โศลกที่ยี่สิบ "เคล็ดไม่ลับ"
กินน้อย นอนน้อย
พูดน้อย ปฏิบัติมาก
นี่เป็นแนวทางของการปฏิบัติ
ที่จะได้ผลมากและรวดเร็ว
สิ่งที่พึงระวังคือ วาจา
เพราะวาจาเป็นแม่เหล็กดึงดูด
เกาะเกี่ยวอารมณ์ได้ดียิ่ง
ยิ่งพูดมากก็ยิ่งฟุ้งมาก
ฟุ้งมากก็เสียพลังงานมาก
เทคนิคในการปฏิบัติ
ความนิ่งเป็นแรงขับที่ดีที่สุด
“สุขใดยิ่งกว่าความสงบไม่มี” เป็นพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ พระโยคาวจรต่างปฏิบัติเพื่อให้ได้เข้าถึงความสงบที่อยู่ภายใน ความสงบนี้เป็นสภาวะที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกลงไปภายในความเป็นอยู่ของจิตนี้ เป็นความสงบที่เย็นยิ่ง ความเย็นนี้ไม่มีภาษาใดเข้าถึง แม้แต่ภาษาที่ใช้ในภาษาบาลี สันติและปัสสัทธิ ก็ไม่ได้ตรงกับสภาวะความเย็นนี้ได้เลย ความเย็นนี้มีอยู่ภายในขันธ์นี้นั่นแหละ แต่จะทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงความเย็นนี้ได้ ความเย็นนี้เกิดจากการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ เกิดจากการเข้าถึงความว่างในขันธ์นี้ ความว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์นั่นแหละเป็นความเย็นที่กล่าวนี้ เป็นความสงบอย่างแท้จริง
ความสงบเงียบนี้เป็นสิ่งสุดท้ายที่มีอยู่ในตน และเป็นพื้นฐานของชีวิตที่แท้ แต่ภายในความเงียบนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวของจิต เพราะในความเงียบนั้นไม่เหลืออะไรให้ยึดได้อีก จิตจึงไม่สามารถจะอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้คนทั้งหลายจึงพากันแสวงหาผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อเป็นที่ยึดเกาะ แม้ว่าแสวงหาบุคคลไม่ได้ เขาก็แสวงหาสิงห์สาลาสัตว์มาเป็นเพื่อน มาให้จิตได้เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยว ถ้าหาสิ่งใดไม่ได้อีก เขาก็ต้องแสวงหาหน้าที่ การงาน กวี บทเพลง ภาพวาด ศิลปะ จมอยู่กับสิ่งนั้นๆ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร หรือแม้ไม่สนใจในสิ่งเหล่านี้ เขาก็อยู่กับตนเอง พูดอยู่กับตนเอง สนทนากับตนเอง ความเงียบนี้ใกล้เคียงกับความบ้า เพราะเมื่อใดที่ยิ่งเงียบท่านก็ดูเหมือนใกล้บ้าเท่านั้น เพราะท่านจะได้ยินตัวท่านเองกำลังสนทนากับตัวของท่าน แล้วท่านก็จะเริ่มพูดกับตัวท่านเอง หรือไม่ท่านก็เริ่มได้ยินต้นไม้ใบหญ้า ได้ยินก้อนหิน แม่น้ำ ลำธาร พูดด้วยกับท่าน นี่แหละที่แสดงให้เห็นว่า แม้กระทั่งท่านอยู่เพียงผู้เดียว ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านกำลังเข้าถึงความเงียบสงบที่อยู่เบื้องลึกภายในชีวิตของท่านเลย ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีความหมายขึ้นมาเพื่อที่จะสื่อสารกับทุกสิ่งที่อยู่รอบข้างท่าน เพื่อไม่ให้ท่านรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกถึงความเงียบที่อยู่ข้างใน มิฉะนั้นท่านกำลังจะบ้านั่นเอง
โศลกว่า “สิ่งที่พึงระวังคือ วาจา” ความเงียบสงบจากศัพท์สำเนียงที่ก้องกังวานอยู่ภายในจิตใจนี่แหละคือเส้นทางนำไปสู่ความสุขที่แท้จริง วาจาที่กล่าวออกไปนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่แสดงออกทางเสียงเท่านั้น แท้จริงมันพรั่งพรูออกมาจากความคิดที่อยู่ภายในอันมหาศาล มันถูกคุมขังอยู่ภายในจิตใจนี้ ทำให้จิตใจนี้เต็มไปด้วยถ้อยคำนับไม่ถ้วน สิ่งที่ต้องระวังก็คือวาจานี้ ไม่เพียงเฉพาะวาจาที่พูดออกไปทางปาก แต่เป็นวาจาที่ใจคิดพูด บางคนไม่พูดทางปาก แต่ถ้อยคำนั้นไหลออกมาอย่างไม่หยุดหย่อนทางใจ อย่างนี้ไหนเลยจะสงบได้ ไหนเลยจะมีความสุขที่แท้จริงได้
วาจาเป็นแม่เหล็กที่ดูดเอาทุกสิ่งเข้ามา เพราะวาจาเป็นสิ่งที่ใช้เชื่อมระหว่างสิ่งต่างๆ เข้ามาถึงกันและกัน เข้ามาเกี่ยวข้องกันและกัน จะรู้สึกได้ว่า ยิ่งพูดมากก็ยิ่งฟุ้งมาก ยิ่งฟุ้งมากก็ยิ่งเสียพลังงานมาก พลังงานที่สั่นสะเทือนทางวาจาได้เป็นกระแสแม่เหล็กดูดเอาทุกสิ่งเข้ามา และยังถูกพลังวาจาของผู้อื่นดูดไปด้วย กระแสแม่เหล็กนี้จะถูกนำมาปั่นภายในจิตใจอีก กลายเป็นกระแสไฟฟ้าหมุนปั่นอยู่ภายในจิตใจ เป็นไดนาโมที่มีพลัง ยิ่งปั่นก็ยิ่งไม่สงบ ยิ่งเกิดอารมณ์ ความรู้สึกดีใจ เสียใจไปกับวาจานั้น
โศลกว่า “เทคนิคในการปฏิบัติ ความนิ่งเป็นแรงขับที่ดีที่สุด” การฝึกสงบปาก สงบคำ เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาก เพราะในขณะที่ไร้ศัพท์สำเนียงในจิต เมื่อนั้นก็ย่อมเข้าถึงความดำรงอยู่ เป็นเพียงความว่างแห่งขันธ์ เป็นเพียงความว่างที่เรียกว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนาก็อนัตตา สัญญาก็อนัตตา สังขารก็อนัตตา วิญญาณก็เป็นอนัตตา การเข้าถึงความเป็นอนัตตาของขันธ์นี้ ความสงบนิ่งที่รักษาไว้นี้จะนำมาซึ่งพลังอันยิ่งใหญ่ เป็นเหมือนการนำความขุ่นออกจากน้ำ เมื่อนั้นน้ำก็ใสสะอาด น้ำที่ใสสะอาดเป็นน้ำบริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพมาก มีประโยชน์มาก มีคุณค่ามาก
คนโดยมากมี ๒ ประเภทที่ใช้ความคิดและภาษาเข้ามาอธิบายความบริสุทธิ์ไร้ความขุ่นนี้
ประเภทหนึ่ง อธิบายว่าความบริสุทธิ์นี้ไม่มีความสำคัญอะไร ความขุ่นที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่เห็นว่าขุ่นตรงไหน ก็ไม่เห็นเป็นอะไรกับการอยู่ในความขุ่นที่ว่านั้น
ประเภทที่สอง อธิบายความบริสุทธิ์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีอะไรที่ดีหลังจากที่ทำให้น้ำบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรอีก จะเฝ้ารออะไรเกิดจากน้ำบริสุทธิ์นั้นเป็นเรื่องเหลวไหล น้ำก็คือน้ำเท่านั้นเอง
คนทั้ง ๒ ประเภทนี้ก็คือ คนทั้งหลายที่อยู่ภายในโลกนี้ ประเภทหนึ่งปฏิเสธการปฏิบัติที่ให้อยู่อย่างเงียบสงบ มองความเงียบสงบเป็นการสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ประเภทที่สอง ไม่เชื่อว่าจะมีอะไรพิเศษจากความความเงียบสงบ มองเห็นว่าเบื้องหลังความเงียบสงบจะมีอะไรเกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องเหลวไหล
ในการปฏิบัติ พลังแห่งความสงบนิ่งนั้นมีประโยชน์อย่างมากในการขับเคลื่อนให้เข้าถึงขีดขั้นของการดำรงอยู่เท่านั้น เป็นเพียงการดำรงอยู่ ไม่มีตัวตน ไม่มีความคิด ไม่มีอารมณ์ มีแต่การดำรงอยู่ที่บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง สงบเท่านั้น พลังแห่งความสงบนั้นเป็นตัวช่วยลดไดนาโมที่ปั่น ให้พลังแม่เหล็กที่ดูดพลังภายนอกเข้ามา แต่กลับเป็นการใช้แม่เหล็กนั้นให้เป็นประโยชน์เสียเอง แม่เหล็กนั้นมีความเย็นในตัวของมัน ก็ใช้ความเย็นของแม่เหล็กนั้นให้ดำดิ่งเข้าไปภายในที่ลึกลงไป ความเย็นของแม่เหล็กจะทำให้เห็นทะลุตัวตน ทะลุความคิด ทะลุอารมณ์ว่า เป็นแต่เพียงความว่างเท่านั้น เป็นแต่ความสงบระงับเท่านั้น นี่แหละความสุขที่ไม่มีสุขใดยิ่งกว่า
มีเหตุการณ์หนึ่ง หลังจากที่พระเจ้าอชาตศัตรูสำนึกผิดที่ได้กระทำบาปหนัก คือ การกระทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์พระราชบิดา จึงได้เที่ยวแสวงหานักปราชญ์เพื่อให้ได้ธรรมโอสถรักษาความเร่าร้อนแห่งบาปกรรมนั้น เสด็จไปหาครูที่โด่งดังสำนักต่างๆ แล้วก็ไม่สามารถบรรเทาความทุกข์นั้นได้ จนกระทั่งพระองค์ได้รับคำแนะนำจากหมอชีวกโกมารภัจจ์ให้เสด็จไปหาพระพุทธเจ้าที่สวนมะม่วงดู เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าไปในสวนมะม่วงที่ร่มรื่น พระองค์ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงประทับที่นี่พร้อมกับพระภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูป แต่เหตุไฉนจึงไม่ได้ยินเสียงสนทนา พูดคุย หรือปรึกษากันบ้าง จิตที่หวาดกลัวก็เกิดขึ้นเกรงว่าจะเป็นกลลวงพระองค์มาฆ่าของหมอชีวกและพวกหรือไม่ จึงได้ตรัสถามหมอชีวกถึงความเงียบสงบดังกล่าว หมอชีวกจึงได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายนั้นโปรดความเงียบสงบ
มิใช่เป็นการโปรดความเงียบสงบเหมือนกับคนที่ชอบอยู่ในที่เงียบๆ แต่เป็นความเงียบสงบโดยธรรมชาติที่เกิดจากความสงบแห่งขันธ์นี้ เป็นความเบิกบานแห่งจิตที่สงบระงับ เป็นความว่างที่บริสุทธิ์สะอาด สรรพสิ่งประสานสัมพันธ์กันและกัน ขันธ์คือธรรมชาติ ธรรมชาติคือขันธ์ ธรรมชาติคือความสงบเย็น ความสงบเย็นก็เป็นธรรมชาติ ผู้ที่ปฏิบัติจนบรรลุถึงขีดขั้นของการดำรงอยู่ ย่อมดำรงอยู่ในความเงียบสงบนี้ทั้งนั้น ย่อมดำรงอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เพราะความเงียบนี้เป็นธรรมชาติที่ดำรงอยู่เบื้องลึกพื้นฐานของการดำรงอยู่ ไม่มีแม้แต่ความศัพท์สำเนียงภายในใจ ไหนเลยจะกลายเป็นวาจาออกมาได้
กินน้อย นอนน้อย
พูดน้อย ปฏิบัติมาก
นี่เป็นแนวทางของการปฏิบัติ
ที่จะได้ผลมากและรวดเร็ว
สิ่งที่พึงระวังคือ วาจา
เพราะวาจาเป็นแม่เหล็กดึงดูด
เกาะเกี่ยวอารมณ์ได้ดียิ่ง
ยิ่งพูดมากก็ยิ่งฟุ้งมาก
ฟุ้งมากก็เสียพลังงานมาก
เทคนิคในการปฏิบัติ
ความนิ่งเป็นแรงขับที่ดีที่สุด
“สุขใดยิ่งกว่าความสงบไม่มี” เป็นพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ พระโยคาวจรต่างปฏิบัติเพื่อให้ได้เข้าถึงความสงบที่อยู่ภายใน ความสงบนี้เป็นสภาวะที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกลงไปภายในความเป็นอยู่ของจิตนี้ เป็นความสงบที่เย็นยิ่ง ความเย็นนี้ไม่มีภาษาใดเข้าถึง แม้แต่ภาษาที่ใช้ในภาษาบาลี สันติและปัสสัทธิ ก็ไม่ได้ตรงกับสภาวะความเย็นนี้ได้เลย ความเย็นนี้มีอยู่ภายในขันธ์นี้นั่นแหละ แต่จะทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงความเย็นนี้ได้ ความเย็นนี้เกิดจากการไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ เกิดจากการเข้าถึงความว่างในขันธ์นี้ ความว่างจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์นั่นแหละเป็นความเย็นที่กล่าวนี้ เป็นความสงบอย่างแท้จริง
ความสงบเงียบนี้เป็นสิ่งสุดท้ายที่มีอยู่ในตน และเป็นพื้นฐานของชีวิตที่แท้ แต่ภายในความเงียบนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวของจิต เพราะในความเงียบนั้นไม่เหลืออะไรให้ยึดได้อีก จิตจึงไม่สามารถจะอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้คนทั้งหลายจึงพากันแสวงหาผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อเป็นที่ยึดเกาะ แม้ว่าแสวงหาบุคคลไม่ได้ เขาก็แสวงหาสิงห์สาลาสัตว์มาเป็นเพื่อน มาให้จิตได้เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยว ถ้าหาสิ่งใดไม่ได้อีก เขาก็ต้องแสวงหาหน้าที่ การงาน กวี บทเพลง ภาพวาด ศิลปะ จมอยู่กับสิ่งนั้นๆ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร หรือแม้ไม่สนใจในสิ่งเหล่านี้ เขาก็อยู่กับตนเอง พูดอยู่กับตนเอง สนทนากับตนเอง ความเงียบนี้ใกล้เคียงกับความบ้า เพราะเมื่อใดที่ยิ่งเงียบท่านก็ดูเหมือนใกล้บ้าเท่านั้น เพราะท่านจะได้ยินตัวท่านเองกำลังสนทนากับตัวของท่าน แล้วท่านก็จะเริ่มพูดกับตัวท่านเอง หรือไม่ท่านก็เริ่มได้ยินต้นไม้ใบหญ้า ได้ยินก้อนหิน แม่น้ำ ลำธาร พูดด้วยกับท่าน นี่แหละที่แสดงให้เห็นว่า แม้กระทั่งท่านอยู่เพียงผู้เดียว ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านกำลังเข้าถึงความเงียบสงบที่อยู่เบื้องลึกภายในชีวิตของท่านเลย ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีความหมายขึ้นมาเพื่อที่จะสื่อสารกับทุกสิ่งที่อยู่รอบข้างท่าน เพื่อไม่ให้ท่านรู้สึกโดดเดี่ยว รู้สึกถึงความเงียบที่อยู่ข้างใน มิฉะนั้นท่านกำลังจะบ้านั่นเอง
โศลกว่า “สิ่งที่พึงระวังคือ วาจา” ความเงียบสงบจากศัพท์สำเนียงที่ก้องกังวานอยู่ภายในจิตใจนี่แหละคือเส้นทางนำไปสู่ความสุขที่แท้จริง วาจาที่กล่าวออกไปนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่แสดงออกทางเสียงเท่านั้น แท้จริงมันพรั่งพรูออกมาจากความคิดที่อยู่ภายในอันมหาศาล มันถูกคุมขังอยู่ภายในจิตใจนี้ ทำให้จิตใจนี้เต็มไปด้วยถ้อยคำนับไม่ถ้วน สิ่งที่ต้องระวังก็คือวาจานี้ ไม่เพียงเฉพาะวาจาที่พูดออกไปทางปาก แต่เป็นวาจาที่ใจคิดพูด บางคนไม่พูดทางปาก แต่ถ้อยคำนั้นไหลออกมาอย่างไม่หยุดหย่อนทางใจ อย่างนี้ไหนเลยจะสงบได้ ไหนเลยจะมีความสุขที่แท้จริงได้
วาจาเป็นแม่เหล็กที่ดูดเอาทุกสิ่งเข้ามา เพราะวาจาเป็นสิ่งที่ใช้เชื่อมระหว่างสิ่งต่างๆ เข้ามาถึงกันและกัน เข้ามาเกี่ยวข้องกันและกัน จะรู้สึกได้ว่า ยิ่งพูดมากก็ยิ่งฟุ้งมาก ยิ่งฟุ้งมากก็ยิ่งเสียพลังงานมาก พลังงานที่สั่นสะเทือนทางวาจาได้เป็นกระแสแม่เหล็กดูดเอาทุกสิ่งเข้ามา และยังถูกพลังวาจาของผู้อื่นดูดไปด้วย กระแสแม่เหล็กนี้จะถูกนำมาปั่นภายในจิตใจอีก กลายเป็นกระแสไฟฟ้าหมุนปั่นอยู่ภายในจิตใจ เป็นไดนาโมที่มีพลัง ยิ่งปั่นก็ยิ่งไม่สงบ ยิ่งเกิดอารมณ์ ความรู้สึกดีใจ เสียใจไปกับวาจานั้น
โศลกว่า “เทคนิคในการปฏิบัติ ความนิ่งเป็นแรงขับที่ดีที่สุด” การฝึกสงบปาก สงบคำ เป็นหนึ่งในเงื่อนไขของการปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาก เพราะในขณะที่ไร้ศัพท์สำเนียงในจิต เมื่อนั้นก็ย่อมเข้าถึงความดำรงอยู่ เป็นเพียงความว่างแห่งขันธ์ เป็นเพียงความว่างที่เรียกว่า รูปเป็นอนัตตา เวทนาก็อนัตตา สัญญาก็อนัตตา สังขารก็อนัตตา วิญญาณก็เป็นอนัตตา การเข้าถึงความเป็นอนัตตาของขันธ์นี้ ความสงบนิ่งที่รักษาไว้นี้จะนำมาซึ่งพลังอันยิ่งใหญ่ เป็นเหมือนการนำความขุ่นออกจากน้ำ เมื่อนั้นน้ำก็ใสสะอาด น้ำที่ใสสะอาดเป็นน้ำบริสุทธิ์ มีประสิทธิภาพมาก มีประโยชน์มาก มีคุณค่ามาก
คนโดยมากมี ๒ ประเภทที่ใช้ความคิดและภาษาเข้ามาอธิบายความบริสุทธิ์ไร้ความขุ่นนี้
ประเภทหนึ่ง อธิบายว่าความบริสุทธิ์นี้ไม่มีความสำคัญอะไร ความขุ่นที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่เห็นว่าขุ่นตรงไหน ก็ไม่เห็นเป็นอะไรกับการอยู่ในความขุ่นที่ว่านั้น
ประเภทที่สอง อธิบายความบริสุทธิ์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะมีอะไรที่ดีหลังจากที่ทำให้น้ำบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรอีก จะเฝ้ารออะไรเกิดจากน้ำบริสุทธิ์นั้นเป็นเรื่องเหลวไหล น้ำก็คือน้ำเท่านั้นเอง
คนทั้ง ๒ ประเภทนี้ก็คือ คนทั้งหลายที่อยู่ภายในโลกนี้ ประเภทหนึ่งปฏิเสธการปฏิบัติที่ให้อยู่อย่างเงียบสงบ มองความเงียบสงบเป็นการสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ประเภทที่สอง ไม่เชื่อว่าจะมีอะไรพิเศษจากความความเงียบสงบ มองเห็นว่าเบื้องหลังความเงียบสงบจะมีอะไรเกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องเหลวไหล
