วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552
การอุบัติขึ้นของพุทธศาสนา
แคว้นต่างๆ ในชมพูทวีป
ประมาณศตวรรษที่ ๖ ก่อนศริตศักราช ประเทศอินเดีย แต่เดิมเรียกว่า ชมพูทวีป ถูกแบ่งเป็นส่วนใหญ่ๆ เรียกกันว่าชนบทหรือมหาชนบท ในคัมภีร์บาลีอังคุตตรนิกายแห่งพระไตรปิฎกให้รายละเอียดดินแดนของอินเดียไว้ มีถึง ๑๖ แคว้น (โสฬส มหาชนบท) แคว้นต่าง ๆ เหล่านี้ เจริญรุ่งเรืองระหว่างภูเขาฮินดูกูชและแม่น้ำโคธาวรี
ที่ตั้งของแคว้นอดีตกับปัจจุบัน ก็คือ กาสี (คือเมืองพาราณสีในปัจจุบัน) โกศล (โอธะ) อังคะ (พิหารตะวันออก) มคธ (พิหารทางใต้) วัชชี (วริจีพิหารทางเหนือ) มัลละ (เมืองโครักขปุร) เจตี (อยู่ระหว่างจุมนาและนารมทา) วังสะ (อยู่ที่วัสสะบางส่วนของเมืองอัลลาหะบาด) คุรุ (ถาเนสวรเดลีและมิรัต) ปัลจาละ (อยู่เขตบาเรลลี เขตยาถูนและและเขตฟารุกขะบาด) มัชชะ (เจปุระ) สุรเสนะ (มถุรา) อัสสกะ (เมืองอัสมะกะติดไปทางโคธาวรี) อวันตี (อยู่ที่มัลวะ) คันธาระ (อยู่ที่เมืองเปชวารและระวัลปินดิ) กัมโพธะ (แคชเมียรส่วนที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้และบางส่วนของอัฟกานิสถาน)
ในหนังสือจุลนิเทสได้เพิ่มแคว้นกาลิงคะ แต่ไม่มีแคว้นคันธาระ ทั้งยังเพิ่มแคว้นโยนกไว้อีกด้วย ในชนวาสภสูตรแห่งฑีฆนิกาย ได้จัดชนบทไว้เป็นคู่ ๆ ได้แก่ กาสี-โกศล วัชชี-มัลละ เจตี-วังสะ กุรุ-ปัจจาละ และมัชชะ-สุรเสนะ
ส่วนคัมภีร์มหาวัสตุของฝ่ายสันสฤกตก็มีชื่อเช่นเดียวกันเพียงแต่ไม่มีชื่อแคว้นคันธาระและกัมโพชะอยู่ด้วย แต่กลับมีแคว้นสีพีและทัสสณะในปัญจาบ (หรือเมืองราชปุตนะ) ไว้แทน และยังมีเมืองทางอินเดียตอนกลางไว้ตามลำดับ
ทางฝ่ายคัมภีร์ของศาสนาเชน ภัคควตีสูตร ก็บันทึกรายชื่อของมหาชนบททั้ง ๑๖ เอาไว้ มีความแตกต่างกันเพียงกันเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น แคว้นอังคะ, ภังคะ (ก็คือวังสะ), มคหะ ก็คือมคธ), มลยะ, มาละวากะ, อาชชะ, วาชชะ (ก็คือวัสสะ), โกชชะ, ปาธหะ (หรือปาณฑยะ หรือปุณดระ), ลาธะ (ลาฏะ หรือราธะ), พัชชี (วัชชี), โมลิ (ก็คือมัลละ), กาสี (กาษี), โกศล, อวาหะและแคว้นสัมภุตตระ จะเห็นได้ว่า บางเมืองมีชื่อต่างกันนิดหน่อย บางเมืองก็ไม่เหมือนกัน สันนิษฐานว่าคัมภีร์ของศาสนาเชนนี้ มีมาหลังคัมภีร์ทางพุทธศาสนา อาจบางทีคัมภีร์ทางศาสนาเชนได้ระบุเมืองใหม่ๆ ที่อยู่ทางตะวันออกไกลและทางใต้ของอินเดียเข้าด้วย
ดังนั้น จะถือเอาคัมภีร์ทางฝ่ายพุทธศาสนานั้นถูกต้องกว่า เกี่ยวกับการแบ่งเขตการปกครองในยุคนั้น ก่อนที่ยุคสมัยชนกะจะล่มสลายไป ในส่วนที่เกี่ยวข้องกันนี้ มหาโควินทะสูตรแห่งฑีฆนิกาย ระบุว่าอินเดียถูกแบ่งออกเป็นเมืองสำคัญ ได้แก่ เมืองกาลิงคะ (ทานตะปุละ) อัสสกะ (โปตนะ) อวันตี (มหิสสติ) โสวีระ (โรรุกะ) วิเทหะ (มิถิลา) อังคะ (จัมปา) และกาสี (พาราณสี)
แคว้นที่กล่าวไว้ข้างบนทั้งหมดนั้นเจริญรุ่งเรืองในสมัยที่พระพุทธเจ้าและศาสดามหาวีระศาสดาศาสนาเชนมีพระชนม์ชีพอยู่ ในบรรดาแคว้นเหล่านั้นมีอยู่ ๔ แคว้นที่มีอำนาจเหนือกว่าแคว้นอื่นๆ และต่างก็พยายามที่จะแผ่ขยายอำนาจไปสู่แคว้นใกล้เคียง
แคว้นใหญ่ทั้ง ๔ นั้นคือ แคว้นมคธะ, โกศล, วัสสะ และอวันตี แคว้นทั้งสี่นี้ปกครองโดยกษัตริย์ แต่ก็มีแคว้นที่ปกครองแบบรัฐสภาด้วย เช่น แคว้นวัชชะ, มัลละ และปาวา นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีเมืองเล็กๆ อีกที่ปกครองด้วยระบบรัฐสภาเช่น แคว้นศากยะแห่งนครกบิลพัสดุ์, โกลิยะแห่งเทวทหะและรามคาม ภัคคัสแห่งเทือกเขาสุมสุมาระ, บูริสแห่งอัลลกัปปะ, กาลามะแห่งเกสปุตตะและโมลิยะแห่งปิปผลิวนะ
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า
ในศตวรรษที่ ๖ ถือได้ว่า เป็นช่วงสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศาสนาของอินเดีย พุทธศาสนาเกิดขึ้นในยุคนี้เช่นเดียวกันและอาจกำหนดว่าเป็นยุคสุดท้ายของศาสนาพราหมณ์ก็ว่าได้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนาเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นใหญ่ในตระกูลศาสกยะ พระองค์ครองกรุงกบิลพัสดุ์มีอาณาเขตขยายไปทางตอนเหนือ และบางส่วนทางตอนใต้ของเนปาล มเหสีของพระองค์พระนามว่ามหามายา
ในคืนหนึ่งพระนางทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกโพธิสัตว์มาจากทางตอนเหนือ หลังจากกระทำปทักษินพระนางครบ ๓ รอบแล้วจึงเข้าสู่พระครรภ์ในเดือนอาสาฬหะวันประเพณีวันสุดท้ายในเมืองกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระนางก็ทรงพระครรภ์ หลังจากนั้น ๑๐ เดือน พระนางก็ปรารถนาไปเยี่ยมพระบิดาและพระมารดา ณ กรุงเทวทหะ จนกระทั่งถึงระหว่างทางก็ประสูติพระโอรสใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินี
หลังจากนั้น ๗ วันพระนางมหามายาก็ทิวงคต พระราชโอรสได้รับการเลี้ยงดูจากพระน้านางมหาปชาบดีโคตรมี พระองค์ได้พระนามว่าสิทธัตถะ เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้ ๕ วัน บ้างก็เรียกพระองค์ว่าโคตมะถือเอาตามชื่อโคตร เนื่องจากพระองค์ประสูติในตระกูลศากยะจึงได้พระนามว่าศากยสิงหะด้วย อาจารย์ของพระองค์ชื่อว่าวิศวามิตร ภายใต้การแนะนำพร่ำสอนของอาจารย์ เจ้าชายสิทธัตถะได้เรียนศิลปวิทยาต่างๆ (ศิลปวิทยา ๑๘ แขนง) จบภายในเวลาอันสั้น
ต่อมาพระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของทัณฑปาณิแห่งโกลิยวงค์ พระองค์และพระมเหสีทรงประทับอยู่อย่างสะดวกสบายอย่างยิ่งด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ จนกระทั่งต่อมาพระองค์ก็ให้กำเนิดพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล เจ้าชายสิทธัตถะประทับในพระราชวังจนถึงพระชนม์มายุได้ ๒๙ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลังประจำ ๓ ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เพื่อที่จะให้พระโอรสไม่ประสบพบเห็นสิ่งไม่สวยไม่งามทั้งคนแก่คนเจ็บ คนตาย และสมณะด้วยเกรงว่าจะเป็นดั่งคำพยากรณ์ของโหรหลวง พระราชบิดาจึงจัดแจงทุกสิ่งทุกอย่างล้ำเลิศพิสดารด้วยสิ่งสวยงามในโลกพึงมีเพื่อให้พระโอรสหลงใหล
วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะปรารถนาที่จะเสด็จประพาสอุทยาน พระเจ้าสุทโธทนะให้จัดแต่งสวนให้เห็นแต่สิ่งสวยงามไว้ดั่งเช่นกาลก่อน แต่แล้วระหว่างทางพระองค์ก็ได้พบเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ที่มีผมหงอกขาว, คนเจ็บ,คนตาย และสมณะ
ด้วยอาศัยภาพที่ปรากฏจากเทวทูตทั้ง ๔ ยังความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของพระองค์ ทรงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้ถาวรของสิ่งที่เป็นอย่างโลก พระองค์ตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะออกจากโลกนี้และต้องการที่เข้าไปสู่ป่าเพื่อจะแสวงหาทางหลุดพ้นจากความไม่เที่ยงแท้เหล่านี้
ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ เมื่อพระองค์พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงเสด็จออกจากพระราชวังในตอนกลางคืนโดยทรงม้ากัณฑกะ และมีนายฉันนะติดตามไปด้วย เมื่อข้ามเขตแดนของศากยะโกลิยะและมัลละ พระองค์ได้เสด็จถึงอนุเวลาเสนานิคม ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาในตอนรุ่งเช้า ณ ที่นี้นี่เองพระองค์ตรัสบอกให้ฉันนะกลับไป แล้วพระองค์จึงเสด็จไปพระองค์เดียว และได้พบกับนายพรานที่นุ่งผ้าสีเหลือง พระองค์จึงได้แลกฉลองพระองค์กับเสื้อผ้าของนายพรานผู้นั้น
สิทธัตถะดาบสไปสู่เมืองไพศาลี เพื่อพบกับอาฬาระกาลามะนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียง และสมัครเป็นลูกศิษย์ศึกษาอยู่ที่นี่ระยะหนึ่ง แต่ว่าพระองค์ยังไม่ทรงพอพระทัยในคำสอนและหลักการของท่าน จึงลาอาจารย์ท่านนี้เดินทางไปสู่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ณ ที่นี้พระองค์พบกับพระเจ้าพิมพิสาร และได้ให้สัญญาว่าจะกลับมาแสวงธรรมแก่ท่านเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว
จากนั้นพระองค์ได้พบกับนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อว่าอุททกดาบสรามบุตร และพระองค์ก็ยังไม่พอพระทัยยังไม่พบทางตรัสรู้ด้วยวิธีการของท่านดาบส จากที่นี้พระองค์เสด็จไปสู่อุรุเวลาก็พบกับปัญวัคคีย์ ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ และอัสสชิ ณ ตำบลอุราเวลาเสนานิคมแห่งนี้ที่พระองค์ประทับนั่งลงบำเพ็ญทุกกรกิริยา จนกระทั่งพระองค์พบว่าการทรมานตนนั้นไม่ใช่หนทางนำไปสู่การหลุดพ้นแต่อย่างใด หลังจากที่พระทรงอดอาหารได้ ๔๙ วัน
พระองค์จึงเปลี่ยนมาทานอาหารเช่นเดิม โดยการนำมาถวายของนางสุชาดา ลูกสาวของเจ้าของที่บริเวณนั้น และแล้วพระองค์จึงประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ด้วยการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องบรรลุธรรมให้ได้ โดยการเปล่งพระวาจาว่า “ไม่ว่าเอ็นกระดูกของเราจะสิ้นไป แม้ว่าเลือดในกายของเราจะสิ้นไป เราจะไม่ลุกจากที่นี้ไปไหน ถ้ายังไม่ตรัสรู้”
ในราตรีนั้นเองพระองค์ได้ปฏิบัติสมาธิ และได้ญาณ ๓ ประการคือ ปุพเพนิวาสนุสติญาณในยามแรก ต่อมาก็ตรัสรู้ธรรมชาติการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ในยามที่สอง และในยามที่สาม พระองค์ได้ตรัสรู้ความความเกี่ยวเนื่องกันของสรรพสิ่ง (ปฏิจสมุปบาท) และกันพร้อมทั้งอริยสัจ ๔ และความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวง (อาสวักขยญาณ) พระองค์จึงกลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)