แนวทางการแก้ปัญหาภาวะใจกระจก
สำหรับแนวทางแก้ไขภาวะใจกระจก ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้โลกกายภาพและโลกแห่งจิตภาพรอดพ้นจากหายนะ ในที่นี้จะได้แสดงแนวทางทั้งที่เป็นระดับหลักการ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติไว้ ดังนี้
๑. ระดับหลักการ
ในระดับนี้ คือ ระดับสร้างความเข้าใจร่วมกันก่อน อยู่ในขั้นปรับทัศนคติให้ตรงกัน ในการปรับทัศนคตินั้น ต้องปรับที่กระบวนทัศน์ (Paradigm) ให้เข้าถึงกระบวนทัศน์ที่เรียกว่า กระบวนทัศน์ไม่ยึดมั่นถือมั่น (Non-Attachment Paradigm) หรือที่เรียกว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ” เป็นกระบวนทัศน์ที่ให้ความสำคัญต่อธรรมชาติทุกส่วน มองเห็นธรรมชาติสัมพันธ์กันและกันระหว่างกายภาพและจิตภาพ เข้าใจสรรพสิ่งอิงอาศัยกันและกันเกิดและดับ อาศัยระบบใยข่ายเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงและใช้ปัจจยการภาษาในการสื่อสารค้นหาความจริง
กระบวนทัศน์ที่ถูกต้องในระดับนี้ทำให้เข้าใจระบบของสรรพสิ่งอย่างถูกต้องตามลักษณะของระบบนิเวศคือ “ของเสียเท่ากับศูนย์” ทุกอย่างเป็นอาหารของกันและกัน กายภาพเป็นอาหารของจิตภาพ จิตภาพก็เป็นอาหารของกายภาพ หล่อเลี้ยงกันไปอย่างนี้
ถ้าหากกายภาพเป็นพิษ จิตภาพก็เสพอาหารพิษ จิตภาพที่เป็นพิษ ก็สร้างการทำลายล้างกายภาพต่อไป นี่เป็นภาวะใจกระจก ดังนั้นต้องสร้างวงจรห่วงโซ่อาหารของกายและจิตให้มีประโยชน์ บริสุทธิ์ สะอาด และสมดุล กายและจิตก็จะมีประโยชน์ บริสุทธิ์ สะอาด สงบ และสมดุล นี่เป็นระบบชีวิตนิเวศ (Bio-Ecology)
ในระดับหลักการนี้สิ่งที่จำเป็นก็คือ การคิดใคร่ครวญให้เห็นคุณ เห็นโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ให้เด่นชัด หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นโทษและไม่เป็นประโยชน์ สิ่งนี้เป็นตัวสร้างเรือนกระจก ในระดับความคิดนี้มีกรอบคือ
๑) ควบคุมความอยากที่มีต่อสิ่งที่พึงพอใจ (อิฏฐารมณ์) และสิ่งอันไม่พึงพอใจ (อนิฏฐารมณ์)
๒) ไม่มองเห็นสรรพสิ่งเป็นศัตรูที่จะต้องเอาชนะ เป็นการส่งเสริมอัตตา
๓) ไม่ปรุงแต่งจิตให้เห็นผิดเป็นชอบ
๑) ควบคุมความอยากที่มีต่อสิ่งที่พึงพอใจ (อิฏฐารมณ์) และสิ่งอันไม่พึงพอใจ (อนิฏฐารมณ์)
๒) ไม่มองเห็นสรรพสิ่งเป็นศัตรูที่จะต้องเอาชนะ เป็นการส่งเสริมอัตตา
๓) ไม่ปรุงแต่งจิตให้เห็นผิดเป็นชอบ
ในด้านหลักการนี้โดยสรุปก็คือ วิสัยทัศน์เชื่อมโยงและการคิดที่ถูกต้อง เมื่อตั้งฐานจิตไว้ชอบเช่นนี้ได้ ภาวะใจกระจกก็จะลดลงและเป็นไปตามวงจรปกติ
(อ่านต่อในดุษฎีบัณฑิตยานุสรณ์)