครกบิลพัสถุ์, โกลิยะแห่งเทวทหะและรามคาม ภัคคัสแห่งเทือกเขาสุมสุมาระ, บูริสแห่งอัลลกัปปะ, กาลามะแห่งเกสปุตตะและโมลิยะแห่งปิปผลิวนะ

Nice Songs

เพิ่มวิดีโอ
ไม่ได้มา Update ข้อมูลเสียนานเลย ขอนำเพลงมาฝากสักหลายๆ เพลงนะ
น่าสนใจนะเพลงนี้