วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มหายาน : ความเข้าใจที่พึงเข้าใจ



รู้ความเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางสังคม

ถ้ามองเชิงวิวัฒนาการกระบวนทัศน์ (Paradigm) ของมนุษย์อย่างกว้างๆ ก็จะไม่แปลกใจว่า ทำไมกระแสความคิดหลักบางประการนี้จึงเกิดขึ้น กระแสความคิดนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมและจะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นกลายเป็นแนวคิดหลักของสังคม จุดที่เหมาะสมอาจเรียกว่าจุดแห่งความกดดัน หรือว่าจุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงก็ได้ (Turning Point) เปรียบเหมือนแรงอัด ที่มีกำลังดันเต็มที่เพื่อหาช่องทางออกให้ได้ ช่องทางออกนี้อาจเกิดจากการค้นพบแนวคิดใหม่ หรือเกิดจากแรงบีบของสังคมที่ทำให้บุคคลบางกลุ่มไม่อาจทน ได้ต่อไป

ระยะเวลาของความเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่อาจบอกได้ บางทีอาจเป็นร้อยปีหรืออาจเป็นพันปี ถ้าหากเรามองสังคมเช่นนี้จะเห็นลักษณะความเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ทางความคิดของมนุษย์ ที่ผ่านมาและก็จะดำเนินต่อไป
มนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักการแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิตและสังคมมา โดยตลอด นับตั้งแต่มนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์ที่ต้องการรอดพ้นจากภัยธรรมชาติ ความกลัวของมนุษย์ทำให้ต้องหาคำตอบ พวกเขาพยายามให้คำตอบแก่สังคมว่า ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งลี้ลับ มนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์กระทำต่อสิ่งที่บอกไม่ได้นี้ ด้วยการแสดงความเอาอกเอาใจต่อปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยวิธีต่างๆ ด้วยหวัง ว่าจะพบกับทางหลุดพ้นจากภัยพิบัติ มาถึงยุคหนึ่งมนุษย์เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ เรื่อยมา และสรุปว่ามีผู้บงการปรากฏการณ์ต่างๆ นั้น ผู้ที่มีอำนาจยิ่งใหญ่เช่นนี้ ถูกเรียกว่า เทพเจ้า เหล่าเทพเจ้าจะรู้กฎของโลกและจะบันดาลให้ปรากฏการณ์ นั้นเกิดขึ้นหรือไม่ให้เกิดขึ้นก็ได้ จึงทำให้มนุษย์ยุคโบราณต่างพากันเอาใจเทพเจ้า ด้วยการบวงสรวงอ้อนวอนด้วยวิธีต่างๆ

มนุษย์ยังคิดต่อไปอีกว่า ชีวิตของมนุษย์นี้สั้นไม่อาจอยู่บนโลกนี้ได้ ยาวนาน และไม่อาจได้รับความสุขที่แท้จริงได้ในโลกนี้ การได้อยู่ร่วมกับเทพเจ้า จะพบความสุขที่จริงเป็นนิรันดร์ ชีวิตมีความเป็นอมตะ แต่การจะไปอยู่ร่วมกับ เทพเจ้าได้นั้นต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวิถีแห่งเทพ ดังนั้น ในยุคนี้จึงมี ผู้ออกบวชกันมาก เป็นยุคที่ศาสนารุ่งเรือง

ต่อมามนุษย์ต้องการสร้างความสุขอันยั่งยืนนั้นให้มีอยู่บนโลกใบนี้ ต้องการเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การหวังที่จะไปอยู่กับพระเจ้าหรือเทพเจ้านั้นเป็นความหวังที่เลื่อนลอย ไม่มี หลักประกันว่าจะไปอยู่ได้จริง เนื่องจากสัมผัสไม่ได้ ดังนั้นจึงเชื่อในวิทยาศาสตร์ จะสร้างความสุขให้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้ เป็นเหตุให้วิทยาศาสตร์รุ่งเรืองในยุคนี้
มาถึงยุคปัจจุบัน ความรุ่งเรืองของวิทยาศาสตร์กำลังก้าวหน้าไปเรื่อยๆ วิทยาศาสตร์จึงกลายเป็นความหวังของมนุษย์ที่จะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง เปลี่ยนแปลงให้ปรากฏต่อนักศาสนา เพื่อเป็นข้อลบล้างความเชื่อในศาสนา ในขณะที่วิทยาศาสตร์กำลังเฟื่องฟู ผลของวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำลายมนุษย์ ให้พินาศไปด้วยเช่นกัน จนมาถึงการแสวงหาทางออกดังคำที่ใช้กันมากว่า วิทยาศาสตร์เพื่อความพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ใช่พัฒนาไปเพื่อการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ มนุษยชาติด้วยกันเอง นี่คือการดิ้นรนเพื่อข้ามไปสู่กระบวนทัศน์ในยุคใหม่ ยังไม่ทราบว่าความเป็นไปได้จะมีมากน้อยเพียงใดและทันกาลหรือไม่ เนื่องจาก ความไวของวิทยาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันมีสูง เคลื่อนไปด้วยความเร็ว มากกว่าที่ผ่านมาในอดีตหลายเท่า