ในการปฏิบัติ พลังแห่งความสงบนิ่งนั้นมีประโยชน์อย่างมากในการขับเคลื่อนให้เข้าถึงขีดขั้นของการดำรงอยู่เท่านั้น เป็นเพียงการดำรงอยู่ ไม่มีตัวตน ไม่มีความคิด ไม่มีอารมณ์ มีแต่การดำรงอยู่ที่บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง สงบเท่านั้น พลังแห่งความสงบนั้นเป็นตัวช่วยลดไดนาโมที่ปั่น ให้พลังแม่เหล็กที่ดูดพลังภายนอกเข้ามา แต่กลับเป็นการใช้แม่เหล็กนั้นให้เป็นประโยชน์เสียเอง แม่เหล็กนั้นมีความเย็นในตัวของมัน ก็ใช้ความเย็นของแม่เหล็กนั้นให้ดำดิ่งเข้าไปภายในที่ลึกลงไป ความเย็นของแม่เหล็กจะทำให้เห็นทะลุตัวตน ทะลุความคิด ทะลุอารมณ์ว่า เป็นแต่เพียงความว่างเท่านั้น เป็นแต่ความสงบระงับเท่านั้น นี่แหละความสุขที่ไม่มีสุขใดยิ่งกว่า
มีเหตุการณ์หนึ่ง หลังจากที่พระเจ้าอชาตศัตรูสำนึกผิดที่ได้กระทำบาปหนัก คือ การกระทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์พระราชบิดา จึงได้เที่ยวแสวงหานักปราชญ์เพื่อให้ได้ธรรมโอสถรักษาความเร่าร้อนแห่งบาปกรรมนั้น เสด็จไปหาครูที่โด่งดังสำนักต่างๆ แล้วก็ไม่สามารถบรรเทาความทุกข์นั้นได้ จนกระทั่งพระองค์ได้รับคำแนะนำจากหมอชีวกโกมารภัจจ์ให้เสด็จไปหาพระพุทธเจ้าที่สวนมะม่วงดู เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าไปในสวนมะม่วงที่ร่มรื่น พระองค์ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงประทับที่นี่พร้อมกับพระภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูป แต่เหตุไฉนจึงไม่ได้ยินเสียงสนทนา พูดคุย หรือปรึกษากันบ้าง จิตที่หวาดกลัวก็เกิดขึ้นเกรงว่าจะเป็นกลลวงพระองค์มาฆ่าของหมอชีวกและพวกหรือไม่ จึงได้ตรัสถามหมอชีวกถึงความเงียบสงบดังกล่าว หมอชีวกจึงได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายนั้นโปรดความเงียบสงบ
มิใช่เป็นการโปรดความเงียบสงบเหมือนกับคนที่ชอบอยู่ในที่เงียบๆ แต่เป็นความเงียบสงบโดยธรรมชาติที่เกิดจากความสงบแห่งขันธ์นี้ เป็นความเบิกบานแห่งจิตที่สงบระงับ เป็นความว่างที่บริสุทธิ์สะอาด สรรพสิ่งประสานสัมพันธ์กันและกัน ขันธ์คือธรรมชาติ ธรรมชาติคือขันธ์ ธรรมชาติคือความสงบเย็น ความสงบเย็นก็เป็นธรรมชาติ ผู้ที่ปฏิบัติจนบรรลุถึงขีดขั้นของการดำรงอยู่ ย่อมดำรงอยู่ในความเงียบสงบนี้ทั้งนั้น ย่อมดำรงอยู่เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เพราะความเงียบนี้เป็นธรรมชาติที่ดำรงอยู่เบื้องลึกพื้นฐานของการดำรงอยู่ ไม่มีแม้แต่ความศัพท์สำเนียงภายในใจ ไหนเลยจะกลายเป็นวาจาออกมาได้
ด้วยเหตุนี้ พลังแห่งความสงบนี้ได้กลายเป็นพลังที่สูงสุดแล้ว ส่วนผู้ใดที่เริ่มปฏิบัติก็ต้องอาศัยพลังแห่งความเงียบสงบนี้เป็นเทคนิคในการปฏิบัติ ดังนั้น เรือนว่างก็ดี ถ้ำก็ดี โคนไม้ก็ดี จึงเป็นสถานที่ปฏิบัติอันเหมาะแก่การหยั่งลงในความเงียบสงบทั้งกาย วาจา ใจได้อย่างรวดเร็ว
นี่คือ โศลกที่ยี่สิบแห่งคัมภีร์สุวิญญมาลา
นี่คือ โศลกที่ยี่สิบแห่งคัมภีร์สุวิญญมาลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น