วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ความจริง : ความแตกต่างแบ่งขั้ว



ความจริง : ความแตกต่างแบ่งขั้ว





การดำรงชีวิตของมนุษย์ท่ามกลางความสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม นั้นเริ่มมีความยุ่งยากมากขึ้น ซับซ้อน มากขึ้น มนุษย์เริ่มมองสภาพแวดล้อมเหล่านี้ เป็น ความแตกต่าง (Differentiation) จึงกลายเป็นว่า มนุษย์อยู่ท่ามกลางความแตกต่าง เป็นความแตกต่าง ที่เป็นความจริงอันไม่อาจจะขจัดออกไปได้ ภายใต้ ความแตกต่างนี้การดำรงอยู่ของมนุษย์จึงมีแต่ความ ขัดแย้ง และเดือดร้อนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจาก มนุษย์แต่ละคนมองความแตกต่างนั้นต่างกัน ดังนั้น ไม่ว่าจะยินยอมสูญเสียอย่างไร พอพบว่าเป็นความ แตกต่างแล้วก็ยินยอมไม่ได้ เช่น ความแตกต่าง ทางอารมณ์ ความต้องการ ภาษา ภูมิอากาศ สถานที่ เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ความเชื่อ ล้วนแล้วแต่เป็นความ แตกต่าง ที่นำมาสู่ชนวนแห่งความขัดแย้งทั้งสิ้น นักปรัชญาเรียกสภาวะเหล่านี้ว่า ภาวะแห่งการแบ่งขั้ว (Dichotomy) ในยุคก่อนความแตกต่างนั้นยังไม่ชัดเจน จึงทำให้มนุษย์ยังคงยินยอมให้แก่กันและอยู่ร่วมกันได้ แต่พอ มาในยุคนี้สภาวะเช่นนี้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเมื่อโลกแห่ง จิตวิญญาณกับโลกแห่งวัตถุถูกแบ่งกันชัดเจน ถ้าจะ พูดให้ชัดก็เมื่อโลกแห่งวิทยาศาสตร์ (วัตถุ) กำลังเข้ามา รุกล้ำโลกแห่งจิตวิญญาณ โลกแห่งการบริโภคเข้ามา มีบทบาทมากกว่าโลกแห่งความสันโดษพอเพียง มนุษย์จึง มองสิ่งแวดล้อมเป็นความแตกต่างโดยมีภาษา แห่งเหตุผลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแบ่งแยก

ทางออกที่มืดมน



การคิดหาทางแก้ไขปัญหาการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในฐานะปัจเจกท่ามกลางความขัดแย้ง นี้จะทำได้ อย่างไร หนทางหนึ่งที่นักปรัชญาให้ความสนใจต่อการ ดำรงชีวิตภายใต้โลกแห่งความขัดแย้ง คือ ใช้ปรัชญาที่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรง ชีวิตบนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge Based life) สังคมบนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge Based Society) การเมืองบนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge Based Policy) เศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge Based Economy) เป็นต้น การมีชีวิตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้นี้จะทำให้ภาวะ แห่งความขัดแย้งเบาลง อย่างน้อยก็สามารถแก้ ปัญหาไปได้ระดับหนึ่ง
เมื่อพิจารณาอย่างแท้จริง ปรัชญาบนพื้น ฐานของความรู้ที่กำลังใช้กันอยู่ในขณะนี้ ยังเป็น ปรัชญาอันตรายสำหรับมนุษยชาติ แม้จะมีแนวคิด ทางปรัชญาที่ว่า “ศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของความรู้” (-Logy based on Knowledge) แต่หาก เป็นความรู้ที่ไม่ตั้งอยู่พื้นฐานแห่งปัญญาที่สมบูรณ์ (Knowledge without Insight) นั่นก็ยังมิใช่ทางออก ร่วมกันที่ปลอดภัย จะเห็นได้จากความรู้ที่กำลัง นำมาเป็นที่ตั้งนั้นอยู่บนพื้นฐานของความโลภ ความโกรธ และความหลง ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ความรู้อย่างนี้ก็แสดงผลออกมาเป็น กำไร /ขาดทุน มี/ไม่มี ได้/ไม่ได้ พวกเรา / พวกเขา ดี / ไม่ดี ทำลายล้าง /ดำรงอยู่ โกรธ/รัก เหมือนเดิม แน่นอนในระดับโลกีย์นี้ ไม่มุ่งหวังให้หลุดพ้นดั่งเช่นพระอริยะทั้งหลาย แต่สำหรับความรู้ที่นำมาเป็นพื้นฐานนั้นต้องเป็นความรู้ ระดับโลกียวิญญุฐานวิชชา คือ การดำรงอยู่บนโลก อย่างผู้รู้ (Enlightened Mundane)



ถามว่า ปรัชญาบนพื้นฐานของความรู้ (Knowledge Based Philosophy) ที่ใช้อยู่ นี้เป็น แนวทางที่ตั้งอยู่ บนโลกียวิญญุฐานวิชชาแล้วหรือไม่ ที่เห็นกันอยู่ยังเป็นความรู้แบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก ความรู้ ของผู้มีฐานะต่อรองกับผู้ไม่อยู่ในฐานะต่อรองได้ นั่น ก็เท่ากับว่าไม่สามารถอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง นั้นได้ อีกเช่นเดิม ที่ยังไม่เกิดปัญหาเพราะถูกบีบให้ยินยอม ถูกกำหนดให้ยินยอมอยู่ภายใต้ความขัดแย้งที่ไม่ สามารถโต้แย้งได้ เมื่อใดที่แรงบีบนั้นเบาบางลง สถานการณ์ก็คง กลับไปเป็นเช่นเดิม
(อ่านต่อวารสารบัณฑิตศาส์น มมร.เล่ม ๔)

ไม่มีความคิดเห็น: