วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

รหัสยวิทยา : ภาษาแห่งความลึกซึ้ง


ปรัชญาวัชรยาน



ก่อนอื่นต้องทราบว่า คำว่า รหัสยวิทยา และวัชรยาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยเนื้อแท้ของปรัชญานี้ได้แก่ สิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยภาษาธรรมดา เกินเหตุผลธรรมดา แต่ต้องสัมผัสได้ด้วยประสบการณ์ตรง แนวทางของปรัชญานี้จึงเป็นอาศัยการปฏิบัติที่เน้นความรู้สึกสัมผัสเป็นตัวเข้าถึงสภาวะที่เป็นจริง ซึ่งเรียกว่า ความจริงแท้ ยกตัวอย่างเช่นการอธิบายเรื่องรสของมะม่วง ให้กับผู้ไม่เคยกินมะม่วงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นต้องอาศัยการได้ทานมะม่วงจึงจะรู้ได้ สำหรับเป้าหมายของปรัชญาวัชรยานหรือรหัสยาน ก็คือ การได้เข้าถึงสภาวะที่ไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสอง (Duality) โดยผ่านการปฏิบัติที่เรียกว่า “เห็นแจ้ง” (Right Understanding)

การเข้าถึงความรู้ในคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น สามารถเข้าถึงได้ ๓ ทาง ได้แก่
๑) การใช้ระบบทางกาย เรียกว่า สุตตมยปัญญา
๒) การใช้ระบบความคิด เรียกว่า จินตามยปัญญา
๓) การใช้ระบบประสบการณ์ตรง เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

รหัสยวิทยาก็ดี วัชรยานก็ดี ตันตระก็ดี ใช้วิธีการเข้าถึงความจริงที่เรียกว่า รหัสยวิทยาหรือฌานวิทยา แล้วแต่จะเรียก การที่จะเข้าถึงความจริงแท้นั้น ต้องทราบว่า ระดับของความจริงก่อน มิฉะนั้นอาจเข้าใจไม่ตรงกัน ระดับของความจริงมี ๔ ระดับ ได้แก่
๑. ความจริงระดับกายภาพ หรือ สัมผัส
๒) ความจริงระดับความคิด หรือ เหตุผล
๓) ความจริงระดับความรู้สึก หรือ อารมณ์
๔) ความจริงระดับการดำรงอยู่ หรือ ภวันตะ




รหัสยวิทยาคือการปฏิบัติโดยใช้ความรู้สึกที่เข้มข้นในการเข้าถึงการดำรงอยู่ (Being) โดยผ่านการปฏิบัติที่เรียกว่า ภาวนา เท่านั้นจึงจะเข้าถึงได้ ซึ่งจะเป็นตัวเข้าถึงความว่าง หรือความไม่มีตัวตน เป็นแต่สักว่าการดำรงอยู่เท่านั้น คำว่า ภาวนาในที่นี้คือการพัฒนาอารมณ์ให้ถึงความจริงแท้ ปัญหาก็ขึ้นอยู่ว่า การภาวนานั้นมีวิธีการอย่างไร จึงเป็นศาสตร์ว่าด้วยการภาวนาของแต่ละศาสนา แต่ละลัทธิ ตัวนี้นี่เองที่เข้าใจตรงกันว่า ฌานวิทยาหรือภาวนามยปัญญา

สำหรับวัชรยานนั้นเป็นชื่อที่เรียกแนวการปฏิบัติและระบบแนวคิดของพระพุทธศาสนาที่นำเอาตันตระคือความลึกลับทางจิต จักรวาล และพิธีกรรมมาใช้เพื่อการเข้าถึงประสบการณ์ตรงนั้น และเพื่อเข้าถึงความจริงแท้นั้น ความลึกลับบางประการที่ซ่อนอยู่ภายใต้รหัสยภาษาและพิธีกรรม เป็นเรื่องยากแก่การพิสูจน์ว่า คาถาอาคม มนตรา ธารณี เหล่านั้นจะทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์อย่างไร ความลึกลับมิใช่เป็นเรื่องแปลก ไม่มีอะไรธรรมดายิ่งไป กว่าการถือว่าบางสิ่งลึกลับ เนื่องจากมีสิ่งที่อยู่เหนือความเข้าใจของมนุษย์อีกมาก ความสงสัยเหล่านี้มิได้ถูกขจัดออกไป ยุคหนึ่งผู้คนอาจเข้าใจแต่ก็ไม่อาจ หายสงสัย ความสงสัยต่อความลึกลับเหล่านี้คือ ปรากฏการณ์ทางจิตที่มีอยู่ แต่ สัมผัสไม่ได้ การแสวงหาความจริงในสิ่งที่มีอยู่ในตัวของมันเองเป็นหน้าที่ของ นักปรัชญาทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม ความคิดทางปรัชญาก็ไม่อาจเข้าถึงลักษณะ ของความจริงที่มีอยู่นั้นได้ แม้บางครั้งจะสามารถบอกออกไปได้ แต่ก็ไม่สามารถ บอกถึงแก่นแท้ของอารมณ์ของสิ่งเหล่านั้นได้ มีแต่ปรัชญาศาสนาที่จะเข้าถึง อารมณ์นั้นได้ และความลึกลับนี้เองเป็นเสน่ห์ของศาสนาอย่างแท้จริง

ความลึกลับนี้ครอบคลุมถึงเส้นที่ละเอียดที่สุดของจิตที่ไม่ได้ปิด ความมีอยู่ของความลึกลับ ตันตระที่สูงย่อมมีกฎที่เคร่งครัด ปฏิบัติเป็นโยคี ถ้าไม่ ปฏิบัติเป็นโยคีก็ไม่อาจสัมผัสกับความลึกลับและไม่อาจเข้าถึงตันตระได้
ความลึกลับนั้นในทางพระพุทธศาสนาก็มีความเชื่ออย่างนี้ว่า
๑. เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ แต่ไม่เปิดเผยเผยแก่บุคคลโดยทั่วไป นอกจากผู้มีปัญญา เพราะถ้าผู้ไม่มีปัญญานำไปใช้อาจเกิดโทษได้
๒. ศัพท์สำเนียงในโลก มีพลังอำนาจอันลึกลับอยู่ เป็นเทศนาของ พระไวโรจนะ แต่ผู้คนถูกอวิชชาครอบงำจึงไม่อาจรู้ได้
๓. ความลึกลับและลึกซึ้งของพระดำรัสของพระพุทธเจ้า จำเป็นต้อง ศึกษาตีตามหานัยยะที่จริงของรหัสยภาษา มิใช่ดูตามตัวอักษร
๔. ทรงอาศัยพลังอำนาจจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ซึ่งเกิดจาก การเชื่อมระหว่างจิตและสัญลักษณ์เพื่อต่อสู้กับกิเลส การอาศัยกำลังตนเอง ไม่อาจเอาชนะได้

อีกนัยหนึ่งของความลึกลับทางรหัสยภาษา เราจะเห็นว่า พระสาวกของ พระพุทธเจ้าในยามที่ทรงอาพาธก็จะให้พระสาวกรูปใดรูปหนึ่งสวดพระสูตร บางสูตรให้ฟัง อาศัยพลังแห่งพระสูตรนั้นจะขจัดอาพาธลงได้ นี่ก็เป็นตัวอย่าง ของการใช้ความเชื่อมระหว่างพระสูตรกับจิตเพื่อรักษากายได้ ความลึกลับและ พลังอำนาจแฝงที่มีอยู่ถ้าหากรู้จักวิธีนำมาใช้ก็ย่อมเป็นประโยชน์ดุจดังวิทยา- ศาสตร์ใครจะรู้ว่า อากาศนี้สามารถนำพาคลื่นเสียงไปได้ และอื่น ๆ อีกมาก ที่ยัง ไม่ถูกค้นพบ

อีกประการหนึ่ง ความลึกลับและพลังอำนาจเหล่านี้ มีความเกี่ยวข้องกัน หลายส่วน กล่าวคือ
๑. จิตที่มีการฝึกฝนสมาธิ
๒. คำศักดิ์สิทธิ์
๓. สัญลักษณ์
๔. การปฏิบัติพิเศษทางพิธีกรรม
๕. เทพเจ้า
๖. บทเพลงสรรเสริญ
๗. การเต้นรำถวายเทพเจ้า (พระธยานิพุทธเจ้า)

การปฏิบัติเช่นนี้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างจิตกับการแสดงออกภายนอก มีผลปรากฏ ตั้งแต่สมัยที่อียิปต์เจริญขึ้นมาเป็นยุคที่ใช้มนตร์ในการประกอบ พิธีกรรมมากมายทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษ



สำหรับพุทธตันตระนั้น เป็นทางลัดที่จะเชื่อมระหว่างตนเองกับเทพเจ้า และพระพุทธเจ้า เป็นการเชื่อมกายภายในกับพลังเทพเจ้า ไม่ใช่กายหยาบ มนตร์ พิธีกรรมและพลังพิเศษทางจิตอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธตันตระที่จะ ทำให้ผู้คนศรัทธา เชื่อว่าในพลังของมนตราจะทำให้เข้าถึงการหลุดพ้นด้วย

พลังของผู้ปฏิบัติตามแนวของตันตระจะได้มาจากครูผู้ฝึกฝน ความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ถ่ายทอดและศิษย์ย่อมมีโอกาสในการถ่ายพลังจากอาจารย์ไป สู่ศิษย์ การปฏิบัติตันตระนำมาซึ่งพลังแห่งศักยภาพของเทพเจ้าที่ผ่านจากบุคคล หนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งได้ แต่ที่โดยทั่วไปไม่อาจทำได้ เพราะว่าสติและประสบการณ์แห่งศักยภาพนั้นถูกบดบังด้วยมายา เกี่ยวกับความมีสองสภาวะ อยู่ในตนเองและโลกแห่งสมมติด้วย วิธีการของตันตระย่อมต่างไปจากนิกาย อื่นๆ ของพระพุทธศาสนาที่ห้ามความต้องการและความปรารถนาว่าเป็นอุปสรรค ที่ยิ่งใหญ่ต่อการบรรลุธรรม

ในขณะที่แสวงหาความหลุดพ้นจากภาวะที่ขัด แย้งกันภายในสองประการ จะทำให้ไม่ทราบถึงการแยกจากประสบการณ์ ทางการรับรู้จากกายหรือความจริงทางความคิด ที่สำคัญที่สุดคือความเหมือนกันกับโลกตะวันตกที่เน้นถึงจินตนาการทางบวกและความเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ที่มีส่วนในการพัฒนาจิต และความเป็นหนึ่งเดียวทางจิต ในที่นี้การบรรลุทางจิต ที่สูงอยู่บนพื้นฐานของพิธีกรรมแห่งจิตที่สร้างตนขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: