วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

องค์กรพุทธในอนาคต : รูปแบบการจัดการ



รู้เขารู้เรา

แนวคิดของพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้นคุ้นชินกับคำว่า “ปัจจุบันขณะ” ความคิดนี้ได้สร้างกรอบให้กับความคิดของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรสงฆ์

คำๆ นี้มิได้มีความหมายว่าให้อยู่กับปัจจุบันขณะทุกๆ อย่าง มีชีวิตอยู่เพียงแค่วันนี้ ทำวันนี้ให้ดีที่สุดนั้น ไม่ใช่วิธีคิดที่ดีที่สุดสำหรับชีวิต แต่เป็นบางช่วงของชีวิต เราไม่สามารถทำปัจจุบันให้ดีที่สุดโดยปราศจากการคิดถึงอนาคต เนื่องจากปัจจุบันคือการมาถึงของอนาคต อนาคตกลายเป็นปัจจุบันไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีใครต้านทานได้ เรียกได้ว่าเป็น สัจนิรันดร์

ถ้าหากไม่รู้ว่าอนาคตจะทำอะไร อะไรจะเกิดขึ้นเราย่อมไม่สามารถรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันได้ หากเราต้องการอยู่อย่างมั่นคงและมีความสุข เราไม่อาจอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียวได้ เราต้องอยู่กับอนาคตด้วย แต่มีมิติในเชิงลึกอยู่ เป็นกรอบเวลาอยู่ ปัจจุบันขณะคือ ขณะที่กำหนดวางแผนทำไว้แล้วและกระทำอย่างมุ่งมั่น ไม่มีจิตพะว้าพะวัง ไม่หลงลืมสติ นี่คืออยู่กับปัจจุบัน


แต่นัยยะที่สำคัญในที่นี้คือ การคิดเพื่อวางแผนในอนาคต พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่วางแผนทุกขั้นตอนของการทำงาน ไม่ว่าจะมีนโบบายให้พระภิกษุทั้งหลายทำ และพระองค์เองได้วางตารางเวลาเป็นพุทธกิจวัตรประจำวันไว้ ได้แก่
๑. เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ
๒. ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
๓. ในเวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย
๔. ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย
๕. ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผล
นั่นคือการวางแผน การคิดเพื่อดำเนินไปในอนาคต การคิดเพื่ออนาคตจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก เพราะเป็นเสมือนเข็มทิศ เป้าหมายให้ดำเนินไป ตามตรรกะสำนวนที่ว่า “สิ่งที่คุณคิดกำหนดสิ่งที่คุณกระทำ สิ่งที่คุณกระทำกำหนดสิ่งที่คนอื่นจะมีปฏิกิริยากับคุณ



ด้วยเหตุนี้ องค์กรพุทธในอนาคตจึงต้องวางแผนและดำเนินการ บัดนี้ Internet กำลังมีบทบาทอย่างมากทั้งในด้านการติดต่อประสานงานและทางด้านการศึกษา ในอนาคตการใช้ชีวิตของผู้คนจะขาด Internet ไม่ได้ ข้อมูลใน Web Site จะกลายเป็นแหล่งความรู้สำหรับการเรียนรู้ ผู้ที่เข้าถึงข้อมูลได้มากกว่ากันก็จะได้เปรียบในการปฏิบัติการ

เมื่อเป็นเช่นนี้องค์กรพุทธก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีในการบริหารจัดการ ต่อไปในอนาคตไม่ไกลนี้ สถานศึกษาจะเป็นเพียงศูนย์บัญชาการทางการศึกษาเท่านั้น การติดต่อกันก็จะผ่านช่อง Education Web Paged ผู้ศึกษาจะต้อง Download ข้อมูลมาศึกษา ถ้าไม่เข้าใจก็ต้อง Chat หรือ ส่ง Massaged ผ่าน Internet มา ส่วนผู้สอนก็จะใช้ช่องทางการส่งสัญญาณดาวเทียมการศึกษาสนทนากันไปสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปได้และกำลังเกิดขึ้นแล้วในสังคม ยิ่งไม่ต้องพูดถึงหากมีเหตุการณ์พันผวนทางบ้านเมืองไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองหรือด้านความปลอดภัย หรือด้าน Save Cost สังคมจะใช้วิธีการนี้

แนวทางในการบริหารจัดการองค์กรพุทธจะต้องเปลี่ยนจากการจัดการเชิงเดี่ยวมาเป็นเชิงกลุ่ม (United Treat) อาจรวมสองหรือสามตำบล จัดให้มีศูนย์การศึกษาทางพระพุทธศาสนาที่ได้มาตรฐานหนึ่งแห่ง คณะสงฆ์ภายในเขตรับผิดชอบต้องร่วมมือกันสร้าง โดยขอความร่วมมือจากภาครัฐและประชาชนสนับสนุนอย่างจริงจัง ใช้หลักการบริหารเข้าไปดำเนินการในเชิงรุก


สถานที่ศึกษาทางพระพุทธศาสนาจะต้องมีขยายเป็นลำดับโดยจัดเป็นระบบโควตา ให้มีศูนย์การศึกษาในระดับอำเภอและในระดับจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งควรจะมีสักกี่แห่งก็พิจารณากันตามความเหมาะสม สำหรับในระดับจังหวัดนั้นศูนย์การศึกษาจะต้องมีขยายเป็นลำดับโดยจัดเป็นระบบโควตา

สำหรับในระดับจังหวัดนั้นศูนย์การศึกษาจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบของการจัดการที่ครบวงจร ต่อจากนั้นเมื่อจบการศึกษาจากศูนย์การศึกษาในระดับจังหวัดก็จะใช้ระบบโควตา เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยสงฆ์ที่มีวิทยาเขตอยู่ทั่วประเทศ

ถึงเวลาแล้วที่ต้องเปลี่ยน