วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

พุทธประวัติในอาณาจักร



ในศตวรรษที่ ๖ ถือได้ว่า เป็นช่วงสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศาสนาของอินเดีย
พุทธศาสนาเกิดขึ้นในยุคนี้เช่นเดียวกันและอาจกำหนดว่าเป็นยุคสุดท้ายของศาสนาพราหมณ์ก็ว่าได้
พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของพระพุทธศาสนาเป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นใหญ่ในตระกูลศาสกยะ
พระองค์ครองกรุงกบิลพัสดุ์มีอาณาเขตขยายไปทางตอนเหนือ และบางส่วนทางตอนใต้ของเนปาล

มเหสีของพระองค์พระนามว่ามหามายา ในคืนหนึ่งพระนางทรงพระสุบินเห็นช้างเผือกโพธิสัตว์มาจากทางตอนเหนือ หลังจากกระทำปทักษินพระนางครบ ๓ รอบแล้วจึงเข้าสู่พระครรภ์ในเดือนอาสาฬหะวันประเพณีวันสุดท้ายในเมืองกบิลพัสดุ์ ต่อมาพระนางก็ทรงพระครรภ์ หลังจากนั้น ๑๐ เดือน
พระนางก็ปรารถนาไปเยี่ยมพระบิดาและพระมารดา ณ กรุงเทวทหะ จนกระทั่งถึงระหว่างทางก็ประสูติพระโอรสใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินี หลังจากนั้น ๗ วันพระนางมหามายาก็ทิวงคต
พระราชโอรสได้รับการเลี้ยงดูจากพระน้านางมหาปชาบดีโคตรมี พระองค์ได้พระนามว่าสิทธัตถะ
เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้ ๕ วัน บ้างก็เรียกพระองค์ว่าโคตมะถือเอาตามชื่อโคตร
เนื่องจากพระองค์ประสูติในตระกูลศากยะจึงได้พระนามว่าศากยสิงหะด้วย
อาจารย์ของพระองค์ชื่อว่าวิศวามิตร ภายใต้การแนะนำพร่ำสอนของอาจารย์ เจ้าชายสิทธัตถะได้เรียนศิลปวิทยาต่างๆ (ศิลปวิทยา ๑๘ แขนง) จบภายในเวลาอันสั้น

ต่อมาพระองค์ก็ได้อภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของทัณฑปาณิแห่งโกลิยวงค์ พระองค์และพระมเหสีทรงประทับอยู่อย่างสะดวกสบายอย่างยิ่งด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ จนกระทั่งต่อมาพระองค์ก็ให้กำเนิดพระราชโอรสพระองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล เจ้าชายสิทธัตถะประทับในพระราชวังจนถึงพระชนม์มายุได้ ๒๙ พรรษา
พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลังประจำ ๓ ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว เพื่อที่จะให้พระโอรสไม่ประสบพบเห็นสิ่งไม่สวยไม่งามทั้งคนแก่คนเจ็บ คนตาย และสมณะด้วยเกรงว่าจะเป็นดั่งคำพยากรณ์ของโหรหลวง
พระราชบิดาจึงจัดแจงทุกสิ่งทุกอย่างล้ำเลิศพิสดารด้วยสิ่งสวยงามในโลกพึงมีเพื่อให้พระโอรสหลงไหล วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะปรารถนาที่จะเสด็จประพาสอุทยาน พระเจ้าสุทโธทนะให้จัดแต่งสวนให้เห็นแต่สิ่งสวยงามไว้ดั่งเช่นกาลก่อน แต่แล้วระหว่างทางพระองค์ก็ได้พบเทวทูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ที่มีผมหงอกขาว, คนเจ็บ,คนตาย และสมณะ

ด้วยอาศัยภาพที่ปรากฏจากเทวทูตทั้ง ๔ ยังความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นภายในจิตใจของพระองค์ ทรงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแท้ถาวรของสิ่งที่เป็นอย่างโลก พระองค์ตัดสินพระทัยแน่วแน่ที่จะออกจากโลกนี้และต้องการที่เข้าไปสู่ป่าเพื่อจะแสวงหาทางหลุดพ้นจากความไม่เที่ยงแท้เหล่านี้ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะเมื่อพระองค์พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงเสด็จออกจากพระราชวังในตอนกลางคืนโดยทรงม้ากัณฑกะ และมีนายฉันนะติดตามไปด้วย เมื่อข้ามเขตแดนของศากยะโกลิยะและมัลละ พระองค์ได้เสด็จถึงอนุเวลาเสนานิคม ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมาในตอนรุ่งเช้า ณ ที่นี้นี่เองพระองค์ตรัสบอกให้ฉันนะกลับไป แล้วพระองค์จึงเสด็จไปพระองค์เดียว และได้พบกับนายพรานที่นุ่งผ้าสีเหลือง พระองค์จึงได้แลกฉลองพระองค์กับเสื้อผ้าของนายพรานผู้นั้น

สิทธัตถะดาบสไปสู่เมืองไพศาลี เพื่อพบกับอาฬาระกาลามะนักปรัชญาผู้มีชื่อเสียง และสมัครเป็นลูกศิษย์ศึกษาอยู่ที่นี่ระยะหนึ่ง แต่ว่าพระองค์ยังไม่ทรงพอพระทัยในคำสอนและหลักการของท่าน จึงลาอาจารย์ท่านนี้เดินทางไปสู่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ณ ที่นี้พระองค์พบกับพระเจ้าพิมพิสาร และได้ให้สัญญาว่าจะกลับมาแสวงธรรมแก่ท่านเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว

จากนั้นพระองค์ได้พบกับนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งชื่อว่าอุททกดาบสรามบุตร และพระองค์ก็ยังไม่พอพระทัยยังไม่พบทางตรัสรู้ด้วยวิธีการของท่านดาบส จากที่นี้พระองค์เสด็จไปสู่อุรุเวลาก็พบกับปัญวัคคีย์ ได้แก่ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ และอัสสชิ ณ ตำบลอุราเวลาเสนานิคมแห่งนี้ที่พระองค์ประทับนั่งลงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

จนกระทั่งพระองค์พบว่าการทรมานตนนั้นไม่ใช่หนทางนำไปสู่การหลุดพ้นแต่อย่างใด หลังจากที่พระทรงอดอาหารได้ ๔๙ วัน พระองค์จึงเปลี่ยนมาทานอาหารเช่นเดิม โดยการนำมาถวายของนางสุชาดา ลูกสาวของเจ้าของที่บริเวณนั้น และแล้วพระองค์จึงประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ด้วยการตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องบรรลุธรรมให้ได้ โดยการเปล่งพระวาจาว่า “ไม่ว่าเอ็นกระดูกของเราจะสิ้นไป แม้ว่าเลือดในกายของเราจะสิ้นไป เราจะไม่ลุกจากที่นี้ไปไหน ถ้ายังไม่ตรัสรู้”

ในราตรีนั้นเองพระองค์ได้ปฏิบัติสมาธิ และได้ญาณ ๓ ประการคือ ปุพเพนิวาสนุสติญาณในยามแรก ต่อมาก็ตรัสรู้ธรรมชาติการเกิดของสัตว์ทั้งหลาย (จุตูปปาตญาณ) ในยามที่สอง และในยามที่สาม พระองค์ได้ตรัสรู้ความความเกี่ยวเนื่องกันของสรรพสิ่ง (ปฏิจสมุปบาท) และกันพร้อมทั้งอริยสัจ ๔ และความสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวง (อาสวักขยญาณ)
พระองค์จึงกลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

ไม่มีความคิดเห็น: