โศลกที่สามสิบเอ็ด "ธรรมวาจา"
สงวนคำไม่พร่ำเพรื่อ
ควรกล่าวเมื่อควรกล่าว
ยามไร้วาจาก็สงบ
ยามกล่าววาจาก็ลึกซึ้ง
มีอรรถน่าฟัง อบอุ่น ไพเราะ
เต็มเปี่ยมด้วยเมตตา
ถ้อยคำเป็นโอสถเยียวยาจิต
เป็นธรรมานุธรรมวาจา
ให้แนวทางและกำลังใจ
ผู้ฟังมีแต่ความสุข สงบ
นี่คือทิพยวาจา
ให้พึงสังเกตพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติธรรม เหตุใดจึงพูดน้อย สงบปากสงบคำ ไม่กล่าวพร่ำเพรื่อ ไม่แสดงภูมิธรรมพร่ำสอนไปทั่ว ไม่พูดจนเลอะเลือน ซึ่งต่างไปจากผู้ที่ไม่ปฏิบัติธรรม แม้ผู้อื่นไม่ให้พูดก็อยากพูด ขอให้ได้พูด แม้พูดแล้วก็จบไม่ลง ใช้วาจาเป็นเหมือนหอกที่ใช้ทิ่มแทงผู้อื่นอยู่ร่ำไป
เหตุที่ผู้ปฏิบัติธรรมพูดน้อยก็เพราะความสงบเยือกเย็นได้เข้าปกคลุมสภาวะจิตแล้ว ความสงบเยือกเย็นเป็นเหมือนร่มฉัตรจักรพรรดิที่ฉายร่มเงาให้พระเจ้าจักรพรรดิให้อยู่ภายในนั้น พระเจ้าจักรพรรดิไม่พูดพล่าม ไม่กล่าวพร่ำเพรื่อฉันใด พระโยคาวจรก็เป็นฉันนั้น ในยามที่พระเจ้าจักรพรรดิกล่าวคำย่อมมีน้ำหนัก มีความศักดิ์สิทธิ์ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น กล่าวคำแต่ละคำย่อมมีความหมาย มีอรรถสาระเสมอ
ผู้ใดที่เริ่มอาชีพการสอนใหม่ๆ จะเข้าใจว่า การพูดนั้นสำคัญไฉน ยิ่งสอนในระดับสูงๆ ด้วยแล้วจะพบว่า ข้อมูลที่ตนเตรียมนั้นแม้มากก็ไม่ค่อยจะพอกับเวลา เวลาเหลืออีกเป็นชั่วโมงแล้วจะเอาอะไรมากล่าว พูด ๓ ชั่วโมงจะทำยังไง บางท่านเตรียมไปเท่าไรก็จะต้องใส่ให้หมด ด้วยเกรงว่า ผู้ฝังจะติดค้างทุกเรื่องที่เตรียมมา เกรงว่าผู้ฟังจะปรามาสว่าตนไม่รู้เรื่อง ท่านจึงกล่าวไว้เป็นลำดับว่า ผู้สอนใหม่ สอนทุกเรื่อง ผู้สอนปานกลาง ตอบได้ทุกเรื่อง ผู้ตกผลึกสอน กล่าวเพียงบางเรื่อง
สำหรับผู้ปฏิบัติในพระพุทธศาสนาแล้วถือตามลักษณะการแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะกล่าวอะไร จะพูดอะไรก็มีความมุ่งหวังอนุเคราะห์สรรพสัตว์เป็นเบื้องต้น ตามหลักแห่งการกล่าวคำ ดังนี้
“วาจาใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ก็ไม่กล่าววาจานั้น
คำใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น
ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะกล่าวคำนั้น
คำใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตก็ไม่กล่าวคำนั้น
คำใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่รัก
เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น”
วาจาที่ไม่ควรกล่าวเลย ก็คือ คำเท็จ ไม่มีประโยชน์ คำก้าวร้าว ไม่เป็นที่พอใจ และก็คำเท็จ ไม่มีประโยชน์ แม้จะคำไพเราะเสนาะหู เป็นที่พอใจก็ตาม นี่ประการหนึ่ง วาจาที่พูดแต่ต้องดูกาลเทศะ ก็คือ คำจริง มีประโยชน์ อาจใช้คำตำหนิ ไม่น่าพอใจ และคำจริง มีประโยชน์ คำไพเราะเสนาะหู น่าพอใจ นี่ก็อีกประการหนึ่ง
ด้วยคำนึงถึงการกล่าวคำเหล่านี้ด้วย และเป็นเพราะความสงบเยือกเย็นด้วย ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมจึงพูดน้อย ไม่ทำลายบรรยากาศของร่มฉัตรจักรพรรดิให้เป็นร้านตลาด ผู้ใดปฏิบัติธรรมถึงระดับก็จะเป็นเช่นเดียวกัน ก็คือ พูดน้อย ทานน้อย ปฏิบัติมาก คำว่า ปฏิบัติมากในที่นี้หมายรวมถึงทำงานอนุเคราะห์หมู่สัตว์มากด้วย
โศลกว่า “ยามไร้วาจาก็สงบ ยามกล่าววาจาก็ลึกซึ้ง”
ความเงียบ เยือกเย็น สุขุม สงบ เป็นพลังอย่างหนึ่งทำให้ผู้อยู่ใกล้นั้นสัมผัสความสงบเย็นนั้นได้ กล่าวได้ว่า แม้เพียงได้เห็นผู้ปฏิบัติธรรมก็ทำให้คลายความทุกข์ได้ส่วนหนึ่ง แค่ได้ฟังวาจาที่เยือกเย็น ไพเราะ อบอุ่น เปี่ยมเมตตา ความทุกข์โศกเศร้าก็แทบจะคลายหายสิ้นแล้ว
ครั้งหนึ่งในพุทธกาล นางปฏาจารา สตรีที่ถูกความทุกข์ทับถมในชาตินั้นอย่างหนักหน่วง เกินที่จะรับได้ถึงกับกลายเป็นคนบ้าไป เดินซัดเซพเนจรเข้าไปถึงธรรมศาลาที่ที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมอยู่ เธอไม่อยู่ในอาการรับรู้อะไรทั้งสิ้น เป็นคนบ้าไม่มีผ้าผ่อนเดินไป พระพุทธเจ้าทรงตรัสขึ้นเมื่อเธอเดินมาถึงธรรมศาลาว่า
“เจ้าจงมีสติเถิด อย่าโศกเศร้าถึงบุตร สามี บิดามารดา พี่ชายที่ตายไปแล้วเลย
จงเบาใจ จงแสวงหา ตัวของตัวเองเถิด
เจ้าทุกข์เดือดร้อนไป ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
เพราะไม่ว่าเครือญาติ หรือใครๆ ก็ไม่อาจห้ามกั้น
ความตายได้เลยว่า อย่าเกิดขึ้น กับผู้ที่ถึงที่ตาย
ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง
เป็นที่ต้านทานหรือเป็นที่ป้องกันแก่ผู้ไปสู่ปรโลกได้
บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี
ส่วนผู้รู้ทั้งหลายรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว
ควรชำระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น
ดูกร ปฏาจารา น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ยังมีปริมาณน้อย
น้ำตาจากความเศร้าโศก ของคนที่ถูกทุกข์ กระทบแล้วนั้น
มีปริมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก ฉะนั้น
เหตุใด เจ้าจึงยังประมาท อยู่เล่า"
พระศาสดาตรัสถึง ความเวียนว่ายตายเกิดอยู่กับทุกข์ ที่ควรจะเบื่อหน่าย หาที่สุดจบไม่ได้ ทำให้ความโศกของนาง ทุเลาลง ได้สติขึ้นมาทันที พระองค์จึงทรงแสดงธรรมอีกว่า
“สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด
พระอริยะทั้งหลาย ย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นอมตธรรมในโลก
บัณฑิตรู้ใจความข้อนี้แล้ว ย่อมสำรวมในศีล
รีบเร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว”
ถ้อยคำของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงเปี่ยมด้วยเมตตา เป็นธรรมโอสถวาจาที่สามารถชำแรกเข้าไปภายในจิตใจ กำซับซาบซ่านไปถึงดวงจิต ทำลายเชื้อโรคคือความทุกข์เสียได้ ผู้ใดก็ตามได้รับรู้สัจธรรมที่เป็นจริงแล้วย่อมไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ อีก การถอนออกจากการยึดมั่นนั้นแหละคือ การดับทุกข์ วาจาใดที่แสดงให้ถอนการยึดมั่นนั้นก็เป็นวาจาที่เป็นโอสถกำจัดทุกข์
เมื่อใดก็ตามที่ท่านเห็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วนในชีวิต ก็จะเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นนับกาลไม่ถ้วนในชีวิต ไม่เพียงแต่ชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติที่ผ่านๆ นับกาลไม่ถ้วนด้วย ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้นางปฏาจาราฟังว่า น้ำตาที่ไหลออกเพราะความทุกข์นั้นถ้ารวมกันแล้วมากกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก
ก็ไม่แปลกใจเลยว่า หากท่านสามารถย้อนกลับไปในอดีตได้ ย้อนกลับไปสู่ชาติต่างๆ ที่ผ่านมาได้ ย้อนไปดูชีวิตที่เป็นเหมือนภาพยนตร์ในแต่ละเรื่องของตนที่ผ่านมาสักสิบเรื่องล่าสุดได้ ท่านจะเข้าใจถึงสุขทุกข์ชัดเจนยิ่งขึ้น เข้าใจถึงความยินดีปรีดา ความโศก เศร้า สมหวัง ผิดหวัง ระทม เริงร่า หัวเราะ ร้องไห้ บาดเจ็บ ล้มตายได้อย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น เพราะทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น
เป็นบทภาพยนตร์ที่ท่านเป็นพระเอก นางเอกของเรื่อง ทุกบททุกตอนในแต่ละฉากของชีวิตที่ผ่านไปตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องนั้น คือ ภาพยนตร์ชีวิตของท่านเอง ท่านคือผู้กำกับการแสดงเอง ท่านเป็นผู้โลดแล่นไปกับฉากนั้นเอง ทุกหยาดหยดน้ำตา ทุกรอยยิ้มที่พริ้มพราย ทุกความเจ็บปวดที่ครองใจท่านอยู่ ทุกความเริงร่าที่ท่านได้รับ และทุกความโศกเศร้าที่ท่านประสบ ล้วนเป็นของจริงไม่อาจตัดพ้อต่อว่าผู้ใดได้เลย นั่นเป็นชีวิตของท่านอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ หากผู้ปฏิบัติธรรมจนสามารถเห็นอดีตของตนได้อย่างนี้ จึงไม่เหลือความพึงพอใจต่อภพชาตินี้อีก ไม่เหลือความยินดีที่มีต่อวัฏฏะนี้อีก
เหตุใดผู้คนทั้งหลายจึงไม่ละความพึงพอใจในชาติ ในวัฏฏะนี้ได้ ก็เพราะทุกคนหลับอยู่นั่นเอง คนที่หลับอยู่แล้วฝันไปว่าตนเองเป็นคล้ายเคยได้รับความสุข ได้รับความทุกข์ โศกเศร้า สมหวัง ผิดหวัง เขาไม่เคยตื่นมาเลย ด้วยเหตุนี้ทุกคนจึงไม่ใส่ใจกับชีวิตที่เป็นภาพยนตร์ของตน เมื่อใดที่เขาตื่นขึ้นมาได้จริงๆ เห็นภาพยนตร์ที่เป็นจริง เมื่อนั้น เขาจึงจะเข้าใจถึงบทละครชีวิตในแต่ละชาติของตน ในแต่ละตอนของตนได้อย่างแท้จริง
ลองมองภาพเด็กคนหนึ่งร้องไห้เพราะตุ๊กตาตกแตก หรือตุ๊กตาถูกรถทับพังยับเป็นฉันใด ผู้คนเราท่านก็เป็นเช่นเด็กน้อยผู้นั้น ในชาติต่างๆ เราเคยร้องไห้เพราะสูญเสียสิ่งที่รัก สิ่งที่หวงแหนอย่างนั้นมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เราก็ไม่ทราบว่า ทำไมต้องร้องไห้ เสียใจ ก็เพราะเราท่านทั้งหลายหลับอยู่ การร้องไห้ของเรา ร้องๆ หยุดๆ พอได้ใหม่ก็หยุด พอตกแตก ก็ร้อง พอมีคนรักใหม่ก็หยุด พอคนรักจากไปก็ร้องไห้ หากไม่ใช่คนหลับฝันไปก็เป็นคนที่บ้ากันไปทั้งนั้น
ที่แปลกยิ่งกว่านั้นก็คือ คนเราไม่ได้เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง ไม่เชื่อลองมีคนมาด่าสิ เราจะโกรธทันที เราคือหุ่นยนต์ประเภทหนึ่งแท้ๆ ที่พอสิ่งหนึ่งเกิด เราต้องขยับตาม ทำไมเราต้องโกรธคนด่าด้วย ก็เพราะเราไม่ได้เป็นตัวของเรา เป็นเหมือนเครื่องไฟฟ้าที่พอถูกเสียบปลั๊กก็ทำงานทันที เป็นเหมือนตุ๊กตาไขลาน พอมีคนหมุนลาน ตุ๊กตาก็ดิ้นตาม เราทั้งหลายไม่รู้ตัวหรอก
จึงไม่แปลกใจเลยที่พระเยซูได้ร้องบอกกับคนทั้งหลายในขณะที่ตนเองกำลังจะถูกตอกตะปูตรึงกางเขนอยู่ว่า “พระเจ้าอย่าได้ตำหนิเขาเลย พวกเขาไม่รู้ตัวว่าพวกเขาทำอะไรลงไป” มหาตมคานธีก็กล่าวคำเช่นนี้เช่นกัน หลังจากที่ถูกชายผู้หนึ่งยิง ในขณะที่ท่านกำลังจะสิ้นลม ท่านกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้ลงโทษชายผู้นี้ เขาไม่รู้”
คนทั้งหลายในโลกก็ล้วนทำความผิด เข่นฆ่า โหดร้าย ป่าเถื่อน เบียดเบียน ทำร้าย คดโกง กล่าวร้าย กันและกันไปมาอย่างนี้ พวกเขาไม่รู้ตัวว่าเขาทำอะไรลงไป เพราะต่างคนก็ต่างอยู่ในความฝัน เพราะต่างก็ถูกเสียบปลั๊กให้ทำทั้งนั้น มีหรือเขาด่ามาเราไม่โกรธตอบ เขาทำร้ายมา เรายิ้ม เขารักมา เราโกรธไป ก็เราท่านถูกตั้งโปรแกรมไว้แล้ว ให้ตอบสนองตามนั้นไว้แล้ว
โศลกว่า “ให้แนวทางและกำลังใจ ผู้ฟังมีแต่ความสุข สงบ”
วาจาหรือคำของคนมีผลส่งไปถึงใจให้มีพลังหรือให้มีความท้อแท้ถดถอยได้ คำกล่าวของคนทำให้เกิดความฮึกเหิมและเกิดความหวาดกลัวได้ ทำให้เกิดความอบอุ่นและทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลได้ เนื่องจากวาจานั้นเป็นพลังอย่างหนึ่งที่เข้าไปครอบครองจิตของตนและผู้อื่นได้
ในการปฏิบัติธรรมนั้นยิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะวาจาที่ออกมาจากจิตที่สงบเยือกเย็นนั้นเป็นวาจาที่เชื่อมประสานให้จิตของผู้อื่นสงบเยือกเย็นไปด้วย หากวาจาที่ออกมาจากใจที่เร่าร้อน ก็สร้างความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นกับจิตผู้อื่นด้วย ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงพูดในสิ่งที่นำใจไปสู่ความสงบเยือกเย็น นำใจให้มีกำลังปฏิบัติ เหนี่ยวโน้มไปสู่การปฏิบัติที่ลึกยิ่งขึ้น หยั่งลึกลงเป็นลำดับ นำไปสู่การพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง
วาจาที่เป็นธรรมจึงประกอบไปด้วยความอนุเคราะห์สรรพสัตว์ เป็นวาจาให้กำลังใจ ทำให้เกิดความเอิบอิ่ม ไม่นำไปสู่การกระหายอยาก ไม่นำไปสู่กระตุ้นเร้าอกุศลมูล เป็นธรรมสัจวาจา คำเพียงสั้นๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เช่น “รักษาจิต บำเพ็ญเพียร มีสติ ทำจิตให้งดงาม ตามทันสัมผัส เห็นอรรถอันแจ่มแจ้งเถิด” แต่ทุกคำนั้นออกมาจากความลึกระดับที่สี่
ผู้มีจิตเข้าถึงความลึกระดับที่สี่ วาจาย่อมเป็นสัจวาจาทั้งสิ้น เพราะระดับที่สี่นั้นเป็นระดับที่ไร้ภาษา แต่เมื่อจะกล่าวออกมาเป็นภาษาจึงกล่าวได้แต่คำสภาวะเท่านั้น กล่าวคำระดับที่สามซึ่งใกล้ชิดกับระดับที่สี่ที่สุด เป็นคำที่เปี่ยมด้วยอารมณ์ความรู้สึก เป็นภาษาของแม่ เป็นภาษาของคนรัก เป็นภาษาของผู้บำเพ็ญเพียร ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นภาษาที่ทำให้ผู้ฟังมีความสุข มีความสงบ มีกำลังใจ ผู้กล่าวมีความลึกซึ้งในอารมณ์ที่ประกอบกลั่นออกมาเป็นภาษา
จึงไม่แปลกที่ฟังผู้มีความรักพูดกับผู้ไม่มีความรักพูดมีน้ำหนักต่างกัน ผู้มีเมตตาพูดกับผู้ไม่มีเมตตาพูดนั้นยิ่งต่างกัน มารดาตนพูดกับคนอื่นพูดต่างกัน ผู้ปฏิบัติธรรมพูดกับผู้ไม่ปฏิบัติธรรมพูดนั้นมีความลึกซึ้งต่างกัน ความต่างกันแฝงอยู่ในอารมณ์ แฝงอยู่ในถ้อยคำ แม้จะกล่าวคำเดียวกันก็ตาม ใครที่ประสบพบกับความท้อแท้สิ้นหวังประสบทุกข์จึงต้องการทิพยวาจาเช่นนี้เพื่อชโลมจิตให้สดชื่นขึ้นมาอีกได้ มีกำลังต่อสู้ชีวิตขึ้นมาอีกได้
