วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

พุทธประวัติในอาณาจักร ตอน ๓






สิทธัตถะดาบสไปสู่เมืองไพศาลี เพื่อพบกับอาฬาระกาลามะนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียง และสมัครเป็นลูกศิษย์ศึกษาอยู่ที่นี่ระยะหนึ่ง แต่ว่าพระองค์ยังไม่ทรงพอพระทัยในคำสอนและหลักการของท่าน จึงลาอาจารย์ท่านนี้เดินทางไปสู่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ณ ที่นี้พระองค์พบกับพระเจ้าพิมพิสาร และได้ให้สัญญาว่าจะกลับมาแสวงธรรมแก่ท่านเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว


จากนั้นพระองค์ได้พบกับนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อว่าอุททกดาบสรามบุตร และพระองค์ก็ยังไม่พอพระทัยยังไม่พบทางตรัสรู้ด้วยวิธีการของท่านดาบส จากที่นี้พระองค์เสด็จไปสู่อุรุเวลาก็พบกับปัญวัคคีย์ ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ และอัสสชิ ณ ตำบลอุราเวลาเสนานิคมแห่งนี้ที่พระองค์ประทับนั่งลงบำเพ็ญทุกกรกิริยา จนกระทั่งพระองค์พบว่าการทรมานตนนั้นไม่ใช่หนทางนำไปสู่การหลุดพ้นแต่อย่างใด หลังจากที่พระทรงอดอาหารได้ ๔๙ วัน


พระองค์จึงเปลี่ยนมาทานอาหารเช่นเดิม โดยการนำมาถวายของนางสุชาดา ลูกสาวของเจ้าของที่บริเวณนั้น และแล้วพระองค์จึงประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ด้วยการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องบรรลุธรรมให้ได้ โดยการเปล่งพระวาจาว่า “ไม่ว่าเอ็นกระดูกของเราจะสิ้นไป แม้ว่าเลือดในกายของเราจะสิ้นไป เราจะไม่ลุกจากที่นี้ไปไหน ถ้ายังไม่ตรัสรู้” ในราตรีนั้นเองพระองค์ได้ปฏิบัติสมาธิ และได้ญาณ ๓ ประการคือ ปุพเพนิวาสนุสติญาณในยามแรก ต่อมาก็ตรัสรู้ธรรมชาติการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ในยามที่สอง และในยามที่สาม พระองค์ได้ตรัสรู้ความความเกี่ยวเนื่องกันของสรรพสิ่ง (ปฏิจสมุปบาท) และกันพร้อมทั้งอริยสัจ ๔ และความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวง (อาสวักขยญาณ)


พระองค์จึงกลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ในตอนตรัสรู้แรกๆ พระองค์ไม่ทรงปรารถนาที่จะสั่งสอนธรรมของพระองค์แก่ผู้ใด พระองค์ทรงไม่แน่พระทัยว่า ผู้คนจะเจ้าใจธรรมของพระองค์และจะไม่ยอมรับ จนสหัมปติพรหมได้ทรงมาอาราธนาให้ทรงเทศนาสั่งสอน พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศหลักธรรมของพระองค์ เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก ณ สวนเป็นที่อยู่ของกวางเรียกว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่สารนาถ ใกล้เมืองพาราณสี พระองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา นั่นคือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัจวัคคีย์แก่ปัญจวัคคีย์ผู้ซึ่งอยู่ที่นั่น พระองค์ตรัสบอกพวกเขาว่า ทุกท่านควรปฏิบัติทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) และควรเว้นทางสุดโต่งสองสายคือ ทางที่ย่อหย่อน (กามสุขัลลิกานุโยค) และทางที่ตึงเกินไป (อัตตกิลมัตถาลิกานุโยค) และแล้วพระองค์ก็จึงทรงอธิบายทางสายกลางหรือทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ (อริยอัฏฐังคิกมรรค) ให้ทราบ ซึ่งประกอบไปด้วย ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) การพูดจาชอบ (สัมมาวาจา) การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) การเลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) จากนั้นพระองค์ทรงอธิบายถึงอริยะสัจจ์ ๔ ได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ การดับทุกข์ และทางที่นำไปสู่การดับทุกข์


ไม่มีความคิดเห็น: