วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

Greenheart Effect Solution


แนวทางการแก้ปัญหาภาวะใจกระจก
สำหรับแนวทางแก้ไขภาวะใจกระจก ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้โลกกายภาพและโลกแห่งจิตภาพรอดพ้นจากหายนะ ในที่นี้จะได้แสดงแนวทางทั้งที่เป็นระดับหลักการ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติไว้ ดังนี้

๑. ระดับหลักการ

ในระดับนี้ คือ ระดับสร้างความเข้าใจร่วมกันก่อน อยู่ในขั้นปรับทัศนคติให้ตรงกัน ในการปรับทัศนคตินั้น ต้องปรับที่กระบวนทัศน์ (Paradigm) ให้เข้าถึงกระบวนทัศน์ที่เรียกว่า กระบวนทัศน์ไม่ยึดมั่นถือมั่น (Non-Attachment Paradigm) หรือที่เรียกว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ” เป็นกระบวนทัศน์ที่ให้ความสำคัญต่อธรรมชาติทุกส่วน มองเห็นธรรมชาติสัมพันธ์กันและกันระหว่างกายภาพและจิตภาพ เข้าใจสรรพสิ่งอิงอาศัยกันและกันเกิดและดับ อาศัยระบบใยข่ายเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงและใช้ปัจจยการภาษาในการสื่อสารค้นหาความจริง

กระบวนทัศน์ที่ถูกต้องในระดับนี้ทำให้เข้าใจระบบของสรรพสิ่งอย่างถูกต้องตามลักษณะของระบบนิเวศคือ “ของเสียเท่ากับศูนย์” ทุกอย่างเป็นอาหารของกันและกัน กายภาพเป็นอาหารของจิตภาพ จิตภาพก็เป็นอาหารของกายภาพ หล่อเลี้ยงกันไปอย่างนี้

ถ้าหากกายภาพเป็นพิษ จิตภาพก็เสพอาหารพิษ จิตภาพที่เป็นพิษ ก็สร้างการทำลายล้างกายภาพต่อไป นี่เป็นภาวะใจกระจก ดังนั้นต้องสร้างวงจรห่วงโซ่อาหารของกายและจิตให้มีประโยชน์ บริสุทธิ์ สะอาด และสมดุล กายและจิตก็จะมีประโยชน์ บริสุทธิ์ สะอาด สงบ และสมดุล นี่เป็นระบบชีวิตนิเวศ (Bio-Ecology)


ในระดับหลักการนี้สิ่งที่จำเป็นก็คือ การคิดใคร่ครวญให้เห็นคุณ เห็นโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ให้เด่นชัด หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นโทษและไม่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็นตัวสร้างเรือนกระจก ในระดับความคิดนี้มีกรอบคือ
๑) ควบคุมความอยากที่มีต่อสิ่งที่พึงพอใจ (อิฏฐารมณ์) และสิ่งอันไม่พึงพอใจ (อนิฏฐารมณ์)
๒) ไม่มองเห็นสรรพสิ่งเป็นศัตรูที่จะต้องเอาชนะ เป็นการส่งเสริมอัตตา
๓) ไม่ปรุงแต่งจิตให้เห็นผิดเป็นชอบ


ในด้านหลักการนี้โดยสรุปก็คือ วิสัยทัศน์เชื่อมโยงและการคิดที่ถูกต้อง เมื่อตั้งฐานจิตไว้ชอบเช่นนี้ได้ ภาวะใจกระจกก็จะลดลงและเป็นไปตามวงจรปกติ


(อ่านต่อในดุษฎีบัณฑิตยานุสรณ์)



Greenheart Effect




ภาวะใจกระจก (Greenheart Effect)

ภาวะใจกระจก (Greenheart Effect) คือ ภาวะที่ใจถูกรมด้วยกิเลสอันหยาบ ภาวะที่ใจบกพร่องในการหักห้าม ละเมิดต่อมนุษยธรรมทั้ง ๕ ประการได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ผิดลูกเมียผู้อื่น โกหก และเสพสิ่งเสพติด ทำให้สิ่งแวดล้อมทางใจเป็นพิษ เกิดภาวะใจร้อน (Mental Warming)

เมื่อใจร้อน เกิดภาวะเรือนกิเลส (Defilement House Effect) ภาวะใจกระจกนั้นเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของสิ่งเร้าภายนอก (อายตนะภายนอก) กระทบ (ผัสสะ) กับเครื่องรับภายใน (อายตนะภายใน) กระตุ้นความรู้สึก (เวทนา) ให้อยากได้ กระหาย (ตัณหา) เมื่อได้มาแล้วก็ครอบครองยึดมั่น (อุปาทาน) ส่งทอดกระแสซึ่งกันและกัน อย่างนี้ เป็นภาวะที่เป็นระบบ เป็นกระบวนการลูกโซ่ (Negative Circle)


โดยปกติใจนั้นทำหน้าที่รู้สึก จำได้ หมายรู้ ปรุงแต่ง เมื่อปรุงแต่งเสร็จแล้วก็เกิดการรับรู้ แต่หลังจากที่ใจนั้นถูกความพอใจอย่างยิ่ง (อิฏฐารมณ์) และความไม่พอใจอย่างยิ่ง (อนิฏฐารมย์) เข้าครอบงำ อันเป็นกระแสกิเลสที่แรงเข้าทำลายระบบ พลังตัณหาก็เริ่มสร้างระดับความเข้มข้นมากขึ้น


เมื่อตัณหาเข้มข้น พลังการเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก็มีระดับเข้มข้นตาม พลังแห่งตัณหาและอุปาทานได้สร้างบรรยากาศใจกระจกขึ้นมาทันที กลายเป็นพลังพิษ พลังพิษนี้ทำลายระบบคุ้มครองใจของมนุษย์ที่เรียกว่า หิริและโอตตัปปะเสียสิ้น ทำให้คลื่นแห่งอกุศลจิตเข้าสู่ระบบของจิตอย่างเต็มที่ ใจก็สูญเสียศักยภาพที่จะซึมซับเอากระแสแห่งธรรมสัญญา (เหตุผล) ไว้ได้

ตามธรรมดา ใจก็มีพลังของมันในตัว เป็นพลังขับเคลื่อนให้มนุษย์สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างวิจิตรพิสดาร พลังสร้างสรรค์ในทางบวกนี้เรียกว่า “ฉันทะ” ขณะที่ฉันทะทำงาน ก็จะสร้างกระแสศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาขึ้นตามลำดับ แต่พอถูกคลื่นความพอใจอย่างแรงต่ออิฏฐารมย์และความไม่พอใจอย่างแรงต่ออนิฏฐารมย์เข้ามาเท่านั้น พลังทางลบก็เข้ามาทันที ตัณหาเข้ามารับช่วงพอดีทำปฏิกิริยาทางกรรมเคมี เกิดการยึดมั่นถือมั่นอย่างจริงจัง

เมื่อนั้นภพและชาติจึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน อัตตาเริ่มทำงานอย่างกำลังความสามารถ เริ่มมีการครอบครองหรือเริ่มมีการทำลายล้างขึ้นมาทันที ดุจดังภาวะเรือนกระจกของโลกที่เกิดจากการสร้างอุตสาหกรรม ปล่อยมลพิษ ตัดไม้ ทำลายป่า

กระบวนการปกติของโลกก็ทำปฏิกิริยารูปแบบใหม่ขึ้น ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสมีมากขึ้น ก๊าซเหล่านี้ทำให้เกิดความเข้มข้นของไอน้ำในบรรยากาศจนเกิดเป็นภาวะเรือนกระจก ทำลายระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตบนโลกไป ฉะนั้น


(อ่านต่อในดุษฎีบัณฑิตยานุสรณ์ ๕๓)