ความเปลี่ยนแปลงสู่ยุคพระเวท

มนุษย์แสวงหาความเปลี่ยนแปลงให้กับตนเองเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่เพียงแต่ทางกายรวมทั้งทางด้านจิตวิญญาณด้วย ในที่นี้จะนำความเปลี่ยน แปลงทางความคิดจากยุคหนึ่งสู่ยุคหนึ่งของนักคิดทางตะวันออกเป็นตัวอย่าง จะเห็นได้จากวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงทางความคิดจากยุคดึกดำบรรพ์ สู่ยุคพระเวท (ตะวันตกเรียกยุคโบราณ) เข้าสู่ยุคพระเวท ยุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่เริ่ม เข้าสู่ครรลองแห่งการเจริญทางความคิดของมนุษย์เลยทีเดียว ที่เรียกว่า “ยุคพระเวท’ ก็เกิดมาจากการกลั่นกรองทางความคิดออกมาเป็นรูปธรรม เป็น เบ้าหลอมทางความคิดในสังคม เป็นปรัชญาของมนุษย์ที่ต้องศึกษา และปฏิบัติ ตามในขณะนั้น ผู้ที่เข้าใจพระเวทถือว่าเข้าใจโลกและชีวิต

‘เวท’ หรือ ‘เพท’ แปลว่า ‘ความรู้’ หรือ ‘วิชา’ ถ้าจะแปลเป็นภาษาที่เข้าใจ กันง่ายก็คือ ศาสตร์ๆ (-Logy) หนึ่งที่ประกอบไปด้วยแง่มุมอันน่าศึกษาและมี ระบบทางความคิด ซึ่งความรู้หรือวิชานี้เกิดมาจากการสังเกตธรรมชาติของมนุษย์ สังเกตความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยความสงสัย ตามสัญชาตญาณของมนุษย์นั้นกลัวภัยอยู่แล้วจึงพยายามคิดหาสาเหตุแห่ง ปรากฏการณ์ธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเพื่อความอยู่รอด ปลอดภัยจากการคุกคามของธรรมชาติ ชนชาติที่สามารถเข้าใจและให้คำตอบ แก่สังคมในขณะนั้นได้ว่าอะไรคือที่มาของธรรมชาติ เราอาจเรียกว่าเป็นชนชาว อารยันก็ได้

ชนชาวอารยันหรืออาริยกะอาจสืบทอดเชื้อสายกันมานานนับหลายพันปีก่อนพุทธกาล คำว่า อารยัน หรือ อาริยกะไม่ใช่เรียกเผ่าใดเผ่าหนึ่ง ดังที่เรา เรียกชนกลุ่มน้อย แต่หมายถึงมนุษยชาติที่มีวิวัฒนาการอันเจริญรุ่งเรือง เป็นอย่างมาก อารยัน ก็คือ มนุษย์ที่มีความเจริญแล้ว มีนักปราชญ์บางท่านเชื่อว่า เป็นอารยธรรม (Civilization) ที่เจริญถึงขีดสุดแล้วและล่มสลายไป เอ็ดการ์ เคยซ์ กล่าวถึงดินแดนอันเจริญรุ่งเรืองนี้ว่าอยู่ที่มหาสมุทรแอ๊ตแลนติส มี วิวัฒนาการทางความคิดและวิทยาการสูง แต่เพราะความเกิดเหตุบางประการ จึงทำให้อาณาจักรนี้ล่มสลายไป ถึงกระนั้นอาจมีมนุษย์จากดินแดนนี้หลงเหลือ กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆ อาจเกิดจากการหนีได้ทัน หรือเพราะขณะนั้น ไม่ได้อยู่ที่แผ่นดินแม่ อาจกระจายอยู่บริเวณเอเชียไมเนอร์ (Asia Minor) ได้แก่ บริเวณ ประเทศอิรัก ประเทศอิหร่าน ประเทศอียิปต์ จนเริ่มก่อตั้งกันเป็น อารยธรรมแห่งชนชาติไอยคุปต์ แต่กระนั้นก็ตามชนชาวอารยันก็ยังคงถูกเรียก ในฐานะชนชาติที่มีความเจริญแล้ว กระทั่งเกิดความผันผวนทางธรรมชาติ ชนชาติ ไอยคุปต์ที่มีความเจริญก็กระจายออกไปจากดินแดนแถบนั้น แบ่งเป็นสองสาย สายหนึ่งมุ่งไปตามตะวันออก อีกสายหนึ่งมุ่งไปตามทิศตะวันตก ที่ไปสู่ตะวันตก ก็ตั้งรกรากอยู่ที่กรีกและโรมัน และที่มุ่งสู่ตะวันออกก็ข้ามภูเขาไซเบอร์พาส และข้ามเทือกเขาฮินดูกูฏเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณประเทศอาฟกานิสถาน ประเทศปากีสถานและส่วนหนึ่งของอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ

ด้วยสติปัญญาของชนชาติอาริยกะที่รวบรวมพระเวทขึ้น ในพระเวท แสดงให้ทราบว่าในธรรมชาติมีเทพเจ้าประจำอยู่ทุกส่วน เทพเจ้าเป็นผู้มีอำนาจ ในการดลบันดาลทุกอย่างให้เกิดขึ้นหรือให้หยุดก็ได้ การสื่อถึงเทพเจ้าเหล่านั้น ก็ด้วยการสวดมนต์อ้อนวอน ทำพิธีกรรมบวงสรวงอันเป็นเครื่องแสดงความ จงรักภักดีของมนุษย์ต่อเทพเจ้า เพื่อจะได้รับการปฏิบัติดีตอบแทน ปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติทุกอย่างจึงมีเทพเจ้าอยู่ประจำ เมื่อเป็นเช่นนี้ต่างก็พากันบวงสรวง บูชาอ้อนวอนให้เทพเจ้าประจำธรรมชาตินั้นช่วยเหลือหรือหยุดลงโทษ กระทั่ง ต่อมามีการบูชาเพื่อขอให้ทำร้ายฝ่ายตรงกันข้าม และมีสงครามระหว่างเทพเจ้า ของแต่ละฝ่ายอีกด้วย

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมนุษย์เชื่อและยึดถือพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของ พระเจ้า เทพเจ้าผู้เป็นอมตะ เป็นผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่งและสามารถให้คุณให้โทษ ต่อมนุษย์ มนุษย์กลัวต่อธรรมชาติที่มีอำนาจอันยิ่งใหญ่ จึงได้แบ่งเทพเจ้าออก ตามหน้าที่ ตามลักษณะที่มนุษย์สัมผัส เช่น เทพเจ้าประจำฟ้าร้อง เทพเจ้าประจำ ดวงดาวแต่ละดวง พระเจ้าประจำฤดูกาล หลังจากที่มนุษย์มีพัฒนาการทางความ คิดมากขึ้นก็กำหนดชื่อลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวทนั้น ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่มีบทบาทได้รับหน้าที่และได้รับการเซ่นสรวงบูชาจากผู้คน เมื่อรวมลงแล้วพระเจ้าเหล่านี้มีดังนี้

เทพเจ้าประจำดิน : เทพอัคนี เทพโสมะ เทพยมะ
เทพเจ้าประจำอากาศ : เทพวาตะ เทพอินทะ เทพรุทระ เทพอปามะ เทพนปาตะ เทพปรชันยะ
เทพเจ้าประเจ้าสวรรค์ : เทพวรุณ เทพอุสล เทพวิษณุ เทพสูรยะ เทพมตระ เทพอุษ เทพสวตระ เทพปูษัน เทพอัศวิน เทพราตรี

ลักษณะการนับถือเทพเจ้าหลายพระองค์อย่างนี้บ่งบอกให้เห็นถึง สภาพการดำรงชีวิตของคนในสมัยโบราณด้วย เนื่องจากคนในสมัยโบราณมิได้ อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ อย่างที่เป็นกันในปัจจุบันมีเฉพาะหมู่บ้านเท่านั้น ถ้าจะ เทียบก็เหมือนเทพเจ้าของชาวภูเขาแต่ละเผ่าที่มีมากมายตามเผ่านั้นๆ แต่พอ ต่อมามนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ โดยยึดเอาโคตรเป็นการแบ่งกลุ่ม เทพเจ้าก็เปลี่ยนไปตามกาลนิยม คือ มนุษย์มีพระราชา มีผู้นำที่ดูแลปกครองกัน เป็นหมู่ใหญ่ ก็เชื่อว่าเทพเจ้าทั้งหลายก็คงจะมีลักษณะดังกล่าวด้วย จึงคิดว่า เทพเจ้าคงจะมีเทพเจ้าที่ดูแลเทพเจ้าเล็กๆ เรียกว่าเป็นเทวาติเทพ แนวคิด เกี่ยวกับเทพเจ้าที่เป็นประมุขของเทพนี้กลายมาเป็นจากพหุเทวนิยมเป็น “เอกเทวนิยม” เพื่อสะดวกในการบูชาบวงสรวงเทพองค์เดียว ซึ่งเป็นเทพเจ้า ผู้สร้างโลก สร้างจักรวาล (God) ส่วนเทพเจ้าเล็กๆ น้อย (gods) ทั้งหลายก็ไม่ให้ ความสำคัญ ดูจากจุดนี้เทพเจ้าถูกกำหนดมาจากมนุษย์และมนุษย์นั่นแหละ ที่เข้าไปเคารพนับถือ เมื่อมาถึงในกาลปัจจุบันมีการศึกษาทั่วถึงกันของแต่ละ ศาสนาก็พบว่า แต่ละศาสนาก็มีพระเจ้าผู้สร้างโลกเป็นของตนไม่ว่าชนชาติ อารยัน จะไปอยู่ส่วนไหนแนวความคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าสูงสุด หรือ แดนเทพเจ้า ก็ยังมีอยู่ แต่อาจเรียกชื่อต่างกันออกไป

(อ่านต่อในหนังสือ ตถาทัศนะมหายานกำล้งจะวางแผง)

ไม่มีความคิดเห็น: