วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ฟังบรรยายมหายานจากภิกษุณีอัมพิกา

นักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ ๓ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาวัดอาวุธวิกสิตาราม
ฟังบรรยายมหายาน และเยี่ยมชมวัดโฝวกวงซาน อาคารว่องวานิช ชั้น ๓๒ บี โดยมีภิกษุณีอัมพิกา (เมี่ยวเสิ้น)เป็นผู้บรรยายและให้การต้อนรับ















แหม...รู้สึกว่าจะอินกับมหายานของแท้















รู้สึกว่าจะเป็นมหายานกันแล้วนะ
แต่ดูท่าเครียดไปหน่อย

















ตั้งหน้าตั้งตาจดเผื่อมีในข้อสอบ


















รับของที่ระลึกจากภิกษุณี ได้ทั้งความรู้และของฝาก ไม่มาเสียดายแย่



















ได้ทานอาหารเจอร่อยๆ (จังซี่มันต้องถอน)









บารมี : มรรควิถีแห่งโพธิยาน




ในการบำเพ็ญตนนั้น พระโพธิสัตว์จะต้องบำเพ็ญตามโพธิสัตวธรรมอันเป็นพุทธมรรค ซึ่งการบำเพ็ญนี้เรียกว่า “บารมี” แปลว่า ให้เต็มรอบ (ปารมี=ปฏิปทาอันยิ่งยวด) คำนี้เมื่อนำมาใช้กับคนธรรมดาที่เรียกว่า คนมีบารมี (Charismatic) มีความหมายเปลี่ยนไปหมายถึงบุคคลที่มีความเต็มเปี่ยมด้วยใดด้านหนึ่งและด้านนั้นเป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคม จนเรียกบุคคลที่มีอิทธิพลว่าเป็นคนมีบารมีก็มี แต่บารมีในที่นี้หมายถึงการผู้ใดปฏิบัติตามโพธิสัตวธรรมข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อในขณะเดียวกัน แล้วแต่ข้อใดจะเป็นข้อที่เด่น






















ถ้าตามหลักฐานของพุทธศาสนาเถรวาท มี ๑๐ บารมี ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา
ในส่วนของหลักฐานทางพระพุทธศาสนามหายานนั้นแสดง ๖ บารมี ได้แก่ ทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา
โพธิสัตวธรรมนี้มีอำนาจประหารอกุศลธรรมที่มีอยู่แล้ว และป้องกันอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น และทำกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น ทานและศีลบารมีเป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อโลภะ ขันติและวิริยะบารมี เป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อโทสะ สมาธิและปัญญาเป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อโมหะ



ในการบำเพ็ญบารมี โดยปกติแล้วชาวพุทธแทบทุกคนก็บำเพ็ญบารมีอยู่ประจำ ได้แก่ การบำเพ็ญทาน ศีล และภาวนา หรือเดินตามมัชฌิมมรรค จะต่างกันก็ตรงที่เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติแล้วมีเจตจำนงเพื่ออะไร มีอธิษฐานจิตอย่างไร ตรงนี้มีประเด็นพิจารณา การให้ทาน รักษาศีล และปฏิบัติภาวนานั้นเปรียบเหมือนการศึกษา แม้ไม่ได้ใช้การศึกษาความรู้ก็อยู่ในตน แต่ถ้าหากมุ่งหวังเพื่อจะใช้การศึกษานั้นไปทำอะไร ก็จะเป็นผลอันเกิดจากการศึกษานั้น ดังนั้นเจตจำนงเพื่อใช้ผลแห่งบารมีให้เป็นไปในทางใดจึงมีความสำคัญ
พึงเข้าใจอย่างหนึ่งว่า การบำเพ็ญบารมีธรรมนี้โดยทั่วไปก็บำเพ็ญกันเป็นปกติอยู่แล้วขึ้นอยู่กับว่า ใครจะเน้นหนักทางด้านไหน บารมีอะไรเท่านั้น ผู้ไม่บำเพ็ญไม่มีเลย เพียงแต่การบำเพ็ญนั้นเป็นที่เข้าใจของเราแล้วหรือไม่และบำเพ็ญมุ่งปรารถนาอธิษฐานอะไร
ในที่นี้หากมุ่งหวังให้เข้าถึงความเป็นพุทธะ ก็ต้องตั้งปณิธาน อธิษฐานจิตว่า “เราจักโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย เราจักทำลายกิเลสทั้งหลายให้สิ้น เราจักศึกษาพุทธธรรมให้เจนจบ และเราจักปฏิบัติให้เข้าถึงพุทธะให้จงได้”



ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาแสดงหลักอธิษฐานบำเพ็ญบารมี เรียกว่า พุทธภูมิธรรมไว้ ๔ ประการ
๑. อุสสาหธรรม มีปณิธานจิตประกอบด้วยกุศลอุสสาหะ ตลอดทุกภพทุกชาติไม่ย่อท้อ
๒. อุมัตตธรรม มีปณิธานจิตประกอบด้วยปัญญา เพื่อหยั่งรู้ในการบำเพ็ญบารมี
๓. อวัตถานธรรม มีปณิธานจิตอันประกอบด้วยมั่นคงต่อพุทธภูมิ
๔. หิตจริยธรรม มีปณิธานจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา โปรดเวไนยสัตว์
ในการตั้งจิตปณิธานเช่นนี้ ก็เพื่อเสริมกำลังใจของตนให้ตั้งอยู่ในพุทธมรรค โดยเฉพาะข้อที่ว่าด้วยการโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ผู้ได้ชื่อว่า พระโพธิสัตว์จะต้องมีมหากรุณาจิตเป็นเบื้องหน้า ช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นทุกข์เข็ญ หากทุกคนบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ทุกผู้ทุกนามก็เป็นเรื่องน่าสรรเสริญ เมื่อต่างฝ่ายต่างช่วยเหลือกันและกัน มีเมตตาจิตต่อกัน มีมิตรไมตรีต่อกัน สังคมก็สงบสุข กลายเป็นสังคมอุดมคติไปในที่สุด



ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์ล้วนต้องมีโพธิสัตวธรรมพื้นฐาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของพระโพธิสัตว์ มี ๓ ประการ คือ
๑. มหากรุณา ได้แก่ ต้องเป็นผู้มีจิตใจกว้างใหญ่ มีจิตใจกรุณาอย่าง ไม่มีขอบเขตช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้หมดไป บางครั้งแม้ว่าจะต้องยินยอมรับโทษ รับทุกข์และชดใช้กรรมเองก็ต้องตัดใจกระทำเพื่อประโยชน์สุขแห่งสรรพสัตว์ทั้งหลาย ถึงพร้อมด้วยอัปปมัญญาธรรม คือ ความรัก ความสงสาร ความพลอยดีใจ แสดงความเสียใจ และความรอบรู้ในกาลแสดงออกของธรรมทั้ง ๓ ประการ ข้างต้น แล้วแผ่ไปอย่างไม่จำกัดขอบเขต
๒. มหาปัญญา ได้แก่ ความเป็นผู้ทันต่อกิเลส ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส มีปัญญาเห็นแจ้งในธรรม มีปัญญาเห็นแจ้งในศูนยตา อยู่ในโลกโดยไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ในคุณสมบัติข้อนี้นั้นลองนึกย้อนไปถึงชาดกในชาติที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าได้บำเพ็ญปัญญาบารมี คือการใช้ปัญญาช่วยแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ
๓. มหาอุปาย ได้แก่ ความเป็นผู้ฉลาดในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ ใช้กุศโลบายเพื่อขจัดทุกข์ของสรรพสัตว์ เปรียบดังนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรู้ วิธีการรักษาโรคและวิธีการในการให้ยา เพราะในบางครั้งการที่จะแสดงอะไร ไปตรงๆ นั้นผู้ฟังอาจไม่สนใจ หรือไม่เข้าใจจึงจำเป็นต้องหาวิธีการในการอบรม และนำเข้าถึงธรรมโดยอุบาย
สิ่งที่ทุกสรรพสัตว์ต้องบำเพ็ญให้มากก็คือ จิตบำเพ็ญ ทุกย่างก้าวคือจิตกรุณา ทุกกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญ การบำเพ็ญตน บำเพ็ญธรรมเพื่อขัดเกลาจิตให้อ่อนโยน จะได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์





(อ่านต่อในเอกสารมหายาน พิธีถวายมหาสังฆทาน ๖,๐๐๐ รูป วัดโฝวกวงซาน)