วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

วัฒนธรรมสัญญะ

แนวคิดที่ค้นหาจุดพิกัดของวัฒนธรรมที่กำลังครอบคลุมความคิดมนุษย์ การรู้เท่าทันย่อมปรับตัวถูก และจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นเป็น
จนกระทั่งมาถึง โบดริยาร์ด (Baudrillard) เป็นนักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางอีกคนหนึ่ง เขาวิเคราะห์วัฒนธรรมสังคมว่าเป็นผลของการปฏิสัมพันธ์ที่ไม่มีวันสิ้นสุดของสัญญะ (Sign) วัฒนธรรมสัญญะนั้นความหมายของภาษาอยู่ที่สัญญะทางภาษา "linguistic sign" ซึ่งประกอบด้วย "signified" (ตัวความหมาย) และ "signifier" (สัญญะที่สื่อความหมาย) เช่น Benz หรือ Lois Victorian เป็นสัญญะ (Signifier) ความมีระดับและหรูหราเป็นตัวความหมาย (signified) ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายกับสัญญะไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางภาษาหรือแบบแผนใดๆ แต่เป็นเรื่องของความบังเอิญของภาษา ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะกับความหมายที่ซับซ้อนและมีนัยสำคัญหลายมิติ เช่น สัญญะไม่ได้ยึดติดอยู่กับความหมายใดความหมายหนึ่งในลักษณะคงที่ แต่มันเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสัญญะชุดอื่นอีกจำนวนหนึ่ง เช่น จดหมาย (letter) ได้ผลิตความหมายและสัญญะมากมาย เช่น อักษร (alphabet) ข้อความ (message) หรือข้อตกลง (agreement) หรือกริยาที่แปลว่าเขียน (Writing) หรือทำเครื่องหมาย (Remark) ก็ได้ ตัวความหมายเป็นสิ่งที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างสัญญะใดๆ และไม่ใช่สิ่งที่แน่นอนตายตัว เช่น เค็ม ไม่อาจหมายถึงเพียงเกลือเท่านั้น แต่หมายถึงขี้เหนียว ปูนเค็มก็ได้ หรือไก่ก็ไม่ได้หมายถึงสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์โดยการออกไข่ แต่อาจหมายถึง ไก่หลง ไก่อ่อน ไก่แก่ ไก่วัด ไก่แจ้ เป็นต้น ดังนั้น ความหมายจึงเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารหรือการตีความที่ดำเนินต่อไปในความคิด ความเข้าใจของผู้รับสาร การทำความเข้าใจความหมายใดๆ มีนัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสื่อสาร การวิเคราะห์ และการตีความทางวัฒนธรรม โดยเนื้อหาของสารที่ได้รับการสื่อออกมาโดยตะรางแล้วผู้รับเข้าใจได้ เป็น "ความหมายที่ปรากฏ" (present) ส่วนความหมายอื่นที่แทรก แฝง ซ่อนหรือตีความหมายต่อได้อีก ถือเป็น "ความหมายที่ขาดหาย" (absent) ไป
สำหรับทัศนะที่เกี่ยวกับโลกหลังสมัยใหม่เป็นโลกที่เขาเรียกว่า simulacra (ภาพเสมือน) ที่ซึ่งพวกเราไม่อาจจำแนกความแตกต่างระหว่าง "ความจริง" (reality) และ "ความจริงเสมือน" (simulation) ออกจากกันได้อีกแล้ว ภาพเสมือน (simulacra) มันไม่ได้เป็นตัวแทนความจริงของสิ่งใดเลย เว้นแต่ตัวของพวกมันเอง มันไม่มีความจริงอื่นอีกซึ่งมันอ้างอิงถึง เช่น ดิสนีย์แลนด์ และโทรทัศน์ ที่ได้สร้างความจริงของอเมริกาขึ้นมา และยิ่งไปกว่านั้นสงครามอ่าวเปอร์เชียก็คล้ายกับสงครามในวีดีโอเกมเท่านั้น
การทำลายระบบความเชื่อที่ผ่านมาและการมองวิวัฒนาการทางกระบวนทัศน์ของคนในยุคโลกาภิวัตน์ของนักปรัชญาหลังนวยุคนั้น เริ่มมาถูกทางแล้ว เพราะการมองที่ภาษาที่เป็นตัวอันตรายต่อระบบความคิด การให้วาทกรรมเล็กทำลายระบบวาทกรรมใหญ่ได้เป็นชัยชนะของเสรีภาพทางความคิด อันตรายแห่งอำนาจความรู้ที่อยู่ในวาทกรรมกำลังเข้าไปครอบคลุมความคิด การเห็นสังคมปัจจุบันว่ากำลังตกเป็นสังคมบริโภคสัญญะอันเกิดจากวาทกรรม ไม่ทราบว่าสิ่งไหนจริงเท็จ สังคมกำลังกลายเป็นสังคมเสมือนจริง ดังที่เหลาจื้อกำลังตกใจกลัวในขณะที่เขาฝันว่า เขาเป็นผีเสื้อ หรือผีเสื้อกำลังฝันว่าเป็นเขา เหล่านี้เป็นการศึกษาสังคมที่คลำทางไปเรื่อยๆ เป็นวัฒนธรรมคลำทาง ดังคนตาบอดคลำช้าง พอคลำถูกที่ใดก็แสดงความคิดออกมาอย่างนั้น ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ก็ได้รับการยอมรับว่า ระบบโครงสร้างทางความเชื่อตามกระบวนทัศน์เดิมนั้นได้ถูกสั่นคลอนและปิดฉากลงแล้ว เป็นการเริ่มต้นแสวงหาแนวทางใหม่ที่จะนำพามนุษยชาติให้รอดพ้น
จนแล้วจนรอดกระบวนทางความคิดของปรัชญาหลังนวยุคก็กำลังเข้ามาถึงจุดตีบตัน ที่กำลังจนแต้มอยู่กับสับสน เพราะยิ่งแสวงหาก็เกรงว่าจะกลับไปเริ่มที่จุดเดิมอีก สิ่งที่แสวงหามาทั้งหมดจะไร้ความหมาย เป็นวัฏจักรที่กลืนกินตัวมันเองหรือไม่ การเข้าไปทราบความจริงที่ปรากฏในสังคมนั้นจะเป็นเพียงแค่วัฒนธรรมแห่งอุดมคติไปหรือไม่ (Ideology) อุดมคติเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาทั้งจากการซ่อนเร้นโลกทัศน์ และจากภาษา อุดมคติทำให้เรามีความเชื่อและความรู้สึกที่ทำให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อุดมคติหรือโลกทัศน์อันหนึ่งหมดไป ก็มีอุดมคติใหม่หรือโลกทัศน์ก็มาแทน แท้ที่จริงมนุษย์โลกดำรงอยู่ในอุดมคติเสมอใช่หรือไม่ ปัญหาจึงมีว่า โลกแห่งอุดมคตินั้นลงตัว แต่โลกแห่งความเป็นจริงนั้นมิได้เป็นอย่างนั้น การเขียนชีวิตที่งดงามตามตัวอักษรและอุดมคตินั้นทำได้ไม่ยากนัก แต่การดำเนินชีวิตให้งดงามตามอุดมคตินั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด หลายคนในสังคมปัจจุบันพูดด้วยอุดมคติ แต่มิได้เข้าใจอุดมคติ เพราะอุดมคติไม่ใช่ดีหรือเลว แต่มันเป็นวิถีทางที่สิ่งต่างๆ เป็นไป ไม่ใช่สิ่งที่ใช้พิพากษา แต่มันเพียงคำอธิบายถึงภาวะที่เราทั้งหลายดำรงอยู่เท่านั้น ดังที่ Levinas กล่าว “ให้มองโลกอย่างที่เราเป็น มิใช่มองมันอย่างที่มันเป็น” (อ่านฉบับเต็มในวารสารบัณฑิตศาส์น มมร เล่มที่ ๑๑ )

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551

คัมภีร์ห่วโซ่จักรวาล

แสงสุริยาโผล่ข้ามพ้นขอบฟ้าบูรพา
วิถีชีวิตของผู้คนและสรรพสิ่งเริ่มต้นอีกครา
มันเป็นวัฏจักรที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปร
ไม่มีเบื้องต้นและที่สุด
รุ่งอรุณเป็นเพียงเศษเสี้ยวของกาลเวลา
เทียบเท่าแสงกระพริบของหิ่งห้อย
ท่ามกลางจักรวาลอันยิ่งใหญ่
แล้วชีวิตผู้คนเล่าจะเปรียบเป็นสิ่งใด?
องค์หญิงและทินเล่ออกจากบ้านของสตรีที่ต้องเผชิญกับ
โลกที่คล้ายดั่งจะโหดร้ายและอยุติธรรม แล้วนี่เธอจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างไร
วิถีชีวิตของคนผู้หนึ่งใช่ว่าจะเป็นเรื่องคำนวณได้ง่ายจริงๆ (อ่านต่อฉบับหน้า)