นี่คือ โศลกที่สามสิบเอ็ดแห่งคัมภีร์สุวิญญมาลา
สงวนคำไม่พร่ำเพรื่อ
ควรกล่าวเมื่อควรกล่าว
ยามไร้วาจาก็สงบ
ยามกล่าววาจาก็ลึกซึ้ง
มีอรรถน่าฟัง อบอุ่น ไพเราะ
เต็มเปี่ยมด้วยเมตตา
ถ้อยคำเป็นโอสถเยียวยาจิต
เป็นธรรมานุธรรมวาจา
ให้แนวทางและกำลังใจ
ผู้ฟังมีแต่ความสุข สงบ
นี่คือทิพยวาจา
ให้พึงสังเกตพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติธรรม เหตุใดจึงพูดน้อย สงบปากสงบคำ ไม่กล่าวพร่ำเพรื่อ ไม่แสดงภูมิธรรมพร่ำสอนไปทั่ว ไม่พูดจนเลอะเลือน ซึ่งต่างไปจากผู้ที่ไม่ปฏิบัติธรรม แม้ผู้อื่นไม่ให้พูดก็อยากพูด ขอให้ได้พูด แม้พูดแล้วก็จบไม่ลง ใช้วาจาเป็นเหมือนหอกที่ใช้ทิ่มแทงผู้อื่นอยู่ร่ำไป
เหตุที่ผู้ปฏิบัติธรรมพูดน้อยก็เพราะความสงบเยือกเย็นได้เข้าปกคลุมสภาวะจิตแล้ว ความสงบเยือกเย็นเป็นเหมือนร่มฉัตรจักรพรรดิที่ฉายร่มเงาให้พระเจ้าจักรพรรดิให้อยู่ภายในนั้น พระเจ้าจักรพรรดิไม่พูดพล่าม ไม่กล่าวพร่ำเพรื่อฉันใด พระโยคาวจรก็เป็นฉันนั้น ในยามที่พระเจ้าจักรพรรดิกล่าวคำย่อมมีน้ำหนัก มีความศักดิ์สิทธิ์ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายก็เป็นฉันนั้น กล่าวคำแต่ละคำย่อมมีความหมาย มีอรรถสาระเสมอ
ผู้ใดที่เริ่มอาชีพการสอนใหม่ๆ จะเข้าใจว่า การพูดนั้นสำคัญไฉน ยิ่งสอนในระดับสูงๆ ด้วยแล้วจะพบว่า ข้อมูลที่ตนเตรียมนั้นแม้มากก็ไม่ค่อยจะพอกับเวลา เวลาเหลืออีกเป็นชั่วโมงแล้วจะเอาอะไรมากล่าว พูด ๓ ชั่วโมงจะทำยังไง บางท่านเตรียมไปเท่าไรก็จะต้องใส่ให้หมด ด้วยเกรงว่า ผู้ฝังจะติดค้างทุกเรื่องที่เตรียมมา เกรงว่าผู้ฟังจะปรามาสว่าตนไม่รู้เรื่อง ท่านจึงกล่าวไว้เป็นลำดับว่า ผู้สอนใหม่ สอนทุกเรื่อง ผู้สอนปานกลาง ตอบได้ทุกเรื่อง ผู้ตกผลึกสอน กล่าวเพียงบางเรื่อง
สำหรับผู้ปฏิบัติในพระพุทธศาสนาแล้วถือตามลักษณะการแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะกล่าวอะไร จะพูดอะไรก็มีความมุ่งหวังอนุเคราะห์สรรพสัตว์เป็นเบื้องต้น ตามหลักแห่งการกล่าวคำ ดังนี้
“วาจาใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ก็ไม่กล่าววาจานั้น
คำใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น
ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะกล่าวคำนั้น
คำใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตก็ไม่กล่าวคำนั้น
คำใดจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นที่รัก
เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น”
วาจาที่ไม่ควรกล่าวเลย ก็คือ คำเท็จ ไม่มีประโยชน์ คำก้าวร้าว ไม่เป็นที่พอใจ และก็คำเท็จ ไม่มีประโยชน์ แม้จะคำไพเราะเสนาะหู เป็นที่พอใจก็ตาม นี่ประการหนึ่ง วาจาที่พูดแต่ต้องดูกาลเทศะ ก็คือ คำจริง มีประโยชน์ อาจใช้คำตำหนิ ไม่น่าพอใจ และคำจริง มีประโยชน์ คำไพเราะเสนาะหู น่าพอใจ นี่ก็อีกประการหนึ่ง
ด้วยคำนึงถึงการกล่าวคำเหล่านี้ด้วย และเป็นเพราะความสงบเยือกเย็นด้วย ทำให้ผู้ปฏิบัติธรรมจึงพูดน้อย ไม่ทำลายบรรยากาศของร่มฉัตรจักรพรรดิให้เป็นร้านตลาด ผู้ใดปฏิบัติธรรมถึงระดับก็จะเป็นเช่นเดียวกัน ก็คือ พูดน้อย ทานน้อย ปฏิบัติมาก คำว่า ปฏิบัติมากในที่นี้หมายรวมถึงทำงานอนุเคราะห์หมู่สัตว์มากด้วย
โศลกว่า “ยามไร้วาจาก็สงบ ยามกล่าววาจาก็ลึกซึ้ง”
ความเงียบ เยือกเย็น สุขุม สงบ เป็นพลังอย่างหนึ่งทำให้ผู้อยู่ใกล้นั้นสัมผัสความสงบเย็นนั้นได้ กล่าวได้ว่า แม้เพียงได้เห็นผู้ปฏิบัติธรรมก็ทำให้คลายความทุกข์ได้ส่วนหนึ่ง แค่ได้ฟังวาจาที่เยือกเย็น ไพเราะ อบอุ่น เปี่ยมเมตตา ความทุกข์โศกเศร้าก็แทบจะคลายหายสิ้นแล้ว
ครั้งหนึ่งในพุทธกาล นางปฏาจารา สตรีที่ถูกความทุกข์ทับถมในชาตินั้นอย่างหนักหน่วง เกินที่จะรับได้ถึงกับกลายเป็นคนบ้าไป เดินซัดเซพเนจรเข้าไปถึงธรรมศาลาที่ที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมอยู่ เธอไม่อยู่ในอาการรับรู้อะไรทั้งสิ้น เป็นคนบ้าไม่มีผ้าผ่อนเดินไป พระพุทธเจ้าทรงตรัสขึ้นเมื่อเธอเดินมาถึงธรรมศาลาว่า
“เจ้าจงมีสติเถิด อย่าโศกเศร้าถึงบุตร สามี บิดามารดา พี่ชายที่ตายไปแล้วเลย
จงเบาใจ จงแสวงหา ตัวของตัวเองเถิด
เจ้าทุกข์เดือดร้อนไป ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
เพราะไม่ว่าเครือญาติ หรือใครๆ ก็ไม่อาจห้ามกั้น
ความตายได้เลยว่า อย่าเกิดขึ้น กับผู้ที่ถึงที่ตาย
ขึ้นชื่อว่าบุตรสุดที่รัก ไม่อาจเป็นที่พึ่ง
เป็นที่ต้านทานหรือเป็นที่ป้องกันแก่ผู้ไปสู่ปรโลกได้
บุตรเหล่านั้น ถึงจะมีอยู่ก็เหมือนไม่มี
ส่วนผู้รู้ทั้งหลายรักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว
ควรชำระทางไปสู่พระนิพพานของตนเท่านั้น
ดูกร ปฏาจารา น้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ยังมีปริมาณน้อย
น้ำตาจากความเศร้าโศก ของคนที่ถูกทุกข์ กระทบแล้วนั้น
มีปริมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ เสียอีก ฉะนั้น
เหตุใด เจ้าจึงยังประมาท อยู่เล่า"
พระศาสดาตรัสถึง ความเวียนว่ายตายเกิดอยู่กับทุกข์ ที่ควรจะเบื่อหน่าย หาที่สุดจบไม่ได้ ทำให้ความโศกของนาง ทุเลาลง ได้สติขึ้นมาทันที พระองค์จึงทรงแสดงธรรมอีกว่า
“สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด
พระอริยะทั้งหลาย ย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นอมตธรรมในโลก
บัณฑิตรู้ใจความข้อนี้แล้ว ย่อมสำรวมในศีล
รีบเร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว”
ถ้อยคำของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงเปี่ยมด้วยเมตตา เป็นธรรมโอสถวาจาที่สามารถชำแรกเข้าไปภายในจิตใจ กำซับซาบซ่านไปถึงดวงจิต ทำลายเชื้อโรคคือความทุกข์เสียได้ ผู้ใดก็ตามได้รับรู้สัจธรรมที่เป็นจริงแล้วย่อมไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ อีก การถอนออกจากการยึดมั่นนั้นแหละคือ การดับทุกข์ วาจาใดที่แสดงให้ถอนการยึดมั่นนั้นก็เป็นวาจาที่เป็นโอสถกำจัดทุกข์
เมื่อใดก็ตามที่ท่านเห็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วนในชีวิต ก็จะเห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นนับกาลไม่ถ้วนในชีวิต ไม่เพียงแต่ชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติที่ผ่านๆ นับกาลไม่ถ้วนด้วย ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสให้นางปฏาจาราฟังว่า น้ำตาที่ไหลออกเพราะความทุกข์นั้นถ้ารวมกันแล้วมากกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก
ก็ไม่แปลกใจเลยว่า หากท่านสามารถย้อนกลับไปในอดีตได้ ย้อนกลับไปสู่ชาติต่างๆ ที่ผ่านมาได้ ย้อนไปดูชีวิตที่เป็นเหมือนภาพยนตร์ในแต่ละเรื่องของตนที่ผ่านมาสักสิบเรื่องล่าสุดได้ ท่านจะเข้าใจถึงสุขทุกข์ชัดเจนยิ่งขึ้น เข้าใจถึงความยินดีปรีดา ความโศก เศร้า สมหวัง ผิดหวัง ระทม เริงร่า หัวเราะ ร้องไห้ บาดเจ็บ ล้มตายได้อย่างแจ่มชัดยิ่งขึ้น เพราะทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น
เป็นบทภาพยนตร์ที่ท่านเป็นพระเอก นางเอกของเรื่อง ทุกบททุกตอนในแต่ละฉากของชีวิตที่ผ่านไปตั้งแต่ต้นจนจบเรื่องนั้น คือ ภาพยนตร์ชีวิตของท่านเอง ท่านคือผู้กำกับการแสดงเอง ท่านเป็นผู้โลดแล่นไปกับฉากนั้นเอง ทุกหยาดหยดน้ำตา ทุกรอยยิ้มที่พริ้มพราย ทุกความเจ็บปวดที่ครองใจท่านอยู่ ทุกความเริงร่าที่ท่านได้รับ และทุกความโศกเศร้าที่ท่านประสบ ล้วนเป็นของจริงไม่อาจตัดพ้อต่อว่าผู้ใดได้เลย นั่นเป็นชีวิตของท่านอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ หากผู้ปฏิบัติธรรมจนสามารถเห็นอดีตของตนได้อย่างนี้ จึงไม่เหลือความพึงพอใจต่อภพชาตินี้อีก ไม่เหลือความยินดีที่มีต่อวัฏฏะนี้อีก
เหตุใดผู้คนทั้งหลายจึงไม่ละความพึงพอใจในชาติ ในวัฏฏะนี้ได้ ก็เพราะทุกคนหลับอยู่นั่นเอง คนที่หลับอยู่แล้วฝันไปว่าตนเองเป็นคล้ายเคยได้รับความสุข ได้รับความทุกข์ โศกเศร้า สมหวัง ผิดหวัง เขาไม่เคยตื่นมาเลย ด้วยเหตุนี้ทุกคนจึงไม่ใส่ใจกับชีวิตที่เป็นภาพยนตร์ของตน เมื่อใดที่เขาตื่นขึ้นมาได้จริงๆ เห็นภาพยนตร์ที่เป็นจริง เมื่อนั้น เขาจึงจะเข้าใจถึงบทละครชีวิตในแต่ละชาติของตน ในแต่ละตอนของตนได้อย่างแท้จริง
ลองมองภาพเด็กคนหนึ่งร้องไห้เพราะตุ๊กตาตกแตก หรือตุ๊กตาถูกรถทับพังยับเป็นฉันใด ผู้คนเราท่านก็เป็นเช่นเด็กน้อยผู้นั้น ในชาติต่างๆ เราเคยร้องไห้เพราะสูญเสียสิ่งที่รัก สิ่งที่หวงแหนอย่างนั้นมานับครั้งไม่ถ้วน แต่เราก็ไม่ทราบว่า ทำไมต้องร้องไห้ เสียใจ ก็เพราะเราท่านทั้งหลายหลับอยู่ การร้องไห้ของเรา ร้องๆ หยุดๆ พอได้ใหม่ก็หยุด พอตกแตก ก็ร้อง พอมีคนรักใหม่ก็หยุด พอคนรักจากไปก็ร้องไห้ หากไม่ใช่คนหลับฝันไปก็เป็นคนที่บ้ากันไปทั้งนั้น
ที่แปลกยิ่งกว่านั้นก็คือ คนเราไม่ได้เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง ไม่เชื่อลองมีคนมาด่าสิ เราจะโกรธทันที เราคือหุ่นยนต์ประเภทหนึ่งแท้ๆ ที่พอสิ่งหนึ่งเกิด เราต้องขยับตาม ทำไมเราต้องโกรธคนด่าด้วย ก็เพราะเราไม่ได้เป็นตัวของเรา เป็นเหมือนเครื่องไฟฟ้าที่พอถูกเสียบปลั๊กก็ทำงานทันที เป็นเหมือนตุ๊กตาไขลาน พอมีคนหมุนลาน ตุ๊กตาก็ดิ้นตาม เราทั้งหลายไม่รู้ตัวหรอก
จึงไม่แปลกใจเลยที่พระเยซูได้ร้องบอกกับคนทั้งหลายในขณะที่ตนเองกำลังจะถูกตอกตะปูตรึงกางเขนอยู่ว่า “พระเจ้าอย่าได้ตำหนิเขาเลย พวกเขาไม่รู้ตัวว่าพวกเขาทำอะไรลงไป” มหาตมคานธีก็กล่าวคำเช่นนี้เช่นกัน หลังจากที่ถูกชายผู้หนึ่งยิง ในขณะที่ท่านกำลังจะสิ้นลม ท่านกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายอย่าได้ลงโทษชายผู้นี้ เขาไม่รู้”
คนทั้งหลายในโลกก็ล้วนทำความผิด เข่นฆ่า โหดร้าย ป่าเถื่อน เบียดเบียน ทำร้าย คดโกง กล่าวร้าย กันและกันไปมาอย่างนี้ พวกเขาไม่รู้ตัวว่าเขาทำอะไรลงไป เพราะต่างคนก็ต่างอยู่ในความฝัน เพราะต่างก็ถูกเสียบปลั๊กให้ทำทั้งนั้น มีหรือเขาด่ามาเราไม่โกรธตอบ เขาทำร้ายมา เรายิ้ม เขารักมา เราโกรธไป ก็เราท่านถูกตั้งโปรแกรมไว้แล้ว ให้ตอบสนองตามนั้นไว้แล้ว
โศลกว่า “ให้แนวทางและกำลังใจ ผู้ฟังมีแต่ความสุข สงบ”
วาจาหรือคำของคนมีผลส่งไปถึงใจให้มีพลังหรือให้มีความท้อแท้ถดถอยได้ คำกล่าวของคนทำให้เกิดความฮึกเหิมและเกิดความหวาดกลัวได้ ทำให้เกิดความอบอุ่นและทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวลได้ เนื่องจากวาจานั้นเป็นพลังอย่างหนึ่งที่เข้าไปครอบครองจิตของตนและผู้อื่นได้
ในการปฏิบัติธรรมนั้นยิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง เพราะวาจาที่ออกมาจากจิตที่สงบเยือกเย็นนั้นเป็นวาจาที่เชื่อมประสานให้จิตของผู้อื่นสงบเยือกเย็นไปด้วย หากวาจาที่ออกมาจากใจที่เร่าร้อน ก็สร้างความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นกับจิตผู้อื่นด้วย ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงพูดในสิ่งที่นำใจไปสู่ความสงบเยือกเย็น นำใจให้มีกำลังปฏิบัติ เหนี่ยวโน้มไปสู่การปฏิบัติที่ลึกยิ่งขึ้น หยั่งลึกลงเป็นลำดับ นำไปสู่การพิจารณาเห็นตามความเป็นจริง
วาจาที่เป็นธรรมจึงประกอบไปด้วยความอนุเคราะห์สรรพสัตว์ เป็นวาจาให้กำลังใจ ทำให้เกิดความเอิบอิ่ม ไม่นำไปสู่การกระหายอยาก ไม่นำไปสู่กระตุ้นเร้าอกุศลมูล เป็นธรรมสัจวาจา คำเพียงสั้นๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เช่น “รักษาจิต บำเพ็ญเพียร มีสติ ทำจิตให้งดงาม ตามทันสัมผัส เห็นอรรถอันแจ่มแจ้งเถิด” แต่ทุกคำนั้นออกมาจากความลึกระดับที่สี่
ผู้มีจิตเข้าถึงความลึกระดับที่สี่ วาจาย่อมเป็นสัจวาจาทั้งสิ้น เพราะระดับที่สี่นั้นเป็นระดับที่ไร้ภาษา แต่เมื่อจะกล่าวออกมาเป็นภาษาจึงกล่าวได้แต่คำสภาวะเท่านั้น กล่าวคำระดับที่สามซึ่งใกล้ชิดกับระดับที่สี่ที่สุด เป็นคำที่เปี่ยมด้วยอารมณ์ความรู้สึก เป็นภาษาของแม่ เป็นภาษาของคนรัก เป็นภาษาของผู้บำเพ็ญเพียร ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นภาษาที่ทำให้ผู้ฟังมีความสุข มีความสงบ มีกำลังใจ ผู้กล่าวมีความลึกซึ้งในอารมณ์ที่ประกอบกลั่นออกมาเป็นภาษา
จึงไม่แปลกที่ฟังผู้มีความรักพูดกับผู้ไม่มีความรักพูดมีน้ำหนักต่างกัน ผู้มีเมตตาพูดกับผู้ไม่มีเมตตาพูดนั้นยิ่งต่างกัน มารดาตนพูดกับคนอื่นพูดต่างกัน ผู้ปฏิบัติธรรมพูดกับผู้ไม่ปฏิบัติธรรมพูดนั้นมีความลึกซึ้งต่างกัน ความต่างกันแฝงอยู่ในอารมณ์ แฝงอยู่ในถ้อยคำ แม้จะกล่าวคำเดียวกันก็ตาม ใครที่ประสบพบกับความท้อแท้สิ้นหวังประสบทุกข์จึงต้องการทิพยวาจาเช่นนี้เพื่อชโลมจิตให้สดชื่นขึ้นมาอีกได้ มีกำลังต่อสู้ชีวิตขึ้นมาอีกได้
นี่คือ โศลกที่สามสิบเอ็ดแห่งคัมภีร์สุวิญญมาลา