โดย
ผศ.ดร.สุวิญ รักสัตย์
บทนำ
การได้ศึกษาอะไรก็ตามหากได้ศึกษาถึงรากเหง้าของสิ่งนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ ก็ทำให้สามารถนำมาประกอบการพินิจพิจารณามากยิ่งขึ้น ตามหลักของได้ความจริงที่แท้ก็ต้องมีข้อมูลหลักฐานที่จริงก่อน จึงจะได้ความจริง รู้ความจริง หรือเห็นความจริง โดยมากแล้วการศึกษาเรื่องใดๆ ก็มักแต่เป็นการศึกษาจากความรู้และความจริงที่อยู่บนกระดาษ จึงทำให้ไม่อาจเห็นบริบทของสังคมได้ว่า แท้จริงนั้น การได้ไปเห็นและสัมผัสกับความจริง สามารถทดแทนตัวหนังสือที่อธิบายเป็นเล่มๆ ได้
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยได้จัดไปทัศนศึกษาเสริมเนื้อหาในหลักสูตรหลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา ในรายวิชาพระพุทธศาสนากับศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การศึกษารายวิชานี้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมในประเทศลาวมากขึ้น หลังจากที่นักศึกษาได้ศึกษาจากการบรรยายของอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว อันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความคิด และทัศนะต่อการศึกษาในรายวิชานี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้แก่นักศึกษา ในวันที่ ๓-๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในลาว
ถ้าหากถือเอาตามประวัติศาสตร์แห่งการสร้างพระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าตามหลักฐานทางคัมภีร์ที่ได้ระบุไว้ ก็ถือได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นได้เข้ามาสู่ดินแดนบริเวณแถบในปลายพุทธกาลแล้ว เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่า พระพุทธศาสนานั้นเข้ามาสู่ดินแดนที่ชื่อว่า สุวรรณภูมิ ซึ่งก็รวมถึงประเทศลาวด้วย เริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าอโศก พ.ศ. ๒๓๘ จากนั้นพระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองอยู่ ณ บริเวณแถบนี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยผลัดเปลี่ยนเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและมหายาน
นับตั้งแต่สมัยเจ้าสุวรรณคำผงขึ้นเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕-๑๘๙๖ ทรงมีพระ โอรส ๖ พระองค์ ใน ๖ พระองค์นั้น เจ้าฟ้างุ้มมีลักษณะผิดแผกจากพระโอรสองค์อื่น คือมีฟันและลิ้นเป็นสีดำ โหรทำนายว่าเป็นกาลกินีจึงได้นำไปลอยแพ บังเอิญแพได้มาถึงเมืองขอม ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาปาสมันตเถระ ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของพระเจ้าอินทปัตถ์ และได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอินทปัตถ์ พระนามว่า พระนางแก้วยอดฟ้า (ฟ้าหญิงคำหยาด)
ต่อมาบิดาให้ไปตีเมืองล้านช้าง และสามารถยึดเมืองล้านช้างได้ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ แล้วขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๓ ของราชวงศ์ล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี แผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้างในยุคนี้เป็นที่เด่นชัดอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือพระนางแก้วยอดฟ้าพระมเหสีผู้ทรงเคยนับถือพระพุทธศาสนามาก่อน เมื่อครั้งอยู่ในเมืองขอมทรงเห็นประชาชนนับถือผีสางเทวดา และฆ่าสัตว์บูชาเซ่นสรวงอยู่ในล้านช้าง จึงได้ทูลขอให้พระเจ้าฟ้างุ้มไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านช้างจากประเทศขอม
พระเจ้าฟ้างุ้มทรงเห็นด้วยจึงให้ทูตไปทูลขอนิมนต์พระสงฆ์ที่ขอมเข้ามาเผยแผ่ในประเทศลาว ในกาลครั้งนี้ได้มีพระสงฆ์ผู้แตกฉานในพระธรรมและพระไตรปิฎกจากขอม นำโดยพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมกับพระสงฆ์อีก ๒๐ รูปและนักปราชญ์ผู้เรียนจบ พระไตรปิฎกอีก ๓ คน และพระราชทานพระพุทธรูป "พระบาง" และหน่อพระศรีมหาโพธิ์ และช่างหล่อพระพุทธรูปไป เมื่อคณะสงฆ์เดินทางมาถึงเวียงจันทน์ เจ้าเมืองจันทน์ได้นิมนต์พักสมโภชพระบางอยู่ ๓ คืน ๓ วัน แล้วคณะสงฆ์ก็เดินทางต่อไปยังเวียงคำ ชาวเมืองเวียงคำได้อาราธนาพระเถระไปในเมืองแล้วสมโภชนพระบางกัน ๓ คืน ๓วัน ครั้นจะเดินทางต่างปรากฏว่าพระพุทธรูปไม่สามารถยกไปได้ จึงเสี่ยงทายว่า “เทวดาอารักษ์คงปรารถนาจะให้พระบางอยู่ที่เวียงคำ” จากนั้นพระเถระและผู้ติดตามก็ได้เดินทางไปยังเมืองเชียงทอง ครั้นถึงเชียงทอง ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟ้างุ้มและพระมเหสี พระเถระและคณะจึงได้เผยแผ่พุทธศาสนาในลาวจนเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคง
ถ้าหากถือเอาตามประวัติศาสตร์แห่งการสร้างพระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าตามหลักฐานทางคัมภีร์ที่ได้ระบุไว้ ก็ถือได้ว่า พระพุทธศาสนานั้นได้เข้ามาสู่ดินแดนบริเวณแถบในปลายพุทธกาลแล้ว เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการว่า พระพุทธศาสนานั้นเข้ามาสู่ดินแดนที่ชื่อว่า สุวรรณภูมิ ซึ่งก็รวมถึงประเทศลาวด้วย เริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าอโศก พ.ศ. ๒๓๘ จากนั้นพระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองอยู่ ณ บริเวณแถบนี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยผลัดเปลี่ยนเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและมหายาน
นับตั้งแต่สมัยเจ้าสุวรรณคำผงขึ้นเสวยราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๕-๑๘๙๖ ทรงมีพระ โอรส ๖ พระองค์ ใน ๖ พระองค์นั้น เจ้าฟ้างุ้มมีลักษณะผิดแผกจากพระโอรสองค์อื่น คือมีฟันและลิ้นเป็นสีดำ โหรทำนายว่าเป็นกาลกินีจึงได้นำไปลอยแพ บังเอิญแพได้มาถึงเมืองขอม ได้รับการเลี้ยงดูจากพระมหาปาสมันตเถระ ต่อมาได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในราชสำนักของพระเจ้าอินทปัตถ์ และได้อภิเษกสมรสกับพระธิดาของพระเจ้าอินทปัตถ์ พระนามว่า พระนางแก้วยอดฟ้า (ฟ้าหญิงคำหยาด)
ต่อมาบิดาให้ไปตีเมืองล้านช้าง และสามารถยึดเมืองล้านช้างได้ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖ แล้วขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๒๓ ของราชวงศ์ล้านช้าง ทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี แผ่อาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่อาณาจักรล้านช้างในยุคนี้เป็นที่เด่นชัดอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือพระนางแก้วยอดฟ้าพระมเหสีผู้ทรงเคยนับถือพระพุทธศาสนามาก่อน เมื่อครั้งอยู่ในเมืองขอมทรงเห็นประชาชนนับถือผีสางเทวดา และฆ่าสัตว์บูชาเซ่นสรวงอยู่ในล้านช้าง จึงได้ทูลขอให้พระเจ้าฟ้างุ้มไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านช้างจากประเทศขอม
พระเจ้าฟ้างุ้มทรงเห็นด้วยจึงให้ทูตไปทูลขอนิมนต์พระสงฆ์ที่ขอมเข้ามาเผยแผ่ในประเทศลาว ในกาลครั้งนี้ได้มีพระสงฆ์ผู้แตกฉานในพระธรรมและพระไตรปิฎกจากขอม นำโดยพระมหาปาสมัตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมกับพระสงฆ์อีก ๒๐ รูปและนักปราชญ์ผู้เรียนจบ พระไตรปิฎกอีก ๓ คน และพระราชทานพระพุทธรูป "พระบาง" และหน่อพระศรีมหาโพธิ์ และช่างหล่อพระพุทธรูปไป เมื่อคณะสงฆ์เดินทางมาถึงเวียงจันทน์ เจ้าเมืองจันทน์ได้นิมนต์พักสมโภชพระบางอยู่ ๓ คืน ๓ วัน แล้วคณะสงฆ์ก็เดินทางต่อไปยังเวียงคำ ชาวเมืองเวียงคำได้อาราธนาพระเถระไปในเมืองแล้วสมโภชนพระบางกัน ๓ คืน ๓วัน ครั้นจะเดินทางต่างปรากฏว่าพระพุทธรูปไม่สามารถยกไปได้ จึงเสี่ยงทายว่า “เทวดาอารักษ์คงปรารถนาจะให้พระบางอยู่ที่เวียงคำ” จากนั้นพระเถระและผู้ติดตามก็ได้เดินทางไปยังเมืองเชียงทอง ครั้นถึงเชียงทอง ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าฟ้างุ้มและพระมเหสี พระเถระและคณะจึงได้เผยแผ่พุทธศาสนาในลาวจนเจริญรุ่งเรืองประดิษฐานมั่นคง
....
จุดเปลี่ยนระหว่างพุทธศาสนาในจีนกับลาว
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่า พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบมากเพียงนี้แต่พระพุทธศาสนาในประเทศลาวกลับไม่ไม่สูญหายไปเหมือนกับอีกหลายประเทศที่ถูกปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ในที่นี้จะนำเสนอสาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาอยู่ได้ในประเทศลาว ดังนี้
สาเหตุที่ ๑ การให้โอกาสพระสงฆ์เผยแผ่ร่วมกับผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์
สาเหตุนี้ทำให้พระพุทธศาสนาฟื้นฟูขึ้นมาได้ก็เพราะบทบาทของพระเถระที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั้งหลายได้ทำหน้าที่ให้ธรรมแฝงไปกับหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์นั่นเอง จากปรากฏการณ์ที่ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ใช้พระสงฆ์ลาวเป็นเครื่องมือเผยแผ่คำสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนลาวรุ่นใหม่เพื่อล้างสมองให้รับแนวคิดของคอมมิวนิสต์ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนั้น กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีอย่างไม่คาดคิด จะเห็นได้ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ได้ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ในประเทศจีนมาเผยแผ่อุดมคติแบบคอมมิวนิสต์ร่วมด้วยกับผู้นำลัทธิจึงทำให้เยาวชนที่ถูกล้างสมองไม่ได้เห็นภาพของพระภิกษุ เพียงไม่นานศาสนาก็ถูกลบไปจากความทรงจำ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากประเทศจีน เป็นการล้มล้างสถาบันสงฆ์อย่างสิ้นเชิง
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่า พระพุทธศาสนาได้รับผลกระทบมากเพียงนี้แต่พระพุทธศาสนาในประเทศลาวกลับไม่ไม่สูญหายไปเหมือนกับอีกหลายประเทศที่ถูกปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ในที่นี้จะนำเสนอสาเหตุที่ทำให้พระพุทธศาสนาอยู่ได้ในประเทศลาว ดังนี้
สาเหตุที่ ๑ การให้โอกาสพระสงฆ์เผยแผ่ร่วมกับผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์
สาเหตุนี้ทำให้พระพุทธศาสนาฟื้นฟูขึ้นมาได้ก็เพราะบทบาทของพระเถระที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั้งหลายได้ทำหน้าที่ให้ธรรมแฝงไปกับหลักการของลัทธิคอมมิวนิสต์นั่นเอง จากปรากฏการณ์ที่ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ใช้พระสงฆ์ลาวเป็นเครื่องมือเผยแผ่คำสอนลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนลาวรุ่นใหม่เพื่อล้างสมองให้รับแนวคิดของคอมมิวนิสต์ที่กำลังมาแรงอยู่ในขณะนั้น กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ดีอย่างไม่คาดคิด จะเห็นได้ว่า ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ไม่ได้ให้โอกาสแก่พระสงฆ์ในประเทศจีนมาเผยแผ่อุดมคติแบบคอมมิวนิสต์ร่วมด้วยกับผู้นำลัทธิจึงทำให้เยาวชนที่ถูกล้างสมองไม่ได้เห็นภาพของพระภิกษุ เพียงไม่นานศาสนาก็ถูกลบไปจากความทรงจำ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากประเทศจีน เป็นการล้มล้างสถาบันสงฆ์อย่างสิ้นเชิง
แนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์ต้องการให้ทุกคนต้องเสมอภาคกัน สถาบันทางสังคม เช่น สถาบันศาสนาและพระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่ขัดขวางอุดมการณ์ ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่นับถือแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์นี้มองเห็นศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นตัวขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของการจัดการสังคมภายใต้แนวคิดนี้ ประเทศจีนแม้ว่า จะเป็นประเทศพระพุทธศาสนามาก่อนแต่บริบททางสังคมไม่เหมือนกับประเทศลาว อีกทั้งผู้นำแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ เหมาเจอตุง ไม่ได้ใช้แนวทางที่คอมมิวนิสต์ในประเทศลาวใช้ คือ ให้พระภิกษุเป็นผู้เผยแพร่คำสอนจึงทำให้พระพุทธศาสนาในประเทศจีนนั้นหมดไป สถาบันสงฆ์ล้มอย่างไม่เหลือต้นตอ ในประเทศลาวแม้ว่า พระสงฆ์จะถูกบังคับให้นับถือแนวคิดนี้และเผยแผ่แนวคิดนี้ แต่ประชาชนชาวลาวที่เป็นผู้ใหญ่ได้ให้ความเคารพต่อพระสงฆ์ เชื่อฟังพระสงฆ์ สถาบันสงฆ์แม้จะไม่มี แต่ความเป็นพระสงฆ์ยังคงมี ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงดำรงอยู่คู่กับประชาชนชาวลาวได้อย่างกลมกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา กล่าวคือ พระสงฆ์คือที่พึ่งพิงของชาวบ้าน ชาวบ้านคือที่พึ่งพิงของพระสงฆ์ ไม่ต้องผ่านสถาบันศาสนาใดๆ
(อ่านต่อในหนังสือบัณฑิตวิทยาลัย มมร ออกเร็วๆ นี้)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น