ตถาทัศนวัชรยาน
ผศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์
พุทธศาสนาวัชรยานในทิเบตเป็นวิวัฒนาการของพุทธตันตระในอินเดีย พุทธตันตระเป็นการปฏิบัตินำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็นพลังที่เป็นบวกได้ เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่เป็นลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆ ที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดี การปฏิบัติวัชรยานสามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น นี่จึงเป็นความสงสัยต่อความเป็นไปได้ของหลักการและแนวทางดังกล่าวแห่งตันตระหรือวัชรยานที่นำเอากิเลสมาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติธรรม
ชาววัชรยานตันตระนั้น เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยชั้นสูง ควบคุมตัวเองได้อย่าดี มีพลังสติเต็มเปี่ยม มีพลังสุตะสูงส่ง พลังเหล่านี้คือ สุตพละ สติพละ ปัญญาพละสูง การปฏิบัติวัชรยานเพื่อให้เกิดญาณสายฟ้า ข้อควรระวังอย่างยิ่งคือ ผู้ปฏิบัติต้องมีสติชั้นสูง สิ่งนี้ไม่เป็นสาธารณะต่อผู้ที่ขาดสติ ดังนั้น สายนี้จึงเรียกตัวเองว่า สายกระซิบความหูต่อหู ( Whispering Line ) เป็นการกระซิบตัวต่อตัวเท่านั้น ไม่ใช่การสอนในที่สาธารณะ ซึ่งผู้ไม่มีพลังพอเพียงก็จะถูกทำลายย่อยยับ
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะโดยมากมักคิดด้วยระบบตรรกะระบบหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อกิเลสโจมตี ปัญญาก็หมด ก็คือคนโง่ ถูกตัณหาราคะทำร้าย ยิ่งเข้าไปยิ่งเกี่ยวก็ยิ่งโง่นี่เป็นตรรกะ แต่อีกตรรกะหนึ่ง เมื่อมีสติเข้มแข็ง พอมีกิเลสเข้ามาสัมผัส ก็ไม่หวั่นไหว มีความตั้งมั่น มีสมาธิ เจตนาที่ดี ความเข้าใจที่ถ่องแท้และพอเพียง ก็สามารถทำให้กิเลสถูกดูดพิษร้ายออกได้ ไม่กลายเป็นปัญหาอีก เมื่อไม่เป็นปัญหาพลังก็เสริมสร้าง ดังนั้นกิเลสนั่นเอง ที่กลับกลายเป็นปัญญา ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับฐานมนสิการ ๔ ประการด้วย ได้แก่
๑) ฐานมโนนิเวศน์ คือการนำจิตเข้าไปสู่ฐานเดิม ให้จิตรับทราบว่า อะไรเข้ามา ก็รู้ อะไรเคลื่อนไหว ก็รู้ อะไรมีผลกระทบ ก็รู้ เพราะจิตเข้าประจำฐานเดิม คนทั่วไปปล่อยจิตไปตามกระแสจึงไม่เห็นความเคลื่อนไหวของอารมณ์
๒) ฐานวจีจิต คือ การเข้าไปตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น เรียกว่า รู้จิต เห็นจิต สนทนากับจิต เป็นวาจาที่พร่ำอบรมจิต ให้จิตจดจ่ออยู่ที่ฐานให้มั่นคง ถ้าไม่ใช้พลังวจีจิต จิตจะเคลื่อนออกจากฐานได้ง่าย ฐานวจีจิตจะช่วยพยุงฐานแรกให้เข้มแข็ง
๓) ฐานวิเวกจิต คือฐานสงบเงียบ ไร้ศัพท์สำเนียงใดๆ ทุกอย่างที่จรมา ไม่ว่าเป็นกิเลสหรือไม่ใช่กิเลส ต่างสลายกลายเป็นความบริสุทธิ์ กิเลส ตัณหา ราคะ ที่เข้ามาแปรเปลี่ยนเป็นพลังที่บริสุทธิ์หมดสิ้น เพราะเข้าถึงสภาวะแห่งความไร้สัญลักษณะใดๆ ไร้มโนคติ ไร้อัตตา ไร้สังสารวัฏ ไร้อดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเพียงความวิเวกอยู่ภายใน
๔) ฐานยถาภูตทัศนจิต คือฐานที่รู้แจ้งถึงสรรพสิ่งในมีความเป็นจริงตามสภาวะของมันอย่างนั้น ไม่มีผลต่อจิตอีกต่อไป ดังเช่นเป็นการบรรลุธรรมของพระพาหิยะเมื่อได้ฟังพระดำรัสว่า “ดูก่อนพาหิยะ เมื่อตาเห็นรูป สักแต่เห็น หูได้ยินเสียง สักแต่ได้ยิน จิตรู้ธรรมารมณ์ใด สักแต่รู้ เมื่อนั้นเธอจะไม่ปรากฏในโลกนี้ โลกหน้า ในโลกทั้งสอง” ดุจดังการบรรลุธรรมของพระอานนท์ที่เห็นแจ้งในสิ่งที่เป็นจริงอันเกิดจากจิตที่ผ่านภาวะแห่งฐานจิตวิเวก
วัชรยานมุ่งหมายต่อฐานทั้ง ๔ ประการนี้ โดยใช้เครื่องมือทุกประการที่มีอยู่ ยิ่งเครื่องมือมีพลังแรง สติและปัญญาก็แรงตามไปด้วย ในที่นี้ใช้กิเลสเป็นเครื่องมือ เพราะกิเลสมีอยู่กับตนอยู่แล้ว ความต่างกันกับบุคคลธรรมดา ก็คือ ถือเอากิเลสเป็นเป้าหมาย วัชรยานถือกิเลสเป็นเครื่องมือ เป็นการใช้เคมีชีวะเปลี่ยนเคมีชีวะ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในออกมา มิใช่เกิดจากการพร่ำสอนจากภายนอกเข้าไป เมื่อเคมีชีวะสัจจะเปลี่ยน ทุกอย่างจะเปลี่ยนตาม ทุกกิริยาอาการจะเป็นจริยธรรมโดยอัตโนมัติทันที
ผศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์
พุทธศาสนาวัชรยานในทิเบตเป็นวิวัฒนาการของพุทธตันตระในอินเดีย พุทธตันตระเป็นการปฏิบัตินำความรู้สึกที่เป็นลบมาแปลงให้เกิดเป็นพลังที่เป็นบวกได้ เป็นที่เข้าใจกันได้ว่าในสภาพของการรู้แจ้งจะไม่ถูกทำลายด้วยพลังที่เป็นลบต่างๆ ไม่มีพิษใดๆ ที่จะทำให้สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นพิษไปด้วย สภาพการรู้แจ้งนี้เป็นสภาพซึ่งไม่มีข้อแตกต่างระหว่างดีกับไม่ดี การปฏิบัติวัชรยานสามารถทำให้เราสามารถบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น นี่จึงเป็นความสงสัยต่อความเป็นไปได้ของหลักการและแนวทางดังกล่าวแห่งตันตระหรือวัชรยานที่นำเอากิเลสมาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติธรรม
ประเด็นนี้กลายเป็นเป้าโจมตีของพุทธศาสนานิกายอื่นๆ ที่มองเห็นว่า การทำเช่นนี้เป็นการนำพระพุทธศาสนาไปเกลือกกลั้วกับกิเลส เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ เพราะพระพุทธศาสนานั้นให้หลีกเลี่ยงกิเลส การใช้ตัณหาถมตัณหานั้นไม่อาจเป็นไปได้ พึงทราบก่อนว่า ตันตระกับพุทธตันตระนั้นเป็นคนละอย่างกัน และยิ่งเป็นวัชรยานก็ยิ่งมีลักษณะที่พิเศษขึ้นไปอีก ดุจดังการที่พระพุทธศาสนายกระดับการปฏิบัติออกจากสองทางที่เป็นทางสุดโต่ง ซึ่งก็เป็นอีกทางหนึ่งอยู่นั่นเอง แต่เป็นทางพิเศษ วัชรยานนั้นเป็นวิธีปฏิบัติของผู้ที่พร้อมไปด้วยวินัยแล้ว คือสมบูรณ์พร้อมไปด้วยพลังของสติ พลังของมนสิการอย่างพอเพียง พลังอันนี้จะเปลี่ยนกิเลสให้เป็นโพธิ์ได้ กล่าวคือเมื่อกิเลสปรากฏก็ตามรู้ ตามเห็นมันด้วยพลังของสติ พลังของมนสิการอย่างพอเพียง ดังนั้นพลังอันนี้จะเปลี่ยนกิเลสให้เป็นโพธิได้ เมื่อนั้นก็จะเกิดความสว่างทางปัญญา หากปราศจากกิเลสก็ไม่มีปัญญา กิเลสนั่นเองทำให้ได้ปัญญา
สำหรับสิทธาถือการเสพมัจฉา มังสะ เมรยะ เมถุน และข้าวสาลี กินเหล้าดื่มสุราเพื่อปลุกพลังชีวิตให้ตื่นตัวขึ้นให้มีพลังขึ้น เป็นเพียงพลังหนึ่ง คือให้อาหารเหล่านั้นเข้าไปเป็นพลัง (Energy) เพื่อทำให้ชีวิตมี “ไฟ” สูง ชาวตันตระนอกเหนือเวลาปฏิบัติแล้ว เป็นผู้มีระเบียบวินัยชั้นสูง ดังนั้นอาการที่มีพลังยุ่งกับพลังต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ใช่ความเหลวแหลก แต่มีการเขียนให้เหลวไหล เลอะเลือนไป เพราะผู้เขียนถึงไม่ทราบถึงเจตนาและแนวทาง ดุจดังการเห็นคนเดินบนมีดได้ ผู้ไม่เชื่อและทำไม่ได้ก็ต้องเขียนให้เห็นว่า นั่นเป็นการหลอกลวง ซึ่งเป็นการโจมตีที่อคติต่อสิ่งที่ตนไม่ทราบ
ชาววัชรยานตันตระนั้น เป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยชั้นสูง ควบคุมตัวเองได้อย่าดี มีพลังสติเต็มเปี่ยม มีพลังสุตะสูงส่ง พลังเหล่านี้คือ สุตพละ สติพละ ปัญญาพละสูง การปฏิบัติวัชรยานเพื่อให้เกิดญาณสายฟ้า ข้อควรระวังอย่างยิ่งคือ ผู้ปฏิบัติต้องมีสติชั้นสูง สิ่งนี้ไม่เป็นสาธารณะต่อผู้ที่ขาดสติ ดังนั้น สายนี้จึงเรียกตัวเองว่า สายกระซิบความหูต่อหู ( Whispering Line ) เป็นการกระซิบตัวต่อตัวเท่านั้น ไม่ใช่การสอนในที่สาธารณะ ซึ่งผู้ไม่มีพลังพอเพียงก็จะถูกทำลายย่อยยับ
กิเลสตัณหาไม่ใช่อะไรอื่น แท้จริงเป็นรูปหนึ่งของปัญญา เพียงแต่เมื่อพลังไม่พอ กิเลสก็ทำลายผู้นั้น เมื่อกิเลสปรากฏขึ้นในจิตใจมนุษย์ เกิดฟั่นเฟือนทางสติทันที ต่อจากนั้นก็คือการยึดถือความทุกข์ทรมานต่าง ๆ แต่ถ้าหากกิเลสสัมผัส ในขณะที่กิเลสสัมผัสมีความไม่ฟั่นเฟือน มีความตั้งมั่นของสติ มีเจตนารมณ์บริสุทธิ์ มีเจตนาที่ผ่องแผ้ว พลังของสติยิ่งมากตามพลังของกิเลส กิเลสมาก กิเลสลึก ปัญญาก็จะมาก ปัญญาก็จะลึก
ดังนั้นปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงกิเลส เพราะว่าตามธรรมดา ไม่ว่าชาววัชรยาน หรือชาวไหนๆ มนุษย์ทุกผู้นามที่ไม่ได้บรรลุพระอริยะต่างก็มีกิเลสกันอยู่แล้ว วิถีโลกมนุษย์ก็ร่วมเพศกันอยู่แล้ว มีราคะ โทสะ โมหะเป็นเจ้าเรือนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ามนุษย์ ไม่รู้จักใช้พลังอันนั้นให้ก่อเกิดประโยชน์ทางศาสนธรรม พอได้ยินว่าการนำเมถุนมาเป็นทางของการปฏิบัติ ก็ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็กระทำอยู่แล้ว เป็นเหมือนกับการอยู่กับกองของสกปรกแต่พอมาคนบอกว่า อยู่กับของสกปรกอย่างมีศิลปะสิ กลับไม่ชอบใจที่จะฟังและไม่พอใจที่จะได้ยิน จึงทำให้สูญเสียโอกาสที่จะได้เรียนรู้ไป ไม่เข้าใจต่อขบวนการเหล่านี้ ไม่มีเจตนาบริสุทธิ์ต่อธรรมะ ไม่มีความมุ่งมั่น ไม่ศรัทธาต่อทางของความหลุดรอดและข้อสำคัญคือ ไม่มีพลังของสติพอเพียงที่จะเดินผ่านสิ่งเหล่านี้อย่างอิสระ
ดังนั้นผู้คนจึงหนี หลบเลี่ยงกิเลส การที่เราหลบเลี่ยงกิเลสไปโดยที่เราไม่สามารถเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ นั่นคือ เมื่อมันหวนกลับมาใหม่ก็ทวีขึ้น แต่วิธีการของวัชรยานคือการเข้าไปสัมผัสกับกิเลส ราคะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี กิเลสชนิดหนึ่งชนิดใดที่ปรากฏขึ้นเมื่อเข้าไปสัมผัสมัน เป็นอันเดียวกับมัน เมื่อเป็นเช่นนี้พลังของสติปัญญาจะดูดพิษร้ายออกมาได้ เรื่องนี้ไม่สู้จะเป็นสาธารณะต่อผู้ที่ไม่เจริญภาวนา คิดเอาด้วยเหตุผลสามัญย่อมเข้าใจได้ไม่สมบูรณ์
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะโดยมากมักคิดด้วยระบบตรรกะระบบหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อกิเลสโจมตี ปัญญาก็หมด ก็คือคนโง่ ถูกตัณหาราคะทำร้าย ยิ่งเข้าไปยิ่งเกี่ยวก็ยิ่งโง่นี่เป็นตรรกะ แต่อีกตรรกะหนึ่ง เมื่อมีสติเข้มแข็ง พอมีกิเลสเข้ามาสัมผัส ก็ไม่หวั่นไหว มีความตั้งมั่น มีสมาธิ เจตนาที่ดี ความเข้าใจที่ถ่องแท้และพอเพียง ก็สามารถทำให้กิเลสถูกดูดพิษร้ายออกได้ ไม่กลายเป็นปัญหาอีก เมื่อไม่เป็นปัญหาพลังก็เสริมสร้าง ดังนั้นกิเลสนั่นเอง ที่กลับกลายเป็นปัญญา ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับฐานมนสิการ ๔ ประการด้วย ได้แก่
๑) ฐานมโนนิเวศน์ คือการนำจิตเข้าไปสู่ฐานเดิม ให้จิตรับทราบว่า อะไรเข้ามา ก็รู้ อะไรเคลื่อนไหว ก็รู้ อะไรมีผลกระทบ ก็รู้ เพราะจิตเข้าประจำฐานเดิม คนทั่วไปปล่อยจิตไปตามกระแสจึงไม่เห็นความเคลื่อนไหวของอารมณ์
๒) ฐานวจีจิต คือ การเข้าไปตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น เรียกว่า รู้จิต เห็นจิต สนทนากับจิต เป็นวาจาที่พร่ำอบรมจิต ให้จิตจดจ่ออยู่ที่ฐานให้มั่นคง ถ้าไม่ใช้พลังวจีจิต จิตจะเคลื่อนออกจากฐานได้ง่าย ฐานวจีจิตจะช่วยพยุงฐานแรกให้เข้มแข็ง
๓) ฐานวิเวกจิต คือฐานสงบเงียบ ไร้ศัพท์สำเนียงใดๆ ทุกอย่างที่จรมา ไม่ว่าเป็นกิเลสหรือไม่ใช่กิเลส ต่างสลายกลายเป็นความบริสุทธิ์ กิเลส ตัณหา ราคะ ที่เข้ามาแปรเปลี่ยนเป็นพลังที่บริสุทธิ์หมดสิ้น เพราะเข้าถึงสภาวะแห่งความไร้สัญลักษณะใดๆ ไร้มโนคติ ไร้อัตตา ไร้สังสารวัฏ ไร้อดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเพียงความวิเวกอยู่ภายใน
๔) ฐานยถาภูตทัศนจิต คือฐานที่รู้แจ้งถึงสรรพสิ่งในมีความเป็นจริงตามสภาวะของมันอย่างนั้น ไม่มีผลต่อจิตอีกต่อไป ดังเช่นเป็นการบรรลุธรรมของพระพาหิยะเมื่อได้ฟังพระดำรัสว่า “ดูก่อนพาหิยะ เมื่อตาเห็นรูป สักแต่เห็น หูได้ยินเสียง สักแต่ได้ยิน จิตรู้ธรรมารมณ์ใด สักแต่รู้ เมื่อนั้นเธอจะไม่ปรากฏในโลกนี้ โลกหน้า ในโลกทั้งสอง” ดุจดังการบรรลุธรรมของพระอานนท์ที่เห็นแจ้งในสิ่งที่เป็นจริงอันเกิดจากจิตที่ผ่านภาวะแห่งฐานจิตวิเวก
วัชรยานมุ่งหมายต่อฐานทั้ง ๔ ประการนี้ โดยใช้เครื่องมือทุกประการที่มีอยู่ ยิ่งเครื่องมือมีพลังแรง สติและปัญญาก็แรงตามไปด้วย ในที่นี้ใช้กิเลสเป็นเครื่องมือ เพราะกิเลสมีอยู่กับตนอยู่แล้ว ความต่างกันกับบุคคลธรรมดา ก็คือ ถือเอากิเลสเป็นเป้าหมาย วัชรยานถือกิเลสเป็นเครื่องมือ เป็นการใช้เคมีชีวะเปลี่ยนเคมีชีวะ เป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในออกมา มิใช่เกิดจากการพร่ำสอนจากภายนอกเข้าไป เมื่อเคมีชีวะสัจจะเปลี่ยน ทุกอย่างจะเปลี่ยนตาม ทุกกิริยาอาการจะเป็นจริยธรรมโดยอัตโนมัติทันที
กระบวนการเหล่านี้เป็นเหมือนการใช้ไฟดับไฟ การกรอกน้ำเข้าหูเพื่อเอาน้ำออกหู การฉีดวัคซีน (เชื้อโรค) เพื่อป้องกันเชื้อ การฉีดเซรุ่ม (พิษงู) เพื่อป้องกันพิษงู เป็นเหมือนแพทย์ผู้ฉลาดถือยาพิษแล้วใช้ยาพิษให้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรค สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องอนุมานเอาไม่ได้ตามตรรกะธรรมดา เพราะพิษก็ต้องเป็นพิษ ไม่อาจทราบได้ว่า ถ้าใช้พิษจะดับพิษได้ ความเข้าใจเฉพาะฝ่ายบวก โดยไม่เข้าใจลักษณะฝ่ายลบจึงไม่สามารถเห็นอีกมุมหนึ่งได้ ตามหลักคณิตศาสตร์สิ่งที่เป็นลบสองตัวทำให้สิ่งนั้นเป็นบวกได้ บุคคลที่อ่านและศึกษาวัชรยานหรือพุทธตันตระต้องศึกษาในแง่มุมนี้ คือแง่มุมลบเพื่อให้เป็นบวก ทั้งหมดนี้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัชรยาน
(ติดตามในหนังสือพระพุทธศาสนามหายาน)