
โศลกที่เก้า วางกาย วางใจ
กายลักษณะเป็นกายภายนอก
กายที่แสดงผ่านตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
ให้วางไว้ ไม่วุ่นวาย ไม่ยึดมั่น
กายสภาวะเป็นกายภายใน
กายที่แสดงผ่านความเป็นสัตว์
เป็นความดิบ ความคิด และอารมณ์
ให้วางไว้ ไม่ต่อต้าน ไม่ปล่อยตาม
กายภูตะเป็นกายธรรม
เป็นกายที่แท้ เป็นความว่าง
ไร้รูป ไร้ลักษณ์ ดำรงอยู่อย่างนั้น
ให้รู้แจ้ง ให้เห็นประจักษ์ชัด
เพียงผ่านการกำหนดรู้ลมหายใจสั้นยาว
ผ่านการกำหนดรู้ลมหายใจบางเบาเข้าออก
เมื่อนั้นจักเห็นกายลักษณะ กายสภาวะและกายภูตะ
พึงรักษาความเป็นเช่นนั้นไว้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ต่างพากันสละยศถาบรรดาศักดิ์
สละบ้านเมือง ทรัพย์สิน บ้านเรือนและคนรัก
เราท่านมีอะไรที่น่าหวงแหนเล่า!
ในยามที่อยู่ร่วมกับผู้คนที่หลากหลายในสังคม อดไม่ได้ที่จะเข้าใจและแลเห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรากับบุคคลอื่นขึ้นมาทันที ความสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญมาก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนี่เองที่เป็นตัวบดบังความเข้าใจที่แท้จริงให้หายไป เนื่องจากคำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนี่แหละเป็นสาเหตุทำให้ตัวตนสำคัญขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ตัวตนแสดงบทบาทออกมาได้ หากไม่มีความสัมพันธ์นี้ ตัวตนจะเหลือความเป็นธรรมชาติที่สุด เหลือความเป็นเอกภาวะที่สุด ไม่อาจโยงใยตนกับใคร ใครกับตนได้ บทบาทที่ตัวตนจะแสดงออกมาก็ไม่มีช่องทาง

เราจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่เริ่มกำเนิดในครอบครัว เราต้องกลายเป็นลูกสัมพันธ์กับพ่อแม่ สัมพันธ์กับญาติพี่น้อง กลายเป็นเด็กสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ กลายเป็นลูกบ้านกับผู้ใหญ่บ้าน กลายเป็นนักเรียนสัมพันธ์กับครู กลายเป็นนักศึกษาสัมพันธ์กับอาจารย์ กลายเป็นคนรักสัมพันธ์กับคนรักและเพื่อนฝูง กลายเป็นประชากรสัมพันธ์กับรัฐและพวกนักวิจัย กลายเป็นนักการเมืองสัมพันธ์กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง กลายเป็นผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง กลายเป็นทรัพยากรมนุษย์สัมพันธ์กับนักบริหารจัดการ นายจ้าง และผู้ค้าแรงงาน กลายเป็นศาสนิกสัมพันธ์กับผู้สอนศาสนา เมื่อพิจารณาแล้ว อัตตาที่แฝงอยู่ในตัวเรานั้น อาศัยความสัมพันธ์เล่นบทบาททำให้เรากลายเป็นอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่คน กลายเป็นชื่อที่เขาใช้เรียกตามเส้นแห่งสัมพันธ์นั้นเท่านั้นเอง และเราทั้งหลายก็หลงลืมความเป็นคนไปอย่างสิ้นเชิง

สถาบันการศึกษานี่แหละที่เป็นแหล่งหล่อหลอมให้ทุกคนลืมความเป็นคนเสีย แต่ให้ความสำคัญและปลูกฝังไปที่ความสัมพันธ์นั้นหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เน้นให้ทุกคนให้ความสำคัญมุ่งไปที่หน้ากากที่ทุกคนสวมใส่ ในที่สุดมนุษย์ทุกคนก็กลายเป็นเพียงคำร้องเรียกในเส้นใยแห่งความสัมพันธ์นั้น ก็คือเรียกตามหน้ากากที่แสดงนั้นนั่นเอง เช่น ลูก พ่อแม่ ญาติ เด็ก เพื่อน คนรัก ครู นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ นักการเมือง นักการศาสนา นายจ้าง ลูกจ้าง นักธุรกิจ โสเภณี ตำรวจ ทหาร ฯลฯ เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในสังคมโลกไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม

เราจึงไม่เข้าใจได้เลยว่า เหตุใดผู้คนจึงได้แสดงความโหดร้าย โหดเหี้ยม ทำร้าย และทำลายกันและกันได้ ก็เพราะอัตตานี้ไม่ได้ทำร้ายคนๆ นั้น แต่ที่มีการทำร้ายใครๆ ทั้งหลายได้ เพราะเขาทำร้ายและทำลายเส้นสัมพันธ์นี้ให้สิ้นไปต่างหาก เช่น นักการเมืองเอาเปรียบประชาชน เขารู้สึกตัวเขาเองคือ นักการเมือง และมองผู้อื่นเป็นผู้ถูกปกครอง ได้แก่ประชาชน เขากำลังครอบครองเส้นสายสัมพันธ์นั้นอยู่
อัตตาแสดงอำนาจผ่านเส้นสายสัมพันธ์นั้นอยู่ นักธุรกิจทำร้ายนักธุรกิจด้วยกันเอง นายจ้างทำร้ายลูกจ้าง สามีทำร้ายภรรยา ทหารทำร้ายประชาชน ตัวตนที่มองเห็นออกไปเห็นเพียงเส้นสายที่เรียกชื่อสัมพันธ์นั้นว่าเรามีอำนาจเหนือกว่า เรามีสิทธิที่จะทำลายเส้นสายสัมพันธ์นั้นได้ จึงไม่สงสัยที่นักการเมืองทั้งหลายพูดได้ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องจริง ทหารทำร้ายประชาชนได้ เพราะอัตตาที่แฝงอยู่ในคำว่าทหารนั้นแสดงอำนาจออกมาตามเส้นสัมพันธ์นั้นจึงสามารถทำร้ายเส้นสัมพันธ์นั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่ากี่คนก็ตาม แต่ก็มีความหมายเพียงหนึ่งเดียวคือเส้นสัมพันธ์ของคำว่าประชาชนเท่านั้น ความเป็นคนจึงถูกหลงลืมลบหายไปจากสารระบบแห่งความรู้สึกของความเป็นคนด้วยกัน เป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่อย่างน่าสลดใจ
ในครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล ท่านกาฬุทายีอำมาตย์ ซึ่งเป็นสหชาติเกิดวันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ภายหลังได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา สืบเนื่องมาจากพระราชบิดาของพระพุทธเจ้าทรงส่งท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วให้อาราธนากับเยือนกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อท่านเข้ามาบวช ท่านเห็นอัตตานั้นดิ้นรนแสดงอาการ เพราะในพระพุทธศาสนานั้นได้สอนให้ทุกคนวางความเป็นกายลักษณะนั้นเสีย ท่านรำพึงกับตนเองว่า
อีกตัวอย่าง มีศาสตราจารย์ที่ทรงภูมิความรู้ มีชื่อเสียงกระฉ่อนในสังคมคนหนึ่ง เข้าไปปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง เขาได้พกเอากายลักษณะนี้ไปอย่างเต็มที่ สวมใส่หน้ากากศาสตราจารย์นั้นอย่างแนบเนียน แนบแน่น สดใสและเด่นชัด ไม่ว่าจะย่าง จะเดิน จะสนทนา จะนั่ง จะทานก็มีความรู้สึกเสมอว่า ตนเป็นศาสตราจารย์มาปฏิบัติธรรม พอเห็นใครต่อใครไม่สนใจตนก็เริ่มรู้สึกว่า เขาเหล่านั้นไม่ให้เกียรติตน ยิ่งสนทนากับพระวิปัสสนาจารย์ ก็รู้สึกว่า พระวิปัสสนาจารย์ท่านนี้พูดภาษาบาลีก็ไม่ถูกต้อง ไม่อ้างตำรา ไม่แสดงขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม ไม่มีความรู้เอาเสียเลยจึงรู้สึกว่า ไม่คู่ควรต่อการจะมาเป็นสอนตน

โศลกว่า “กายลักษณะเป็นกายภายนอก” ปรากฏการณ์ที่เราท่านสัมผัสอยู่นี้เป็นกายลักษณะ เส้นสายสัมพันธ์นี้เป็นกายลักษณะ เป็นนิรมาณกาย หน้ากากตัวละครที่ทุกคนสวมใส่นี้เป็นกายลักษณะ เป็นกายที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ บางคนติดอยู่กับกายภายนอกนี้อย่างไม่ลืมหู ลืมตา ไม่ว่าไปที่ไหน อยู่อย่างไร ก็เข้าใจว่ากายภายนอกนี้เป็นกายที่แท้จริง ไม่สามารถขจัดออกไปได้ เพราะกายภายนอกนี้ถูกสังคมปลูกฝังไว้เสียจนแน่นหนา
เข้าไปสู่สถานที่ใดก็นำพากายภายนอกนี้ไปเสมอ นอกจากนั้นยังแสดงให้ผู้อื่นเห็นแต่กายลักษณะนี้อย่างเด่นชัด หากผู้ใดมองข้ามกายลักษณะนี้ไป อัตตาตัวตนที่แฝงอยู่ภายในจะแสดงอาการไม่พอใจออกมาให้เห็นทันที และพร้อมที่จะทำลายผู้นั้นได้ แรกเริ่มจะเริ่มตั้งปัญหาก่อนว่า “เราเป็นใคร มันเป็นใคร” ถ้าหากเห็นกายลักษณะของผู้นั้นเด่นกว่า ก็จะยินยอมให้ได้ แต่ถ้ากายลักษณะของผู้นั้นด้อยกว่า ก็จะหาวิธีทำให้คนนั้นได้รับรู้ว่า กายลักษณะของตนนั้นเป็นอย่างไร การไม่มองเห็นกายลักษณะของตนอยู่ในสายตานั้นมีจะได้รับบทเรียนอย่างไร มีผลเสียอย่างไร นี่คือผลลัพธ์ที่หน้ากากกระทำต่อหน้ากากด้วยกัน
ในครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล ท่านกาฬุทายีอำมาตย์ ซึ่งเป็นสหชาติเกิดวันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า ภายหลังได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา สืบเนื่องมาจากพระราชบิดาของพระพุทธเจ้าทรงส่งท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วให้อาราธนากับเยือนกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อท่านเข้ามาบวช ท่านเห็นอัตตานั้นดิ้นรนแสดงอาการ เพราะในพระพุทธศาสนานั้นได้สอนให้ทุกคนวางความเป็นกายลักษณะนั้นเสีย ท่านรำพึงกับตนเองว่า
“แต่ก่อนนั้นไม่ว่าจะไปไหนมีแต่คนรายลอบ ห้อมล้อม ชื่นชม สรรเสริญเยินยอ มีแต่คนเอาใจในฐานะอำมาตย์ผู้ใหญ่ ในฐานะคนสนิทของพระราชา ในฐานะผู้ทรงภูมิความรู้ ในฐานะสหชาติของพระพุทธเจ้า มาบัดนี้ไม่มีผู้ใดแสดงอาการอย่างนั้นกับเราเลย”
กายลักษณะเหล่านั้นได้ฝังเข้าไปในความรู้สึกของท่าน ก็ในพระพุทธศาสนา กายลักษณะนั้นไม่มีผู้ใดมองเห็นอีก ไม่มีผู้ใดให้ความสำคัญอีก อัตตาจึงรับไม่ได้ ตราบเมื่อท่านได้เข้าถึงและผ่านพ้นกายลักษณะนี้เข้าไปเห็นกายที่ลึกอยู่อีกชั้นหนึ่ง จึงเห็นอัตตานั้นทำงานอย่างสุดกำลังของมัน
อีกตัวอย่าง มีศาสตราจารย์ที่ทรงภูมิความรู้ มีชื่อเสียงกระฉ่อนในสังคมคนหนึ่ง เข้าไปปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง เขาได้พกเอากายลักษณะนี้ไปอย่างเต็มที่ สวมใส่หน้ากากศาสตราจารย์นั้นอย่างแนบเนียน แนบแน่น สดใสและเด่นชัด ไม่ว่าจะย่าง จะเดิน จะสนทนา จะนั่ง จะทานก็มีความรู้สึกเสมอว่า ตนเป็นศาสตราจารย์มาปฏิบัติธรรม พอเห็นใครต่อใครไม่สนใจตนก็เริ่มรู้สึกว่า เขาเหล่านั้นไม่ให้เกียรติตน ยิ่งสนทนากับพระวิปัสสนาจารย์ ก็รู้สึกว่า พระวิปัสสนาจารย์ท่านนี้พูดภาษาบาลีก็ไม่ถูกต้อง ไม่อ้างตำรา ไม่แสดงขั้นตอนของการปฏิบัติธรรม ไม่มีความรู้เอาเสียเลยจึงรู้สึกว่า ไม่คู่ควรต่อการจะมาเป็นสอนตน


เมื่อหน้ากากแสดงออกอย่างชัดเจนเช่นนั้น พระอาจารย์จึงถามว่า ท่านเป็นใคร เขาไม่สามารถตอบได้ว่า ตนเองเป็นใครกัน การจะตอบที่ว่า เขาเป็นศาสตราจารย์นั้นช่างเป็นคำตอบที่น่าละอาย ไม่ใช่คำตอบที่พระอาจารย์ต้องการทราบแน่ นั่นเป็นคำถามและคำตอบของเด็กๆ ที่เห็นหน้ากากหรือตุ๊กตาแล้วถามว่า นั่นเป็นอะไร ไม่มีความหมายใดต่อการปฏิบัติธรรม จนในที่สุดเขาเริ่มวางกายลักษณะไว้ ผ่านเข้าไปถึงกายสภาวะ
อีกตัวอย่างหนึ่ง ในการสอบปลายภาควิชาปรัชญา นักเรียนที่ลงเรียนในรายวิชานี้ต่างนั่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ที่นั่งของตน ศาสตราจารย์ผู้ปราดเปรื่องได้ยกเก้าอี้ที่ตัวเองนั่งขึ้นวางไว้บนโต๊ะแล้วตั้งคำถามเพียงข้อเดียวเพื่อเป็นข้อสอบปลายภาคว่า จงใช้ความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนในเทอมนี้อ้างเหตุผลเพื่อพิสูจน์ว่าเก้าอี้ที่อยู่ตรงหน้านี้ไม่มีอยู่จริง นักศึกษาต่างก้มหน้าก้มตาตอบคำถามอย่างเอาจริงเอาจัง นักศึกษาบางคนเขียนคำตอบยาวถึง ๓๐ หน้า ใช้เวลาเขียนเป็นชั่วโมง เพื่ออ้างเหตุผลพิสูจน์ว่าเก้าอี้ที่ตนนั่งอยู่ไม่ได้มีอยู่จริง แต่มีนักศึกษาอยู่คนหนึ่งใช้เวลาเพียง ๓๐ วินาทีในการตอบข้อสอบข้อนี้ แล้วก็ลุกออกจากห้องสอบไปเป็นคนแรก
โศลกว่า “กายสภาวะเป็นกายภายใน” สภาวะแห่งความรู้สึกถึงความเป็นกลุ่มก้อนที่เรียกว่า คน มนุษย์ หรือสัตว์ กลุ่มก้อนแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ (สัมโภคกาย) เมื่อถอดหน้ากากออกแล้ว ก็จะเหลือแต่ความเปลือยเปล่า เหลือแต่สภาวะที่เรียกว่า คน มนุษย์ หรือสัตว์ เหลือแต่ความอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่ติดอยู่กับความเป็นคนหรือสัตว์นั้น เหลือแต่สภาวะก้อนแห่ง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก้อนแห่งสภาวะนี้ทำหน้าที่ของมันจนกลายเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาขึ้นมาได้ กายสภาวะนี้ซ่อนอยู่ภายใต้หน้ากากนั้น
จึงไม่แปลกเลยที่นักปรัชญาตะวันตกคนสำคัญ ได้แก่ เดการ์ดส์ (Descartes นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส) ถึงได้ทิ้งวลีทองไว้ให้ชนชาวตะวันตกทั้งหลายว่า “I Think, Therefore I am” ก็เพราะเราคิดได้ ฉะนั้นจึงมีเราอยู่ เพราะเราคิดอย่างไร เราก็จะเป็นอย่างนั้น ตัวตนเราไม่ได้หายไปไหน นี่จึงกลายเป็นกรงขังชาวตะวันตกทั้งหมด ชาวตะวันตกทั้งหลายถูกวลีนี้หล่อหลอมให้เข้าใจอย่างนั้นจนไม่สามารถหลุดพ้นไปได้
โศลกว่า “กายภูตะเป็นกายธรรม” กายธรรมหรือธรรมกายเป็นกายแห่งสัจธรรม เป็นการสลายเส้นสายทั้งมวลที่ร้อยรัดให้กายสภาวะเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมาให้เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เมื่อเส้นสายที่ร้อยรัดขันธ์นี้ถูกสลายไป ก็จะเห็นกายภูตะซึ่งไม่หลงเหลืออะไรที่อัตตาจะเข้าไปยึดถือได้อีก เป็นเพียงความว่าง เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อยู่ภายในนั้น เป็นความสงบนิ่ง เป็นยถาภูตญาณทัสสนะ คือการเห็นแจ้งซึ่งความเป็นเช่นนั้นด้วยปัญญาญาณ ความเป็นเช่นนั้นที่ว่านี้ก็คือ ความว่างนั่นเอง การผ่านทะลุกายสภาวะที่เป็นขันธ์ภายใน ก็จะลุถึงกายภูตะ อันเป็นความว่างที่ไร้อะไรเข้าไปร้อยรัดได้ ก็เพราะไม่มีอะไรเหลือให้อัตตาเข้าไปยึดถือ ไม่เหลืออะไรให้อัตตาแสดงออกมาได้ อัตตาก็สูญสลายไปในที่สุด
โศลกว่า “พึงรักษาความเป็นเช่นนั้นไว้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง” ความร้อนที่จะทำให้เกิดเป็นไฟได้ก็ต้องรักษาสภาวะแห่งความร้อนนั้นไว้จนได้อุณหภูมิที่เหมาะสม ในที่สุดจากความร้อนก็จะกลายเป็นไฟขึ้นมาได้ ขอเพียงให้รักษาความร้อนนั้นไว้ให้ได้จังหวะ รอการเปลี่ยนแปลงให้ไฟปรากฏ ด้วยเหตุนี้ผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายก็พึงรักษาตบะนั้นให้ต่อเนื่อง รักษาสตินั้นไว้ให้ต่อเนื่อง ยาวนาน รอกาลแห่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตให้ปรากฏขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางจิตนี้ก็คือปัญญาที่จะเห็นแจ้งนั่นเอง เป็นไฟอย่างหนึ่งที่จะลุกโพลงขึ้นมาเมื่อสมาธิได้ที่ ดังนั้นเมื่อเห็นกายภูตะนี้แล้วก็พึงรักษาสภาวะนี้ไว้ให้ยาวนานจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
โศลกว่า “เพียงผ่านการกำหนดรู้ลมหายใจสั้นยาว ผ่านการกำหนดรู้ลมหายใจบางเบาเข้าออก” วิธีการที่จะผ่านจากกายลักษณะเข้าไปก็ด้วยการกำหนดลมหายใจสั้นยาว ความสั้นยาวของลมหายใจนั้นเป็นกายลักษณะที่รักษาหน้ากากเอาไว้ จนกระทั่งถึงระดับกำหนดรู้ลมหายใจบางเบา ลมหายใจที่บางเบานี้อยู่ในขั้นของกายสภาวะ เพราะความบางเบาของลมหายใจนั้นออกมาจากเส้นสายที่รักษาขันธ์ไว้ จนในที่สุดก็จะเข้าถึงกายภูตะ อันได้แก่ความสงบระงับความบางเบานั้น เมื่อเข้าถึงจุดนี้ได้แล้วพึงรักษาสภาวะแห่งความว่างนี้ให้ยาวนานจนกว่าจะมีความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความสงบระงับกายระดับที่ ๓ นี้ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาญาณ ความรู้แจ้งที่ไม่กลับกลาย การเห็นแจ้งซึ่งสัจธรรมทั้งหลายทั้งมวล สัจธรรมที่มีแต่ความว่างเท่านั้น
นี่คือ โศลกที่เก้าแห่งคัมภีร์สุวิญญมาลา

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไปเป็นวันที่ประกาศผลการสอบ ผลสอบที่ออกมานั้นปรากฏว่านักศึกษาที่ใช้เวลาในการตอบข้อสอบไม่ถึง ๑ นาที เป็นคนเดียวในชั้นที่ได้เกรด A ในรายวิชานี้ ทำให้ทุกคนสงสัยว่าทำไมเขาถึงได้ A ในรายวิชานี้ เขาตอบคำถามเพียงแค่ ๒ คำ คือ เก้าอี้คืออะไร “What's chair?” คำตอบของนักศึกษาคนนี้ก็เหมือนกับคำถามของพระวิปัสสนาจารย์ที่ถามศาสตราจารย์คนนั้นว่า “ท่านเป็นใคร” “Who are you?”
โศลกว่า “กายสภาวะเป็นกายภายใน” สภาวะแห่งความรู้สึกถึงความเป็นกลุ่มก้อนที่เรียกว่า คน มนุษย์ หรือสัตว์ กลุ่มก้อนแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ (สัมโภคกาย) เมื่อถอดหน้ากากออกแล้ว ก็จะเหลือแต่ความเปลือยเปล่า เหลือแต่สภาวะที่เรียกว่า คน มนุษย์ หรือสัตว์ เหลือแต่ความอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดที่ติดอยู่กับความเป็นคนหรือสัตว์นั้น เหลือแต่สภาวะก้อนแห่ง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก้อนแห่งสภาวะนี้ทำหน้าที่ของมันจนกลายเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาขึ้นมาได้ กายสภาวะนี้ซ่อนอยู่ภายใต้หน้ากากนั้น
ผู้ใดที่เข้าถึง เข้าใจ และเห็นกายสภาวะนี้ได้ ก็สามารถล่วงพ้นเขตอำนาจของเส้นสายสัมพันธ์ที่อัตตาแสดงผ่านได้ แต่กระนั้นอัตตาก็ได้วางกับดักไว้อีกชั้นหนึ่งเป็นเส้นสายสัมพันธ์ที่ผูกโยงขันธ์ ๕ นั้นไว้ อัตตาก็ทำงานผ่านเส้นสายสัมพันธ์ที่เป็นความรู้สึกนึกคิดว่า มีอยู่ เป็นอยู่ ดำรงอยู่ เพียงเท่านี้ก็ยังรักษาความเป็นเรา (เอตํ มม) ความเป็นของของเรา (เอโสหมสฺมิ) และความเป็นตัวเป็นตนของเรา (เอโส เม อตฺตา) เป็นกับดักที่ละเอียดอ่อนมาก เป็นกรงขังที่แยบยลมาก เป็นตาข่ายที่ถี่มาก

จึงไม่แปลกเลยที่นักปรัชญาตะวันตกคนสำคัญ ได้แก่ เดการ์ดส์ (Descartes นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส) ถึงได้ทิ้งวลีทองไว้ให้ชนชาวตะวันตกทั้งหลายว่า “I Think, Therefore I am” ก็เพราะเราคิดได้ ฉะนั้นจึงมีเราอยู่ เพราะเราคิดอย่างไร เราก็จะเป็นอย่างนั้น ตัวตนเราไม่ได้หายไปไหน นี่จึงกลายเป็นกรงขังชาวตะวันตกทั้งหมด ชาวตะวันตกทั้งหลายถูกวลีนี้หล่อหลอมให้เข้าใจอย่างนั้นจนไม่สามารถหลุดพ้นไปได้
เดการ์ดส์เข้าถึงกายสภาวะแล้ว และเห็นกายสภาวะนี้ช่างยิ่งใหญ่เหลือเกิน มันเป็นเหมือนมรดกแห่งพระเจ้าฉะนั้น ใครก็ตามที่เห็นกายสภาวะนี้แทบจะกล่าวได้ว่า เห็นพระเจ้าแล้ว เข้าถึงพระเจ้าแล้ว ก็เพราะเขาเห็นความเป็นตัวตนที่อยู่ข้างใน ตัวตนนี้ทำหน้าที่ผ่านความคิด การปรุงแต่ง อารมณ์ ความรู้สึกนั่นเอง นี่เป็นเพียงกายสภาวะหรือกายภายใน เมื่อเห็นกายสภาวะนี้อยู่ ผู้ปฏิบัติต้องไม่เข้าไปยึด ไม่ต่อต้าน ไม่ขัดขืน และไม่ปล่อยไปตามความคิดและอารมณ์นั้นๆ ใช้สติดูกายสภาวะนี้ไว้
โศลกว่า “กายภูตะเป็นกายธรรม” กายธรรมหรือธรรมกายเป็นกายแห่งสัจธรรม เป็นการสลายเส้นสายทั้งมวลที่ร้อยรัดให้กายสภาวะเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมาให้เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เมื่อเส้นสายที่ร้อยรัดขันธ์นี้ถูกสลายไป ก็จะเห็นกายภูตะซึ่งไม่หลงเหลืออะไรที่อัตตาจะเข้าไปยึดถือได้อีก เป็นเพียงความว่าง เป็นเพียงอาการที่แสดงออกเท่านั้น ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อยู่ภายในนั้น เป็นความสงบนิ่ง เป็นยถาภูตญาณทัสสนะ คือการเห็นแจ้งซึ่งความเป็นเช่นนั้นด้วยปัญญาญาณ ความเป็นเช่นนั้นที่ว่านี้ก็คือ ความว่างนั่นเอง การผ่านทะลุกายสภาวะที่เป็นขันธ์ภายใน ก็จะลุถึงกายภูตะ อันเป็นความว่างที่ไร้อะไรเข้าไปร้อยรัดได้ ก็เพราะไม่มีอะไรเหลือให้อัตตาเข้าไปยึดถือ ไม่เหลืออะไรให้อัตตาแสดงออกมาได้ อัตตาก็สูญสลายไปในที่สุด

โศลกว่า “พึงรักษาความเป็นเช่นนั้นไว้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง” ความร้อนที่จะทำให้เกิดเป็นไฟได้ก็ต้องรักษาสภาวะแห่งความร้อนนั้นไว้จนได้อุณหภูมิที่เหมาะสม ในที่สุดจากความร้อนก็จะกลายเป็นไฟขึ้นมาได้ ขอเพียงให้รักษาความร้อนนั้นไว้ให้ได้จังหวะ รอการเปลี่ยนแปลงให้ไฟปรากฏ ด้วยเหตุนี้ผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายก็พึงรักษาตบะนั้นให้ต่อเนื่อง รักษาสตินั้นไว้ให้ต่อเนื่อง ยาวนาน รอกาลแห่งการเปลี่ยนแปลงทางจิตให้ปรากฏขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางจิตนี้ก็คือปัญญาที่จะเห็นแจ้งนั่นเอง เป็นไฟอย่างหนึ่งที่จะลุกโพลงขึ้นมาเมื่อสมาธิได้ที่ ดังนั้นเมื่อเห็นกายภูตะนี้แล้วก็พึงรักษาสภาวะนี้ไว้ให้ยาวนานจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

โศลกว่า “เพียงผ่านการกำหนดรู้ลมหายใจสั้นยาว ผ่านการกำหนดรู้ลมหายใจบางเบาเข้าออก” วิธีการที่จะผ่านจากกายลักษณะเข้าไปก็ด้วยการกำหนดลมหายใจสั้นยาว ความสั้นยาวของลมหายใจนั้นเป็นกายลักษณะที่รักษาหน้ากากเอาไว้ จนกระทั่งถึงระดับกำหนดรู้ลมหายใจบางเบา ลมหายใจที่บางเบานี้อยู่ในขั้นของกายสภาวะ เพราะความบางเบาของลมหายใจนั้นออกมาจากเส้นสายที่รักษาขันธ์ไว้ จนในที่สุดก็จะเข้าถึงกายภูตะ อันได้แก่ความสงบระงับความบางเบานั้น เมื่อเข้าถึงจุดนี้ได้แล้วพึงรักษาสภาวะแห่งความว่างนี้ให้ยาวนานจนกว่าจะมีความเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความสงบระงับกายระดับที่ ๓ นี้ เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญาญาณ ความรู้แจ้งที่ไม่กลับกลาย การเห็นแจ้งซึ่งสัจธรรมทั้งหลายทั้งมวล สัจธรรมที่มีแต่ความว่างเท่านั้น

โศลกว่า “เราท่านมีอะไรที่น่าหวงแหนเล่า!” ไม่ว่ากายลักษณะ อันได้แก่หน้ากากทั้งหลาย เส้นสัมพันธ์ของโลก ไม่ว่ากายสภาวะ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลาย เส้นสายสัมพันธ์ในขันธ์ ไม่ว่ากายภูตะ ได้แก่ ความว่างที่ดำรงอยู่อย่างนั้น ความเคลื่อนไหวแห่งธรรมชาติ ไม่มีอะไรให้ต้องเข้าไปยึดถือ ไม่มีอะไรให้ต้องเป็นห่วงกังวล ไม่มีอะไรที่ต้องลุ่มหลง พระอริยเจ้าทั้งหลายจึงได้สละหน้ากาก ไม่ว่าจะหน้ากากกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร์ หรือหน้ากากอื่นใด เส้นสัมพันธ์ที่ผูกโยงให้ยึดมั่น ถือมั่น ตัดขาดเสียซึ่งอวิชชาที่ห่อหุ้มในกายทั้ง ๓ เราท่านทั้งหลายยังจะมีอะไรให้ต้องห่วงกังวลอีก พึงดำเนินตามรอยพระอริยะเถิด

นี่คือ โศลกที่เก้าแห่งคัมภีร์สุวิญญมาลา