วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผ่าวัฒนธรรมไทย







ผ่าวัฒนธรรมไทย
ผศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์



มาบัดนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องหันมาดูเรื่องวัฒนธรรมได้แล้ว เพราะประเทศไทยไม่ได้ให้ความสนใจด้านนี้จึงทำให้ประเทศนี้ไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริง ใครก็ตามที่ไม่สามารถเข้าใจความเป็นตัวตนของตนได้ชัดเจน ผู้นั้นก็ไม่อาจทำอะไรที่จะทำอย่างมีเป้าหมายและทิศทางได้ ประเทศไทยก็คือ ตัวตนหนึ่งที่ถูกลบเลือนแทบจะสูญสลายไปจากความรู้สึกทางวัฒนธรรม โชคดีที่ประเทศนี้มีรากฐานทางวัฒนธรรมที่บุรพมหากษัตริย์และปูชนียบุคคลได้สร้างไว้อย่างเข้มแข็งจึงยังคงรักษาโครงสร้างนี้ไว้ได้


เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

เอกลักษณ์หรือลักษณะประจำชาติในทางวิชากรรมความหมาย ๒ ประการ คือ ประการแรก หมายถึง ลักษณะที่เป็นอุดมคติซึ่งสังคมต้องการให้คนในสังคมนั้นยึดมั่นเป็นหลักการดำเนินชีวิต เป็นลักษณะที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งดีงามและให้การเทิดทูนยกย่อง อีกประการหนึ่ง หมายถึงลักษณะนิสัยที่คนทั่วไปในสังคมนั้นแสดงออกใสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในการทำงาน การพักผ่อนหย่อนใจ กรติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น และในการดำเนินชีวิตทั่วไปในสังคมเป็นลักษณะนิสัยที่พบคนส่วนใหญ่ของประเทศ และส่วนมากมักจะแสดงออกโดยไม่รู้ตัวเพราะเป็นเรื่องของความเคยชินที่ปฏิบัติกันมาอย่างนั้น เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่เด่นๆ มีดังนี้

๑) ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไท

คนไทยมีลักษณะนิสัยไม่ต้องการอยู่ใต้อำนาจบังคับของผู้อื่น ไม่ชอบการควบคุมบังคับเข้มงวด ไม่ชอบการกดขี่หรือให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวสั่งการในรายชะเอียดในการทำงานและการดำเนินชีวิตส่วนตัว คนไทยเป็นที่หยิ่งและรักศักดิ์ศรีของตนเอง การบังคับน้ำใจกันหรือฝืนความรู้สึกของกันและกันถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำ จะถือความต้องการและความคิดเห็นของแต่ละคนเป็นใหญ่ในทำนอง “ทำอะไรได้ดังใจคือไทแท้”

คนไทยไม่ต้องการเอาตัวเองเข้าไปผูกพันกับเรื่องของคนอื่นและไม่ต้องการเข้าไปมีพันธกรณีซึ่งจะจำกัดเสียภาพของตนเองซึ่งลักษณะนิสัยเช่นนี้ทำให้สังคมไทยดำรงคามเป็นชาติเอกราชมาได้ทุกวันนี้ และช่วยป้องกันมิให้เกิดการปกครองแบบกดขี่ขึ้นในประเทศ การรักความเป็นไททำให้คนนิยมประกอบอาชีพนี้ก็ไม่ใช่อำนาจส่วนตัว ในส่วนเสีย ความรักอิสรภาพทำให้ไม่ค่อยมีความรู้สึกผูกพันกับหน้าที่ การถือตัวเองเป็นใหญ่ในบางครั้งอาจจะทำให้การประสานงานและการทำงานกลุ่มมีปัญหาถึงวัฒนธรรมของคนทุกเพศทุกวัย ทุกกลุ่มซึ่งแตกตางกันเพราะคนทุกกลุ่ม แต่ก็สามารถผสมกลมกลืนกันและอยู่รอดภายใต้สังคมไทยและวัฒนธรรมไทย

๒) เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น สุภาพอ่อนโยน

คนไทยมีลักษณะนิสัยช่วยเหลือกันและกันด้วยน้ำใสใจจริง ไม่ชอบเอาเปรียบใคร ไม่ช้ำเติมผู้แพ้ โกรธง่ายหายเร็ว เป็นมิตรกับทุกคน ต้อนรับแขกแปลกหน้าด้วยความอบอุ่น คนต่างชาติต่างศาสนาที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยจะได้รับสิทธิเท่าคนไทย ประเทศไทยได้ชื่อว่า มีการผสมกลมกลืนทางด้านวัฒนธรรมกับคนจีนได้ดีที่สุด
๓) เคารพผู้มีอาวุโส เชื่อฟังอำนาจ

สังเกตสรรพนามที่ใช้กันอยู่ในสังคม ทำให้เราทราบถึงการเคารพนบนอบเชื่อฟังผั้ท่มีอำนาจ เช่น ฯพณฯ ท่าน ท่าน ใต้เท้า กระผม เคารพนับถือผู้ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจเหมือนร่มโพธิ์ ร่มไทร มีการยกย่องเป็นพิเศษ สมัครเข้าเป็นลูกน้อง รับใช้ด้วยความเต็มใจ ผู้ใหญ่ก็มีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมแก่ลูกน้องหรือต่อผู้น้อย ช่วยเหลือลูกน้องอย่างเต็มที่ ถ้าผู้ใหญ่ไม่ทำตามหน้าที่ ผู้น้อยก็ไม่จำเป็นต้องให้ความเคารพ

๔) รักความโอ่อ่า

แต่เดิมคนไทยมักจะหยิ่งและเชื่อมั่นในเกียรติของตนเอง มีคติประจำใจว่า “หยิ่งในเกียรติแต่ไม่เหยียดผู้อื่น” ถือว่าคนเรามีสิทธิเท่ากัน ภายนอกอาจจะดูเป็นคนชนชั้นต่ำ แต่ก็ไม่ชอบให้ใครมาดูถูก ชอบการเคารพยกย่อง จึงมักแสดงความโอ่อ่า ออกมาเพื่อให้ผู้อื่นยามรับ เช่น ชอบยศ ชอบตำแหน่ง ชอบจัดงานเลี้ยงใหญ่ๆ ชอบด้วยความฟู่ฟ่า นิยมการรับประทานอาหารตามภัตตาคารแพงๆ ชอบเที่ยวไทต์คลับราคาแพง นิยมใช้ของต่างประเทศ ชอบจัดงานเลี้ยงใหญ่โต แม้บางครั้งอาจเกินฐานะไป
๕) รักสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ มักน้อย

คนไทยส่วนใหญ่เชื่อเรื่องทำบุญ กรรมแต่ง ไม่ทะเยอทะยาน พอใจในสภาพความเป็นอยู่ของตัวเอง ไม่กระตือรือร้นเท่าที่ควร ถือว่าคนเราทุกคนอาจหาความสุขให้ตนเอง โดยอยู่ที่ใจเป็นสุข ทุกอย่างก็เป็นสุข ไม่ชอบขอความช่วยเหลือใคร จากการมักน้อยนี้ทำให้คนไทยสามารถเอาตัวรอดมาได้ทุกยุค ทุกสมัย คนไทยเราถือว่า ไม่ควรตื่นเต้นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ใจเย็นไว้ก่อน เฉยไว้ก่อนเป็นดี ถือคติไม่เป็นไร

๖) ย้ำความเป็นตัวของตัวเอง

ลักษณะของคนไทยได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา ถือว่า ตนของตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ใครจะดีจะเด่นอยู่ที่บุญจากชาติก่อน แข่งเรือแข่งพาย แข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาไม่ได้ ไม่ชอบให้ใครมายุ่งเรื่องส่วนตัว ตนเองสามารถหาความสุขในชีวิตให้ตนเองได้ ไม่ชอบการบังคับจิตใจ

๗) รักอิสรภาพ

คนไทยชอบความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชะความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ทำให้คนไทยดำรงความเป็นเอกราชมาได้ จนถึงทุกวันนี้ นิยมประกอบอาชีพ เช่น ชาวนา ค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ข้าราชการ เพราะไม่มีใครมีอำนาจเหนือส่วนตัว ไม่ค่อยชอบทำงานตามห้างร้านบริษัท (นอกจากคนไทยเชื้อสายจีน) นอกจากจะให้ค่าตอบแทนสูง จากลักษณะข้อนี้ทำให้คนไทยบางครั้ง การประสานงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพดีเท่าที่ควรไม่ค่อยมีความผูกพันต่อหน้าที่

๘) นิยมหาความสุขจากชีวิต

คนไทยถือว่าควรหาความสุขจากชีวิตให้มากที่สุด ควรทำตัวตามธรรมชาติ ปล่อยให้สบายไปเรื่อยๆ ร่าเริงแจ่มใส คุณสมบัติอันนี้ติดใจชาวต่างประเทศ คนไทยไม่ค่อยทุกร้อนในสิ่งใด การที่คนไทยนิยมหาความสุขจากชีวิต ทำให้คนไทยรู้จักประสานประโยชน์ รู้จักยืดหยุ่นในเรื่องต่างๆ เป็นต้นว่า วัฒนธรรมที่รับมาจาก จีน อินเดีย มาปรับให้เข้ากับสภาพชีวิตชอบใช้ชีวิตง่าย ๆ มีสุขภาพจิตมั่นคง เป็นการยากพอสมควร ในการที่จะเปลี่ยนค่านิยมให้คนไทยรู้จักหน้าที่ระเบียบปฏิบัติ การประหยัดและการควบคุมใจตนเอง

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาประเทศไทยตามภูมิภาค คนไทยแต่ละภูมิภาคก็มีลักษณะนิสัยใจคอไม่เหมือนกัน

๑) ลักษณะของคนไทยภาคกลาง

คนไทยที่อยู่ภาคกลางของประเทศมีลักษณะเด่นคือ รักอิสรภาพและความเป็นตัวเอง จากอดีตคนภาคกลางต้องพบกับสงครามมาโดยตลอด ทำให้รักอิสรภาพ เนื่องจากคนภาคกลางอยู่ในศูนย์กลางแห่งเศรษฐกิจ เป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศทำให้คนในภาคกลางต้องต่อสู้ดิ้นรน แข่งขัน ต้องพึ่งตนเอง ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ เชื่อคนยาก ชอบทำงานด้วยตนเอง ไม่รวมกลุ่ม ตั้งบ้านเรือนแบบเอกเทศ มีรั้วรอบขอบชิด ไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่น ไม่ชอบสัมพันธ์กับใคร ชอบชิงดีชิงเด่น มีนักเลงมาก และมักคิดว่าตนเองเก่งเสมอ เป็นพระเอกเสมอ

๒) ลักษณะของคนไทยภาคใต้

ลักษณะเด่นของคนภาคใต้ ตื่นตัวเร็ว และฟุบเร็ว มีช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยมาก เพราะความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีทั้งภูเขาและทะเล มีช่องทางทำงานมาก ชอบแสวงหาความรู้ เกาะกลุ่มกันมาก เชื่อในผู้นำ

๓) ลักษณะของคนไทยภาคเหนือ

ลักษณะเด่นของคนไทยภาคเหนือชอบช่วยเหลือพึ่งพากันและกัน มองโลกในแง่ดี เพราะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่เป็นภูเขาและน้ำตก มีจิตใจโอบอ้อมอารีย์ เป็นกันเองกับคนทั่วไป ไม่ชอบแสดงตน เชื่อธรรมชาติและบรรพบุรุษ

๔) ลักษณะของคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ลักษณะเด่นของคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ รักสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ มักน้อย ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีความอดทน ทำงานหนัก เวลาสนุกก็รื่นเริงเต็มที่ การตั้งบ้านเรือนก็ตั้งเป็นหมู่บ้าน พึ่งพาอาศัยกันและกัน เชื่อธรรมชาติ นับถือผู้อาวุโส

จะเห็นได้ว่า วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในสังคมและความเจริญของประเทศชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้มีพระราชดำรัสที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรมไทยไว้ว่า “การรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ” ซึ่งพระราชดำรัสนี้มีความสำคัญและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง สมควรที่คนไทยทุกคนจะได้ตระหนักและถือเป็นจุดยืนอันสำคัญเพื่อใช้เป็นหลักในการวางแผนปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชาติไทย

เมื่อรู้จักความพิเศษของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยอย่างนี้ ก็ต้องรู้จักใช้วัฒนธรรมนี้ให้เป็นประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมขึ้น ให้วัฒนธรรมเป็นตัวหล่อหลอมความเป็นไทย ถ้าเป็นไปได้ต้องกลับมาใช้ภูมิภาคเป็นเขตปกครองไปยิ่งดีจะได้ทำความเจริญขึ้นกับถิ่นนั้นๆ อย่างจริงจัง ภายใต้ความเป็นไทยที่มีพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานจะงดงามทั้งประเทศ กลับมาเอาจริงเอาจังกันได้แล้ว