Man Power
ในการจะพัฒนา หรือบริหารองค์กรใดก็ตามปัจจัยที่สำคัญที่สุดในองค์กรนั้นคือ “คน” ในองค์กรพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน หากต้องการให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็งบุคคลในองค์กรจะต้องมีความเข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ กองทัพทุกกองทัพประการแรกสุดต้องฝึกฝนคนในกองทัพให้มีความพร้อมทุกๆ ด้าน ทุกๆ สถานการณ์เสียก่อน เมื่อฝึกฝนจนเข้มแข็งแล้วจึงสามารถปรับกระบวนทัพได้ดังที่มุ่งหมาย เผชิญกับการต่อสู้ได้ทุกรูปแบบ แต่ถ้าทหารทั้งหลายขาดการฝึกฝน อย่าว่าแต่ปรับกระบวนทัพเลย เพียงแค่เดินไกลๆ ก็ล้มตายกันแล้ว
การพัฒนาคนให้มีคุณภาพนับเป็นเป้าหมายและกลยุทธ์หลักในการพัฒนาประเทศ สถาบันหรือองค์กรให้ก้าวไกล ประเทศไทยมีการวางเป้าหมายและกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ และฉบับที่ ๙ โดยเน้นไปที่ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพสามารถรับความเปลี่ยนแปลงได้
องค์กรพุทธศาสนาก็ต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรให้ได้รับการศึกษาที่สูงและมีความรู้ในด้านการบริหารจัดการอย่างถูกต้องรวมทั้งสร้างเสริมความพร้อมให้มีศักยภาพที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมยุคใหม่ ทันต่อกระแสโลกสากล และสามารถยกระดับขีดความสามารถในการดำรงอยู่ในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลง และแข่งขันได้อย่างปลอดภัย หากต้องการเห็นเช่นนั้น ก็หมายความว่า บุคลากรในสถาบันศาสนาต้องมีคุณภาพ ต้องประกอบด้วยความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจศาสตร์ของมนุษย์ เข้าใจเชื่อมโยงระหว่างศาสตร์ของมนุษย์กับสังคมและสภาพแวดล้อม สามารถวิเคราะห์ประเมิน และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีระบบ มีความคิดสร้างสรรค์และมีวิสัยทัศน์ สามารถนำความรู้เชิงทฤษฎีไปประยุกต์สู่การปฏิบัติและการพัฒนางาน เพื่อเพิ่มศักยภาพของคนและขีดความสามารถในการพัฒนายั่งยืน
การจะทำการใดๆ ต้องดูที่คนก่อนเพราะถือว่าเป็นปัจจัยตัวแรกที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ปัจจัยองค์ประกอบอื่นๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี เพราะหากคนไม่มีคุณภาพ ต่อให้มีหลักการอย่างไรก็ไม่ได้ผล คนตามหลักองค์การจัดการต้องประกอบไปด้วย “4Hs +1B” ได้แก่
Head หมายถึง มีสติปัญญาดี มีความฉลาด มีไหวพริบ ช่างสังเกต
Heart หมายถึงมีกำลังใจดี มีความทุ่มเท รักการทำงาน มุ่งมั่น มีฉันทะในการทำงาน
Hand หมายถึงมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ มีทักษะ มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ
Health หมายถึง มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงร่างกายพร้อม ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน มีการดูแลรักษาสุขภาพเสมอ
Behavior หมายถึง ความพร้อมทางด้านพฤติกรรมที่ดี มีความกตัญญู อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ก้าวร้าว ไม่ประพฤตินอกกฎเกณฑ์
Heart หมายถึงมีกำลังใจดี มีความทุ่มเท รักการทำงาน มุ่งมั่น มีฉันทะในการทำงาน
Hand หมายถึงมีความเชี่ยวชาญ ชำนาญ มีทักษะ มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ
Health หมายถึง มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงร่างกายพร้อม ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน มีการดูแลรักษาสุขภาพเสมอ
Behavior หมายถึง ความพร้อมทางด้านพฤติกรรมที่ดี มีความกตัญญู อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ก้าวร้าว ไม่ประพฤตินอกกฎเกณฑ์
เมื่อได้บุคลากรลักษณะนี้แล้วจะต้องนำมาเข้า Course ฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการให้พร้อมทุกๆ ด้านเพื่อจะได้ตัวแทนขององค์กรที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับการทำงาน เหมาะสำหรับการบริหารงาน เหมาะสำหรับการนำองค์ประกอบที่เหลือไปดำเนินการ เชื่อมั่นได้ว่า องค์กรนั้นๆ ย่อมต้องประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
ในพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ฝึกฝนพระสงฆ์สาวกของพระองค์ให้ประกอบพร้อมด้วยคุณสมบัติเหล่านั้น เรียกหลักการจัดการนั้นสั้นๆ ว่า “วิชชา จรณสัมปันโน” คือถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
จะเห็นได้ว่าก่อนที่พระพุทธเจ้าจะส่งสาวกออกไปเผยแผ่นั้นจะต้องฝึกฝนให้สาวกเข้าถึงธรรมเสียก่อน เมื่อเผชิญกับปัญหาหนักหนาสาหัสเพียงใดก็อดทนต่อสู้ได้ ในส่วนของพระพุทธเจ้าเอง พระองค์ก็จะส่องพระญาณในตอนเช้าว่าจะโปรดผู้ใดดี กล่าวคือ แสวงหาบุคคลที่มีสติปัญญาจะรับฟังฝึกฝนตามหลักธรรมได้ ดังนั้น พระเถระที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนานั้นจึงเป็นพระอริยสาวกเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นกองทัพธรรมที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยม จึงทำให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองภายในระยะเวลาอันสั้น และแผ่ขยายไปไกลในเวลาอันรวดเร็ว ก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ คนต้องพร้อม
ถ้าหากใช้แนวที่พระพุทธเจ้ามาปรับในปัจจุบัน ก็ได้แก่การแสวงหาบุคคลที่จะมาเป็นชาวพุทธ การเข้าไปให้ทุนสร้างบุคคลที่มีสมองและสติปัญญาดีมาใช้งาน การดึงคนคุณภาพเข้ามาใช้งาน การเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรมาตรฐานที่เขามีอยู่แล้วให้เข้ามาเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น การหาซื้อตัวนักฟุตบอลที่มีแววมาช่วยทีม เสริมทีม และทำทีม
ทำงานเป็นทีมขององค์กรพุทธ
การทำงานเป็นทีม (Team Work) มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่ ยุคที่มีองค์ประกอบทางสังคมซับซ้อน ดังนั้นจำเป็นต้องมีการประสานงาน สำหรับองค์กรพุทธก็เช่นเดียวกันจะต้องปรับการทำงานภายในองค์กรการทำงานที่เรียกว่า “One Man Show” นั้นไม่เหมาะสมกับยุคสมัยนี้ ในยุคสมัยก่อนๆ อาจจะยังพอประคับประคองไปได้
ก่อนนั้นสำนักเรียนบาลี นักธรรม โรงเรียนปริยัติสามัญ หรือมหาวิทยาลัยสงฆ์อาจแข่งขันกันและกันแต่ปัจจุบันควรมีการทำงานเป็นทีมจึงจะอยู่รอด องค์กรพุทธต้องแข่งขันต่อโลกที่กำลังไล่ล่าคณะสงฆ์ ทุกส่วนต้องหันมาทำงานเป็นทีมและสร้างทีมงานเสริมได้แก่การสร้างสมณะทายาทรุ่นต่อไป (Next Dharma Generation) ให้ทัน
การทำงานเป็นทีมต้องมีโรงเรียนฝึกฝน การทำงานเป็นทีมจะทำให้องค์กรนั้นดำรงอยู่ได้นาน และมีความเข้มแข็ง ไม่ใช่พอหมดผู้นำที่มีไฟ ก็เป็นต้องล้มลุกคลุกคลานหาทายาทกันใหม่ เริ่มต้นกันใหม่ การจะสร้างคนมิใช่สร้างเสร็จภายในวันสองวัน ต้องสร้างกันยาวนาน ดังนั้น จำเป็นจะต้องสำรองหาทายาทที่มีไฟและอุดมการณ์เดียวกันไว้บริหารองค์กร สืบทอดเจตนารมณ์ ถ้าหากองค์กรเข้มแข็ง ทีมงานเข้มแข็งระบบจะผลักดันผู้ที่เข้ามาทำงานได้เอง เพราะถ้าบุคคลผู้เข้ามาทำงานไม่พร้อมก็จะอยู่ในระบบไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงกระทำเป็นตัวอย่างทำไว้แล้วในการตั้งเอตทัคคะของพระอสีติมหาเถระในการปฏิบัติงานตามความสามารถ การบริหารงานจึงดำเนินไปได้ แม้ไม่มีพระพุทธเจ้าอยู่ก็ตาม แต่ระบบคือ พระธรรมวินัย เป็นระบบที่ดีให้คณะสงฆ์ต้องปฏิบัติตามนั้นเป็นไปเพื่ออุดมการณ์อันสูงสุด
ในการทำงานเป็นทีม ตัวอย่างในกระบวนการของ 6 Zigma จะใช้กลุ่มบุคคลที่ถือว่าเป็น Team Leaders ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบนี้ได้แก่
๑. Champion หมายถึง ผู้สนับสนุน ได้แก่ผู้จัดการอาวุโสที่มีส่วนในการสนับสนุน อนุมัติเงินมีส่วนรับผิดชอบร่วมกันต่อผลสำเร็จของการจัดการบุคคลในกลุ่มที่หนึ่งนี้ต้องได้รับการอบรม และผ่านการคัดเลือกมาแล้ว
๒. Master Black Belt หมายถึง ผู้มีความชำนาญเชิงสถิติ มีความเป็นผู้นำ มีหน้าที่ฝึกฝนบุคคลในบุคลากรให้อยู่ในระดับสายดำ
๓. Back Belt คือ ผู้บริหารที่เป็นTeam Work ที่ได้รับการฝึกฝนจากกลุ่มบุคคลระดับที่สอง
๔. Green Belt คือ สมาชิกของทีมที่ ๓ มีหน้าที่ทำงานตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย
จะเห็นได้ว่า บุคคลทั้ง ๔ กลุ่มนี้คือ ผู้ขับเคลื่อนงาน (Run) ให้มุ่งไปสู่ทิศทางที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพหากปรับระดับนี้มาสู่วิธีการทำงานขององค์กรพุทธก็นับว่า เป็นการทำงานที่มีชีวิต มีแรงกระตุ้นที่มหาศาล ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ ด้านปฏิสัมพันธ์ ด้านสถานที่ต่อพุทธศาสนิกชนจนเป็นที่นับถือศรัทธายิ่งขึ้น แน่นแฟ้นในหลักธรรม ไม่สั่นคลอนง่ายๆ เคลื่อนไหวในรูปของพลังมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
๒. Master Black Belt หมายถึง ผู้มีความชำนาญเชิงสถิติ มีความเป็นผู้นำ มีหน้าที่ฝึกฝนบุคคลในบุคลากรให้อยู่ในระดับสายดำ
๓. Back Belt คือ ผู้บริหารที่เป็นTeam Work ที่ได้รับการฝึกฝนจากกลุ่มบุคคลระดับที่สอง
๔. Green Belt คือ สมาชิกของทีมที่ ๓ มีหน้าที่ทำงานตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย
จะเห็นได้ว่า บุคคลทั้ง ๔ กลุ่มนี้คือ ผู้ขับเคลื่อนงาน (Run) ให้มุ่งไปสู่ทิศทางที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพหากปรับระดับนี้มาสู่วิธีการทำงานขององค์กรพุทธก็นับว่า เป็นการทำงานที่มีชีวิต มีแรงกระตุ้นที่มหาศาล ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ ด้านปฏิสัมพันธ์ ด้านสถานที่ต่อพุทธศาสนิกชนจนเป็นที่นับถือศรัทธายิ่งขึ้น แน่นแฟ้นในหลักธรรม ไม่สั่นคลอนง่ายๆ เคลื่อนไหวในรูปของพลังมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
(อ่านในหนังสือสารัตถะวิชาการพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มมร)